วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555


กรณีที่ไม่จำเป็นต้องนำพยานหลักฐานมาพสูจน์






ตาม ป.วิ.พ มาตรา 84(1)(2)(3)


การวินิจฉัยปญหาข้อเท็จจริงัในคดีใดจะต้องกระทำโดยอาศัยพยานหลักฐานในสำนวนคดีนั้น เว้นแต่
          (1)ข้อเท็จจริงซึ่งรู้กันอยู่ทั่วไป
          (๒ ) ข้อเท็จจริงซึ่งไม่อาจโต้แย้งได้ หรือ
          (3)  ข้อเท็จจริงที่คู่ความรับหรือถือว่ารับกันแล้วในศาล

ข้อเท็จจริงซึ่งรู้กันอยู่ทัวไป (ป.วิ.พ. มาตรา 84(1)
ความหมายของข้อเท็จจริงซึงรู้กันอยู่ทัวไปไม่มีเขียนไว้ในกฎหมายแต่มีความเห็นในทางวิชาการสรุปตรงกันได้ว่า คือ ข้อเท็จจริงทีมีลักษณะ่ ดังต่อไปนี้
          1. ข้อเท็จจริงทีคนในสังคมทัวไปรู้กันอย่างถูกต้อง
          2. ข้อเท็จจริงทีแม้ว่าคนทัวไปไม่รู้แต่สามารถตรวจสอบข้อมูลต่างๆ แล้วจะได้ข้อมูลทีถูกต้อง
เช่น- การคำนวณวันเวลาทางปฏิทิน หรือ - วันเวลาทางจันทรคติ หรือ - การคำนวณตามมาตราส่วนวัดในระบบต่างๆ



            ข้อสังเกตุ
            ศาลไทยตีความหมายของข้อเท็จจริงซึ่งรู้กันอยู่ทั่วไปในลักษณะจำกัด ดังตัวอย่างฎีกาที่จะศึกษาต่อไปนี้ ซึ่งมีผลทำให้ คู่ความไม่แน่ใจข้อเท็จจริงใดที่ศาลจะถือว่าเป็นข้อเท็จจริงซึ่งรู้กันอยู่ทั่วไป 


􀂾 คู่ความจึงต้องนำสืบพยานหลักฐานไว้ก่อนเป็นการกันเหนียว
            ก. ตัวอย่างข้อเท็จจริงซึ่งรู้กันอยู่ทั่วไปศาลเป็นผู้รู้และเข้าใจภาษาไทยดีอยู่แล้ว คู่ความไม่มีหน้าที่นำสืบอธิบายความหมายหรือแปลความหมายของภาษาไทย
แต่มีข้อยกเว้นอยู่ในกรณีที่เป็นภาษาท้องถิ่นหรือภาษาตลาดที่เข้าใจความหมายกันเฉพาะกลุ่ม เฉพาะพวก

           (2) เหตุการณ์ทางภูมิศาสตร์ หรือ วิทยาศาสตร์ซึ่งทราบกันทั่วไป
           (3) เหตุการณ์บ้านเมืองเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ในบ้านเมืองและสังคมซึงรู้กันอยู่่ทัวไป เช่น

ระบอบการปกครองประเทศ ฎ.3230/2532 ข้อเท็จจริงทีว่า่ วันใดเป็นวันหยุดราชการหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงซึงรู้กันอยู่ทัวไป่่ และศาลรู้ได้เองโดยคู่ความไม่ต้องนำสืบ (ฎ.8874/2543 วินิจฉัยทำนองเดียวกัน)
(หมายเหตุ คณะรัฐมนตรีเป็นผู้กำหนดวันหยุดราชการของไทย) แต่ศาลไม่ยอมรับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานะของบุคคล   (ดู ฎีกาในตัวอย่างข้อ ข.)


           (4) จารีตประเพณีท้องถิ่นหมายถึง จารีตประเพณีทีปฏิบัติในท้องถิ่นนั้นๆ่่ จนเป็นทีรู้กันอยู่ทัวไปเช่น เมือพูดถึงขลุ่ย ย่อมหมายถึงเครืองดนตรี่พื้นบ้านชนิดหนึง หรือลิเก หมายถึง การแสดงละเล่น เป็นต้น เช่น วัน เดือน ปี ข้างขึ้น ข้างแรม ฤดูกาล ถนนหนทาง สถานทีตั้งทางภูมิศาสตร์ของทีสำคัญๆ


ฎ.755/2491 ตามปกติดวงจันทร์จะเริมขึ้นจากพิภพ่ในวันเวลาใด เป็นหน้าทีของศาลจะต้องรู้เพราะเป็นสิงที่่่เป็นไปตามวิสัยธรรมของโลกทีรู้กันอยู่ทัวไป


ฎ.6918/2540 วินิจฉัยทำนองเดียวกัน


ฎ.436/2509 เรือยนต์หางยาวของกลางคดีนี้เป็นเรือที่รู้จักกันอยู่ทั่วไปว่าเป็นเรือเล็กๆ ไม่ใหญ่โตชนิดหนึงใช้วิง่่รับส่งในแม่นํ้าลำคลอง โดยข้อเท็จจริงไม่มีทางจะฟังว่าเป็นเรือมีระวางบรรทุกเกิน 250 ตันได้เลย ฉะนั้น แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องว่า มีระวางบรรทุกเท่าใด ศาลย่อมรับฟังข้อเท็จจริงได้ว่าเรือยนต์หางยาวพร้อมด้วยเครืองของกลาง่คดีนี้ มีระวางบรรทุกไม่เกิน 250 ตัน


            ป.วิ.พ. มาตรา 84(1) นำไปใช้ในคดีอาญาด้วย  (โดย ป.วิ.อ. มาตรา 15)

ฎ.4636/2543 การกระทำผิดใดจะเป็นภัยร้ายแรงต่อสังคมส่วนรวมหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงทีรู้กัน ่
อยู่ทั่วไปโดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84(1) ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 และสภาพความผิดดังกล่าวศาลอาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยประกอบการพิจารณาลงโทษจำเลยได

            ข. ตัวอย่างที่ไม่ใช่ข้อเท็จจริงซึ่งรู้กันอยู่ทั่วไป ฎ.254/2488 สถานีรถไฟจะมีทีใดบ้างและจะจอดหรือไม่ ศาลรับรู้เองไม่ได้(2) ระเบียบ ประกาศ คำสังของทางราชการ่􀀲 ไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ศาลรู้เอง
บทบัญญัติว่าด้วยข้อเท็จจริงซึงรู้กันอยู่ทัวไปนี้่่ ศาลฎีกาวางหลักในลักษณะทีจำกัดมาโดยเฉพาะกรณีที่มีประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งของทางราชการ ซึ่งแม้จะออกโดยผลของกฎหมายและได้มีการประกาศในราชกิจจาฯ แล้วก็ตาม ศาลฎีกาถือว่าประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งนั้นไม่ใช่ข้อกฎหมายและศาลก็ไม่ยอมรับว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวที่ได้ประกาศในราชกิจจาฯ แล้วเป็นข้อเท็จจริงอันรู้แก่บุคคลทั่วไป
แต่ถ้ามีฐานะเป็นกฎหมาย เช่น􀀾พระราชกฤษฎีกา 􀀾กฎกระทรวง หรือ􀀾กฎหมายขององค์กรส่วนท้องถิ่น
เช่น เทศบัญญัติศาลต้องรู้เอง เพราะเป็นข้อกฎหมาย เช่น


ฎ.1434/2545 โจทก์เป็นนิติบุคคล ตาม พ.ร.บ. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ในเอกสารตามทีกฎหมายบังคับให้ปิด่ ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร และเป็นสิงทีศาลรู้เองโจทก์ไม่ต้องนำสืบ


ฎ.214/2498 ตามความใน พ.ร.บ.จัดวางระเบียบราชการกรมตำรวจในกระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2491 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้กำหนด ตั้งหน่วยงานและเขตอำนาจการรับผิดชอบหรือเขตพื้นทีปกครองของหน่วยราชการโดยประกาศ่ในราชกิจจาฯ ข้อกำหนดหรือข้อบังคับนั้นๆ เป็นข้อเท็จจริงไม่ใช่ข้อกฎหมาย


ฎ.295/2516 กฎมหาเถรสมาคม ออกตามความ พ.ร.บ. คณะสงฆ์ ไม่ใช่ข้อกฎหมายแต่เป็นข้อเท็จจริงทีคู่ความจะต้องนำสืบ


ฎ.1072/2518 การจ่ายเงินบำเหน็จตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด ตาม พ.ร.บ.การประมง โจทก์จะต้องนำสืบระเบียบดังกล่าว


ฎ.650/2532 ประกาศกระทรวงการคลังเรืองอัตราดอกเบี้ยทีสถาบันการเงินคิดได้่่ ไม่ใช่ ข้อกฎหมายแต่เป็นข้อเท็จจริงทีต้องนำสืบ (ฎ.567/2536 และ ฎ 7302/2538 วินิจฉัยทำนองเดียวกัน)


ฎ.2043/2540 ประกาศของกระทรวงการคลังเรื่องอัตราดอกเบี้ยสูงสุดเป็นข้อเท็จจริง ทีโจทก์จะต้องนำสืบ การทีโจทก์ไม่ระบุอ้างประกาศดังกล่าวในบัญชี่ระบุพยานจึงเป็นการไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคแรก
แต่ ฎ.4072/2545 จำเลยยอมรับข้อเท็จจริงว่า โจทก์เป็นสถาบันการเงิน ดังนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจเงินทุน ฯ ข้อกฎหมายดังกล่าวศาลรู้ได้เองโดยโจทก์ไม่ต้องสืบพยานประกอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84
ข้อสังเกตนักกฎหมายส่วนใหญ่ยังเห็นว่า ฎ.4072/2545 ไม่ได้กลับหลักเดิม เพราะข้อเท็จจริงตาม ฎ.4072/2545 น่าจะเป็นเรื่องที่คู่ความอีกฝ่าย ได้ยอมรับการมีอยู่ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับดังกล่าวแล้ว ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการมีอยู่ของประกาศจึงยุติ


            (3) ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานะของบุคคล
สถานะการดำรงตำแหนงของบุคคล่ เช่น
- การเป็นรัฐมนตรี หรือ
- การเป็นเจ้าพนักงานในตำแหนงตางๆ่่แม้ว่าจะประกาศในราชกิจจาิ่นุเบกษา
แต่ก็ไม่่ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงซึ่งรู้กันอยู่ทั่วไป



ฎ.917/2498 ข้อเท็จจรงที่วาใครดำรงตำแหนงิ่่อธบดีกรมอัยการในขณะเกิดเหตุิิ ไมใชข้อเท็จจริงซึ่่งรู้กันอยู่ทั่วไป


ฎ.4822/2533 จำเลยทั้งสองได้ปฏิเสธไว้โดยชัดแจ้งในคำให้การแล้วว่า ว.ไม่ใช่อธิบดีโจทก์ในขณะ่ิ่ฟ้องคดี และไม่ใช่ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ิ่ ข้อเท็จจริงดังกลาวจึงเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องนำสืบ ไม่ใช่ข้อเท็จจริง ที่รู้กันอยู่โดยทั่วไป


ฎ.2548/2534 ข้อเท็จจริงที่ว่าิ่ อ. ยังคงดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ขณะที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์ิกล่าวอ้างและไม่ใช่ข้อเท็จจริงซึ่งรู้กันอยูทั่วไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84(1) เมื่อโจทก์ไม่นำสืบ โจทก์จึงไมมีอำนาจฟ้อง


ฎ.3597/2541 คำสั่งกรมตำรวจเรืองมอบอำนาจให้่หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการอื่นๆ่ ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมตำรวจ ไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ศาลรู้เองได ้
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84 เมือโจทก์มิได้นำสืบว่าตำแหน่งรองผู้บังคับการหัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดเป็นตำแหน่งเดียวกันกับตำแหน่งหัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดตามคำสังของกรมตำรวจ จึงฟังไม่ได้ว่าพันตำรวจเอก ว. ดำรงตำแหน่งหัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดหรือตำแหน่งเทียบเท่าตามคำสัง โจทก์จึงไม่อาจอ้างคำสังมาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ได้่



           18.2 ข้อเท็จจริงซึ่งไม่อาจโต้แย้งได้ (ป.วิ.พ. มาตรา 84(2) ข้อเท็จจริงซึ่งไมอาจโต้แย้งได้นั้น ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติิ คู่ความจะนำสืบโต้แย้งเป็นอย่างอื่นไมได้่่่
                 18.2.1 มีบทสันนิษฐานข้อเท็จจริงนั้นเด็ดขาด ข้อเท็จจริงซึ่งไม่อาจโต้แย้งได้เมื่อมีกฎหมายบัญญัติิสันนิษฐานข้อเท็จจริงใดไว้เป็นเด็ดขาดแล้ว คู่ความรวมถึงศาลด้วยก็ไม่่อาจโต้แย้งเป็นอยางอื่นได้่ จำจะต้องถือข้อเท็จจริงยุติตามที่กฎหมายสันนิษฐานไว้เป็นการเด็ดขาดนั้นคู่ความจะนำพยานมาสืบให้ผิดเพี้ยนไปจากที่ิ่กฎหมายสันนิษฐานเด็ดขาดไว้ไม่ได้  ศาลจะวินิจฉัยเป็นอยางอื่นก็ไมได้  ศาลต้องไม่ให้สืบพยานหลักฐาน ถ้าสืบกันมาก็ต้องห้ามไมให้ใช้พยานหลักฐานนั้น ต้องวินิจฉัยไปตามที่กฎหมายบัญญัตไว้เป็นเด็ดขาด ตัวอย่างเช่น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 4 วรรคสอง
                “การกระทำความผิดในเรือไทยหรืออากาศยานไทย ไม่ว่าจะ อยู่ ณ ที่ใด ใหถื้อว่ากระทำความผิดในราชอาณาจักร” หรือ 

                 มาตรา 60  “ผู้ใดเจตนาที่จะกระทำต่อบุคคลหนึ่ง แต่ผลของการกระทำเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่งโดยพลาดไป ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำโดยเจตนาแก่บุคคลซึ่งได้รับผลร้ายจากการกระทำนั้น”
(และดู พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 15,16 ซึ่งมีบทสันนิษฐานเด็ดขาดเรื่องการมีไว้ครอบครองซึ่งยาเสพติดเพื่อจำหน่าย)

ป.พ.พ. มาตรา 1546 “ เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้สมรสกับชายให้ถือวา่เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น"
          18.2.2 การห้ามสืบพยานหลักฐานเนื่องจากมีกฎหมายปิดปากบางทฤษฎีถือว่าข้อเท็จจริงซึ่งไม่อาจโต้แย้งได้เป็นคนละเรื่องกับการห้ามสืบพยานหลักฐานเนื่องจากมีกฎหมายปิดปากทฤษฎีดังกล่าวถือว่า่่“กรณีที่คู่ความหมดสิทธที่จะนำเสนอพยานหลักฐานน่าจะไมใช่เป็นเรื่องของการหมดสิทธนำ่่ิิ่สืบพยานหลักฐาน แต่น่าจะถือว่าเป็นกรณีที่คดีไม่มี่่่่ประเด็นที่คู่ความจะต้องนำสืบอันเป็นเรื่องของการกำหนดประเด็นหน้าที่นำสืบและภาระการพสูจน์มากกว่านอกจากนั้นยังไปเกี่ยวกับผลของคำพิพากษาว่าิ่ผูกพันคู่ความและบุคคลภายนอกเพียงใด? หรือกรณีที่ได้มีคำพิพากษาในคดีก่อนแล้ว ข้อเท็จจริงดังกล่าวซึ่งศาลพิจารณายุติแล้วจะมีผลเพียงใด? และรวมถึงกรณีที่ผลของคำพิพากษาในศาลหนึ่งจะผูกพันให้ศาลอื่นต้องถือตามเพียงใด?เช่น คำพิพากษาในคดีอาญาจะผลผูกพันในคดีิแพ่งเพียงใด เป็นต้น กรณีที่กฎหมายปิดปากจึงเป็นเรื่องที่มิให้คู่ความยกขึ้นเป็นประเด็นโต้เถียงขึ้นมาอีก ส่วนใหญ่แล้วจะศึกษากันโดยละเอียดในกฎหมายวิธีิ่พิจารณาความมากกว่าในกฎหมายลักษณะพยานส่วนอีกทฤษฎีหนึ่ง ถือว่า่กฎหมายปิดปากเป็นสวนหนึ่งของ “ข้อเท็จจริงซึ่งไมอาจโต้แย้งได้”
ตัวอย่างกฎหมายปิดปาก“คดีใดที่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้ว ห้ามมิให้คู่ความรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เว้นแต่…”


         (1) กรณีฟ้องซํ้าในคดีแพ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
         (2) ผลของคำพิพากษาในคดีแพ่งผูกพันบุคคลภายนอก ปกติแล้วคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีแพ่งไม่มีิิ่่ผลผูกพันบุคคลภายนอก แตบางกรณีอาจมีข้อยกเว้น่ เช่น
         - คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิแห่งทรัพย์สินใดๆ
         - คำพิพากษาเกี่ยวกับฐานะหรือความสามารถของบุคคล หรือ (ป.วิ.พ. มาตรา 145)

        (3) คำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง หรือฟ้องซํ้าในคดีอาญา (ป.วิ.อ.มาตรา 39(4)
มาตรา 39(4)“สิทธินำคดีอาญามาฟ้องยอมระงับเมื่อคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง”
        (4) ข้อเท็จจริงคดีอาญาผูกพันคดีแพงิ่ ป.วิ.อ.มาตรา มาตรา 46“ในการพจารณาคดีิสวนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำ่ิ่พิพากษาคดีส่วนอาญาิ่”


ฎ.2853/2550 การทีจำเลยที่่ 1 ยอมให้พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับและชำระค่าปรับแล้ว มีผลเพียงทำให้คดีอาญาดังกล่าวเลิกกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 37 เท่านั้น การเปรียบเทียบปรับของพนักงานสอบสวนดังกล่าวไม่ใช่คำพิพากษาคดีส่วนอาญา กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 46 ที่คดีในส่วนแพ่งจะต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค่ 8 ถือเอาข้อเท็จจริงในคดีอาญาที่จำเลยที่ 1 ยอมรับต่อพนักงานสอบสวนว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์โดยประมาทมาชี้ขาดตัดสินนี้เป็นการไม่ชอบ
ข้อสังเกตกรณีที่กฎหมายปิดปากทั้ง 4 เรื่องดังกลาวมีการศึกษาโดยละเอียดตามหลักสูตรกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และกฎหมายวิธีพิจารณาิิความอาญาแล้ว จึงไม่ขออธิบายซํ้าอีก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น