วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ผู้พิพากษา


นิยามอาชีพ
          พิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวงในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ในศาล       ยุติธรรม เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น มีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ใช้ดุลยพินิจชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานและทำคำสั่งหรือคำพิพากษาในคดีแพ่งและคดีอาญาปฏิบัติหน้าที่ในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา
ลักษณะของงานที่ทำ
          ตรวจคำคู่ความซึ่งยื่นต่อศาลเพื่อสั่งรับหรือไม่รับหรือให้ทำใหม่หรือให้แก้ไขเพิ่มเติมควบคุมการดำเนินกระบวนพิจารณาคดี ออกข้อกำหนดเพื่อรักษาความ      เรียบร้อยในบริเวณศาลและเพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปโดยเที่ยงธรรม  และ    รวดเร็ว  ออกหมายเรียก ออกหมายอาญา ออกหมายสั่งให้ส่งคนมาจาก หรือไปยังจังหวัดอื่นหรือออกคำสั่งใด ๆ  ไต่สวน  และวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องหรือคำขอไต่สวนมูลฟ้องในคดีอาญาไต่สวนการชันสูตรพลิกศพ  ในกรณีที่มีความตายเกิดขึ้นโดยการกระทำของ     เจ้าพนักงานนั่งพิจารณาคดีและควบคุมการนำสืบพยานหลักฐานของคู่ความ ตรวจบุคคล วัตถุสถานที่หรือตั้งผู้เชี่ยวชาญใช้ดุลยพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวงพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญาโดยยุติธรรมตามกฎหมาย บังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษา ทำรายงานการคดีและกิจการของศาลส่งตามระเบียบ ระมัดระวังการใช้ระเบียบวิธีการต่างๆ ที่กำหนดขึ้นโดยกฎหมายหรือโดยประการอื่น  ให้เป็นไปโดยถูกต้องเพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีเสร็จเด็ดขาดไปโดยเร็วอาจมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีต่างประเภทกันตามประเภทของศาล
สภาพการจ้างงาน           การบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการให้ผู้สอบคัดเลือกที่ได้คะแนนสูงได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาก่อนผู้ได้รับคะแนนต่ำลงมาตามลำดับแห่งบัญชีสอบคัดเลือก
          ผู้ประกอบอาชีพผู้พิพากษาจะมีบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง ข้าราชการตุลาการแตกต่างตามประเภทศาลและตำแหน่งผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาจะมีอัตราเงินเดือน 14,850 - 16,020 บาท
          ผู้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาประจำศาลถึงอธิบดีผู้พิพากษา (ศาลชั้นต้น) จะมีอัตราเงินเดือน 21,800 – 57,190 บาท และมีเงินประจำตำแหน่งแตกต่างกันไปผู้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาคถึงประธานศาลอุทธรณ์  ผู้พิพากษา     ศาลฎีกาถึงรองประธานศาลฎีกาจะมีอัตราเงินเดือน 57,190 - 62,000 บาท และมีเงินประจำตำแหน่งแตกต่างกันไป
          ผู้ดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกาจะมีอัตราเงินเดือน  64,000  บาท และมีเงินประจำตำแหน่ง 50,000 บาท ทำงาน  40  ชั่วโมงต่อสัปดาห์  อาจจะต้องเข้าเวรใน วันเสาร์ วันอาทิตย์และวันหยุด เพื่อทำหน้าที่ลงนามคำสั่งในหมายศาล  ในกรณีที่ต้องดำเนินทันทีไม่สามารถรอจนถึงวันทำการได้
สภาพการทำงาน
          ผู้พิพากษามีห้องทำงานที่มีสภาพเหมือนห้องทำงานทั่วไปและเมื่อต้องทำหน้าที่ตัดสินคดีความ จะต้องนั่งบังลังก์ปฏิบัติหน้าที่พิพากษาเป็นประธานในห้อง  ตัดสินคดีความอาชีพผู้พิพากษา  อาจจะต้องปฏิบัติงานประจำศาลในต่างจังหวัด   โดยเฉลี่ยจะปฏิบัติหน้าที่ประมาณ 3 - 4 ปีในแต่ละจังหวัด ซึ่งมีบ้านพักผู้พิพากษาประจำในทุกจังหวัดหรืออาจจะปฏิบัติหน้าที่ประจำศาลในกรุงเทพฯ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการประกาศของคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
ผู้พิพากษา ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
- สัญชาติไทยโดยกำเนิด 
- ไม่เป็นผู้ถูกลงโทษไล่ออก  ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
-  อายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบรูณ์
- เป็นนิติศาสตร์บัณฑิต หรือสอบไล่ได้ปริญญาหรือ
- ประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศซึ่ง ก.ต. เทียบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับเนติบัณฑิตยสภาจากสำนักเนติบัณฑิตยสภา
ผู้ที่จะประกอบอาชีพนี้ ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้คือ  :  การดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 นั้น บุคคลผู้ประสงค์จะเข้ารับราชการเป็นผู้พิพากษามีได้  3 ทางคือ
1. สมัครสอบคัดเลือก  ต้องอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์
2. สมัครทดสอบความรู้  ต้องอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์
3. สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษต้องอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปีบริบูรณ์
          ผู้ที่จะเข้าเป็นผู้พิพากษาโดย 3 ทางดังกล่าวข้างต้น  ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม มาตรา 26  กำหนดว่าต้องมีคุณสมบัติ   และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย  เช่น ต้องมีสัญชาติไทยโดยการเกิด  ไม่เป็น ผู้ถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ รัฐวิสาหกิจ  หรือหน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐ  เป็นต้น  และสำหรับผู้สอบคัดเลือกตามข้อ1 ต้องมีคุณวุฒิและได้ประกอบ   วิชาชีพทางกฎหมาย ดังต่อไปนี้
1. เป็นนิติศาสตร์บัณฑิตหรือสอบไล่ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศ ซึ่ง ก.ต. เทียบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี
2. สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่ง   เนติบัณฑิตยสภา
3. ได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นจ่าศาล รองจ่าศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
          เจ้าพนักงานบังคับคดี  หรือพนักงานคุมความประพฤติของศาลยุติธรรม  พนักงานอัยการ นายทหารเหล่าพระธรรมนูญ ทนายความ  หรือประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย ตามที่ ก.ต. กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปีทั้งนี้ให้   ก.ต. มีอำนาจออกระเบียบกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพนั้น ๆ ด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัครสอบคัดเลือก ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.ต. กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาล    ยุติธรรม มาตรา 27)
ผู้สมัครทดสอบความรู้ตามข้อ  2  ต้องมีคุณวุฒิและได้ประกอบวิชาชีพ         ดังต่อไปนี้
1. สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่ง เนติบัณฑิตยสภา
2. มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
          ก. สอบไล่ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศ   โดยมีหลักสูตรเดียวไม่น้อยกว่าสามปี  ซึ่ง ก.ต.เทียบได้ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือสอบได้ปริญญาเอกทางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ซึ่ง ก.ต. รับรอง
          ข. สอบไล่ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศ   โดยมีหลักสูตรเดียวไม่น้อยกว่าสองปีหรือหลายหลักสูตรรวมกันไม่น้อยกว่าสองปี  ซึ่ง ก.ต. เทียบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีและได้ประกอบวิชาชีพตามที่ระบุไว้ตามมาตรา 27 (3) (ประกอบวิชาชีพเป็นจ่าศาล พนักงานอัยการ ฯลฯ เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี)
          ค. สอบไล่ได้ปริญญาโททางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทย   ซึ่ง  ก.ต. รับรองและได้ประกอบวิชาชีพตามที่ระบุไว้ในมาตรา 27 (3) เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
          ง. เป็นนิติศาสตร์บัณฑิตชั้นเกียรตินิยมและได้ประกอบวิชาชีพเป็นอาจารย์ในคณะนิติศาสตรในมหาวิทยาลัยของรัฐเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี
          จ.  เป็นนิติศาสตร์บัณฑิตและเป็นข้าราชการศาลยุติธรรมที่ได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายในตำแหน่งตามที่ ก.ต. กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกปีและเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมรับรองว่ามีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความรู้ความสามารถดี และมีความประพฤติดีเป็นที่ไว้วางใจว่าจะปฏิบัติหน้าที่ข้าราชการตุลาการได้
          ฉ. สอบไล่ได้ปริญญาโทหรือปริญญาเอกในสาขาวิชาที่ ก.ต. กำหนดและเป็นนิติศาสตร์บัณฑิตและได้ประกอบวิชาชีพตามที่ระบุไว้ในมาตรา   27 (3)  หรือได้ประกอบวิชาชีพตามที่ ก.ต. กำหนดเป็นเวลาไม่น้อย  กว่าสามปี
          ญ.  สอบไล่ได้ปริญญาตรีหรือที่ ก.ต. เทียบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีในสาขาวิชาที่ ก.ต.กำหนดและได้ประกอบวิชาชีพตามที่  ก.ต. กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบปีจนมีความรู้ความเชี่ยวชาญในวิชาชีพนั้นและเป็นนิติศาสตร์บัณฑิตให้ ก.ต. มีอำนาจออกระเบียบกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพตาม (2) (จ) (ฉ) และ (ช) ด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัครทดสอบความรู้ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.ต.กำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (พระราชบัญญัติระเบียบ  ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม มาตรา 28) ส่วนผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ ตามข้อ 3 ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
          1. มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้  
                    ก. เป็น หรือเคยเป็นศาสตราจารย์หรือ รองศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ
                    ข. เป็นหรือเคยเป็นอาจารย์ในคณะนิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ  เป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี
                    ค. เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญหรือข้าราชการประเภทอื่นในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการกอง  หรือเทียบเท่าขึ้นไป
                    ง. เป็นหรือเคยเป็นทนายความมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบปี
          2. สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่ง เนติบัณฑิตยสภา
          3. เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ดีเด่นในสาขาวิชากฎหมายตามที่ ก.ต.กำหนด
          4. เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต มีบุคลิกภาพ มีความประพฤติและทัศนคติเหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่ข้าราชการตุลาการ
 หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกพิเศษให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.ต. กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา  (พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม มาตรา 29)
โอกาสในการมีงานทำ
          ตำแหน่งผู้พิพากษาถือว่าเป็นตำแหน่งที่มีเกียรติ เป็นงานที่เกี่ยวกับสิทธิ เสรีภาพ ทรัพย์สิน และชีวิตของประชาชนพลเมือง  และทำงานใน   พระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ มีบัลลังก์นั่งสูงกว่าข้าราชการธรรมดา    แม้ปัจจุบันนี้ความคิดดังกล่าวจะลดน้อยลงเนื่องจากจำนวนผู้พิพากษามากขึ้น  อีกทั้งฐานะในทางสังคมและเกียรติภูมิของข้าราชการฝ่ายอื่น  ตลอดจนพ่อค้านักธุรกิจสูงขึ้น            แต่ตำแหน่งผู้พิพากษาก็ยังคงมีความสำคัญอยู่   เพราะฉะนั้นผู้พิพากษาจึงต้องดำรงตนให้น่าเชื่อถือ  ดังนั้นกิจการบางอย่างซึ่งขัดกับงานในตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือทำให้เป็นที่ระแวงสงสัยในความเป็นกลางหรือความเป็นธรรม  เช่น รับปรึกษาคดีให้บุคคลทั่วไปหรือรับทำงานนอกเวลาหารายได้พิเศษเลี้ยงครอบครัว  แม้จะเป็นงานสุจริตกฎหมายก็ห้ามไว้มิให้กระทำ  เพราะการกระทำเช่นนั้นอาจกระทบกระเทือนถึงการปฏิบัติหน้าที่ผู้พิพากษา
โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
          ผู้ประกอบอาชีพนี้ทำงานตามที่ได้รับมอบหมายเมื่อมีความชำนาญและ   ประสบการณ์จะสามารถได้รับการเลื่อนขั้น  ตำแหน่งตามสายงานไปได้จนถึงตำแหน่งบริหารของข้าราชการตุลาการประธานศาลฎีกา การประกอบการอื่นเพื่อหารายได้พิเศษแม้จะเป็นงานสุจริตกฎหมายก็ห้ามไว้มิให้กระทำเนื่องจากผู้พิพากษาต้องดำรงตนให้น่าเชื่อถือ ไม่ควรทำให้เป็นที่ระแวงสงสัยในความเป็นกลางหรือความเป็นธรรมและสำหรับอาชีพนี้อัตราเงินเดือนจัดได้ว่าสูงกว่าข้าราชการสังกัดอื่นๆ ทั่วไป  ซึ่งเป็นอัตราเงินเดือนที่ปรับใหม่ให้เหมาะสมกับภาวะสังคม
อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
ทนายความ ที่ปรึกษาทางกฏหมาย  นิติกร
อาจารย์มหาวิทยาลัย

รับน้องสัมภาษณ์ นิติศาสตร์ มมส.

นิติ มมส


กฎหมายลักษณะนิติกรรมและสัญญา

คำถาม  นิติเหตุคืออะไร?  
ตอบ นิติเหตุ คือ เหตุที่ก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวในทางกฎหมาย (กฎหมายกำหนดให้มีผลทางกฎหมาย) มี 2 ลักษณะ คือ
1) เกิดโดยธรรมชาติ เช่น เวลาล่วงเลยไปทำให้บุคคลอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ กลายเป็นผู้บรรลุนิติภาวะทางกฎหมาย
 2) เกิดโดยการกระทำของบุคคล ถ้าตั้งใจให้เกิดผลในทางกฎหมาย (นิติกรรม) และไม่ตั้งใจให้เกิดผลทางกฎหมายแต่ผลทางกฎหมายก็เกิด เช่น ละเมิด, จัดการนอกสั่ง,ลาภมิควรได้) 
            คำถาม  กฎหมายเอกชน กับ กฎหมายมหาชนต่างกันอย่างไร ?
ตอบ กฎหมายเอกชนเป็นเรื่องระหว่างเอกชนกับเอกชนซึ่งมีฐานะเสมอกัน ส่วนกฎหมายมหาชนเป็นเรื่องระหว่างรัฐกับเอกชน ซึ่งรัฐมีอำนาจเหนือกว่าเอกชน (เช่น การเวนคืนที่ดิน) แต่อำนาจนั้นต้องเป็นไปตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ ตามหลักการที่ว่า “ไม่มีกฎหมาย ไม่มีอำนาจ” และการที่รัฐจะทำการใด ๆ นั้น ต้องคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะเป็นหลัก 
ข้อสังเกต 
           -  เรื่องระหว่างรัฐกับเอกชนใช่ว่าจะเป็นเรื่องกฎหมายมหาชนเสมอไป เช่น กระทรวง ก. ต้องการซื้อเครื่องเขียนไปใช้ในสำนักงาน จึงติดต่อซื้อกับบริษัท ข. การติดต่อซื้อขายนี้ ไม่ใช่การใช้อำนาจรัฐในทางนิติสัมพันธ์กับเอกชนตามกฎหมายมหาชน 
           - ในทางกฎหมายมหาชนนั้น กฎหมายจะต้องเขียนไว้ถึงจะมีอำนาจทำได้ แต่กฎหมายเอกชนถ้ากฎหมายไม่ห้ามไว้ อาจทำได้ แต่ก็มี “กรอบ” ไม่ใช่มีอิสระที่จะทำทุกเรื่อง คำว่า “กรอบ” หมายถึง กฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน นั่นเอง 
           -  อะไรคือ กฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ? อันนี้หลักสำคัญต้องดูที่เจตนารมณ์ของกฎหมายแต่ละเรื่องไป ถ้าขัดก็ทำไม่ได้ เช่น ในทางกฎหมายเอกชน การตกลงที่ต่างจากกฎหมายกำหนดเรื่องดอกเบี้ย นาย ก.กู้ยืมเงิน นาย ข. โดยตกลงกันว่าจะต้องจ่ายดอกเบี้ย 20% ต่อปี อย่างนี้ในทางกฎหมายถือว่าข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยเป็นโมฆะ นาย ข.ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยและนาย ก.มีความผิดในทางอาญาด้วย ตามพ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา 
             คำถาม  กฎหมายใดบ้างที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ?
 ตอบ * กฎหมายแพ่งและพาณิชย์บางมาตรา เช่น 
        -  กฎหมายว่าด้วยวัตถุประสงค์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ม. 150) เช่น นาย ก. จ้างนาย ข. ไปฆ่านาย ค. ผิด ม.150 
        -  กฎหมายว่าด้วยแบบของนิติกรรม (ม.152) เช่น การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่ 
        -  กฎหมายว่าด้วยความสามารถของบุคคลในการทำนิติกรรม (ม.153) เช่น กรณีผู้เยาว์ทำนิติกรรมโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม คือ บิดามารดา เป็นต้น การนั้นเป็นโมฆียะ 
        -  กฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองความมั่นคงของสถาบันครอบครัว เช่น กรณีจดทะเบียนสมรสซ้อน 
        -  กฎหมายที่กำหนดไว้เพื่อคุ้มครองบุคคลภายนอก เช่น กรณีเรื่องแบบ 
        -  กฎหมายที่กำหนดไว้เพื่อคุ้มครองคู่กรณีฝ่ายที่อ่อนแอกว่าในทางเศรษฐกิจ เช่น การที่นายจ้างจะตกลงให้ค่าจ้างขั้นต่ำแก่ลูกจ้างต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ 
        -  กฎหมายเกี่ยวกับอายุความ เช่น อายุความการกู้ยืมเงินมีอยู่ 10 ปี ถ้าตกลงกันให้อายุความมี 20 ปี (เป็นประโยชน์กับเจ้าหนี้) ข้อตกลงนี้เป็นโมฆะ 
          * กฎหมายอาญา 
          * กฎหมายวิธีพิจาณาความ 
           * กฎหมายมหาชน 
ข้อสังเกต 
          -  กรณีที่ทำต่างจากที่กฎหมายกำหนด ซึ่งไม่ขัดกับ “กรอบ” สามารถทำได้ เช่น ม.457 (ตัวบท) ค่าฤาชาธรรมเนียมทำสัญญาซื้อขายนั้น ผู้ซื้อผู้ขายพึงออกใช้เท่ากันทั้งสองฝ่าย กรณีนี้ถ้าหากมีการตกลงกันให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจ่ายก็ได้ แต่ที่กฎหมายบัญญัติไว้ก็เพื่อป้องกันในกรณีที่ต่างฝ่ายต่างไม่ตกลงที่จะจ่าย หรือ ม.458 (ตัวบท) กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายนั้น ย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกัน แต่ถ้าตกลงกันต่างจากนี้ เช่น การซื้อขายรถ ถ้าตกลงกันว่าอีก 5 วันจะมีการส่งมอบให้ ให้ผู้ซื้อชำระราคาในวันที่ส่งมอบและให้กรรมสิทธิ์โอนในวันที่ชำระราคานั้น ตกลงกันอย่างนี้ “ได้” เพราะ ม.458 ไม่ใช่กฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน 
             คำถาม  นิติกรรม หมายถึงอะไร?
 ตอบ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 149 ความว่า “นิติกรรม หมายความว่า การใด ๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยสมัครใจ มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ” 
             ประเด็นดังกล่าวนี้ได้แยกองค์ประกอบของนิติกรรมเป็น 6 ประการ ได้แก่ 
1) เป็นการแสดงเจตนา 
              คำว่า “การ” ซึ่งเป็นคำแรกในตัวบทนี่แหล่ะมุ่งหมายถึง “การแสดงเจตนา”ออกมา อะไรจึงเรียกว่าเป็นการแสดงเจตนา ? ก็คือ การคิดตัดสินใจและทำในสิ่งที่คิดตัดสินใจนั้น โดยรู้สำนึกในสิ่งที่ตนทำนั่นเอง 
               ทั้งนี้ การกระทำบางอย่างอาจจะไม่ใช่การแสดงเจตนาก็ได้ เช่น คนละเมอแล้วมาเซ็นต์สัญญา(ความจริงอาจไม่มี แต่ยกตัวอย่างที่เห็นภาพง่ายๆ ) หรือการที่ถูกบุคคลอื่นใช้กำลังกายบังคับ (บังคับทางกายภาพ) โดยไม่อาจขัดขืนได้ เช่น ถูกจับพิมพ์ลายนิ้วมือทำพินัยกรรม อันนี้ก็ไม่ใช่การแสดงเจตนาเพราะผู้ทำไม่ได้ทำการโดยคิดตัดสินใจเอง 
                แต่กรณีตัวอย่าง เช่น นายเอ ใช้มีดจี้ข่มขู่ให้นายบีเซ็นต์สัญญา กรณีนี้เมื่อนายบีเซ็นต์ จัดเป็นการแสดงเจตนา แต่จะมีผลอย่างไรเป็นอีกเรื่องหนึ่ง (ผลคือ การแสดงเจตนานั้นเป็นโมฆียะ ตาม ม.164 การแสดงเจตนาเพราะถูกข่มขู่ เป็นโมฆียะ) 
วิธีการแสดงเจตนาทำได้อย่างไรบ้าง ? ตอบ วิธีการแสดงเจตนาสามารถทำได้ 3 ลักษณะ คือ 1) การแสดงเจตนาโดยชัดแจ้ง เช่น พูด เขียนหรือแสดงกริยา เช่น พยักหน้า 2) การแสดงเจตนาโดยปริยาย (อันนี้ต้องตีความจึงเข้าใจเจตนา) เช่น ผู้ให้กู้ฉีกสัญญากู้ อาจเป็นการแสดงเจตนาโดยปริยายที่จะปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ 3) การนิ่ง โดยทั่วไปไม่ถือว่าเป็นการแสดงเจตนา ยกเว้นแต่กรณีที่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติหรือปกติประเพณีที่เข้าใจกันและที่กฎหมายบัญญัติไว้ เช่น เมื่อสิ้นกำหนดเวลาเช่า แต่ผู้เช่ายังครองทรัพย์สินที่เช่าอยู่ ผู้ให้เช่าก็เฉยอยู่ทั้งที่รู้ว่าสิ้นกำหนดเวลาแล้ว แต่มิได้ดำเนินการใด ๆ อันนี้ทำให้เป็นการที่คู่สัญญาได้ทำสัญญาใหม่โดยไม่มีกำหนดเวลา (ตาม ม.570) 
ข้อสังเกต 
            ถ้าไม่มีการแสดงเจตนา ก็จะไม่มีนิติกรรม 
2) เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย 
             คำว่า “ชอบด้วยกฎหมาย” นั้น ไม่จำเป็นว่าจะต้องมีกฎหมายรองรับทุกกรณีไป แต่ต้องไม่ขัดกับ “กรอบ” หลักความสงบเรียบร้อยฯ เช่น กรอบตาม ม.150 , 152 เป็นต้น 
ข้อสังเกต 
              แม้การกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย กฎหมายก็ยอมให้เกิดนิติกรรม แต่เป็นนิติกรรมที่ไม่สมบูรณ์ 
3) ทำโดยสมัครใจ คือ เป็นการตัดสินใจทำเอง 
4) ต้องการก่อให้เกิดผลผูกพันในทางกฎหมาย 
              การกระทำตามารยาทในทางสังคมหรือในทางอัธยาศัยไมตรีหรือการพูดล้อเล่น ไม่เป็นการมุ่งต่อผลในทางกฎหมาย เช่น นาย ก.บอกนาย ข.ว่าจะไปส่ง ข.ที่บ้าน แต่ต่อมา นาย ค.มาชวน ก.ไปดูหนัง นาย ก.จึงบอกนาย ข.ว่า ไม่สามารถไปส่งได้ (นาย ข.จะเอาผิดนาย ก.ในทางกฎหมายมิได้) อันนี้ไม่ใช่นิติกรรม แต่เป็นอัธยาศัยไมตรี 
ข้อสังเกต 
              ถ้าทำสิ่งใดโดยไม่มุ่งผลทางกฎหมาย นิติกรรมไม่เกิด เพราะฉะนั้นโดยภาพรวมอาจจะกล่าวได้ว่า นิติกรรมจะเกิดไม่ได้ เพราะ 1) ไม่มีการแสดงเจตนา และ/หรือ 2) ขาดการมุ่งผลทางกฎหมาย (แต่บางกรณีอาจมีข้อยกเว้น แม้จะอ้างว่าไม่มีเจตนาที่แท้จริง ก็เกิดนิติกรรม เช่น นาย ก.ส่งหนังสือให้นาย ข. แล้วบอกว่า ให้คุณ แต่ต่อมา นาย ก.ขอหนังสือคืน และบอกนาย ข.ว่า ที่ทำไปเพราะประชด นาย ค. ที่จริงไม่ได้เจตนาจะให้ เหตุดังนี้ จะอ้างว่าไม่มีเจตนา นิติกรรมไม่เกิดไม่ได้ เพราะตามมาตรา 154 บัญญัติว่า “การแสดงเจตนาใดแม้ในใจจริงผู้แสดงเจตนาจะมิได้เจตนาให้ตนต้องผูกพันตามที่ได้แสดงออกมาก็ตาม หาเป็นมูลเหตุให้การแสดงเจตนานั้นเป็นโมฆะไม่ เว้นแต่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจะได้รู้ถึงเจตนาอันซ่อนอยู่ในใจของผู้แสดงนั้น” เพราะฉะนั้น กรณีข้างต้นนี้ ถือว่าเกิดนิติกรรมแล้ว เพราะ ข.ก็ไม่รู้ความรู้สึกนึกคิดในใจของ ก.เลยว่าทำไปเพราะประชด ค. 
5) เป็นผลผูกพันระหว่างบุคคล 
                ตรงนี้อย่าหลงประเด็นว่าการทำนิติกรรมต้องทำหลายคนเท่านั้นน่ะ นิติกรรมฝ่ายเดียวก็มี คำว่า “ผูกพันระหว่างบุคคล” นั้น หมายถึง มีผลถึงบุคคลอื่น ๆ ด้วย เช่น การทำพินัยกรรม มีผลถึงลูกหลานที่จะรับมรดก เป็นต้น 
6) ผลนั้นคือความเคลื่อนไหวในทางสิทธิ 
                ความเคลื่อนไหวในทางสิทธิที่ว่าก็คือ ก่อให้เกิด เปลี่ยนแปลง โอน สงวน และระงับสิทธิ 
               
     นิติกรรม จึงเป็นเครื่องมือที่กฎหมายมอบให้แก่เอกชนไว้สร้างหรือก่อความผูกพันซึ่งกันและกัน ซึ่งอาจจำแนกออกเป็นกลุ่มตามความสัมพันธ์กับบุคคลได้ 3 กลุ่ม คือ 
1) นิติกรรมฝ่ายเดียว เช่น พินัยกรรม การบอกล้างโมฆียกรรม 
2) นิติกรรมสองฝ่าย ได้แก่ สัญญาต่าง ๆ เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่าทรัพย์สิน 
3) นิติกรรมหลายฝ่าย เช่น การจัดตั้งห้างหุ้นส่วน บริษัท




1. ความหมายของทรัพย์และทรัพย์สิน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มรตรา 137 บัญญัติว่า "ทรัพย์หมายความว่า วัตถุมีรูปร่าง" และมาตรา 138 บัญญัติว่า "ทรัพย์สินหมายความว่ารวมทั้งทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่างซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้"
เพื่อให้เข้าใจความหมายของคำว่า ทรัพย์และทรัพย์สิน จำเป็นต้องพิจารณา มาตรา 137 และมาตรา 138 ประกอบกัน กล่าวคือ คำว่า "ทรัพย์" นอกจากจะหมายถึงวัตถุมีรูปร่งแล้วยังต้องเป็นวัตถุมีรูปร่งซึ่งอาจมีราคาได้และถือเอกได้ด้วย ส่วนคำว่า "ทรัพย์สิน" หมายถึงวัตถุมีรูปร่างซึ่งอาจมีราคาได้และถือเอาได้ประการหนึ่ง และยังหมายถึงวัตถุ ไม่มีรูปร่างซึ่งอาจมีราคาได้และถือเอาได้อีกประการหนึ่ง
จะเห็นได้ว่าในเมื่อทรัพย์เป็นทรัพย์สินส่วนหนึ่ง ทรัพย์จึงต้องเป็นวัตถุมีรูปร่างซึ่งอาจมีราคาได้และถือเอาได้เช่นเดียวกัน
คำว่า "มีรูปร่าง" หมายถึง สิ่งที่มองเห็นได้ด้วยตาจับต้องสัมผัสได้ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ บ้าน เรือน
คำว่า "ไม่มีรูปร่าง" หมายถึง สิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตา จับต้องสัมผัสไม่ได้ เช่น พลังงานปรมาณู,แก๊ส,กำลังแห่งธรรมชาติ และยังได้แก่สิทธิต่างๆเกี่ยวกับทรัพย์ เช่น กรรมสิทธิ์,ลิขสิทธิ์,สิทธิบัตร
คำว่า "อาจถือเอาได้" หมายถึง เพียงแต่อาจถือเอาได้เท่านั้น มีอาการเข้าหวงกันไว้เพื่อตนเอง ไม่จำเป็นต้องยึดถือจับต้องได้จริงจัง เช่น รังนกในถ้ำเมื่อผู้นั้นได้สัมปทานจากรัฐบาลย่อมมีอำนาจเข้าครอบครองถ้ำแสดงอาการหวงรังนก ก็เรียกได้ว่าอาจถือเอาได้หรือสิทธิบางอย่างแม้จะจับต้องมิได้ แต่ก็ยังอยู่ในลักษณะที่จะยึดถือหวงแหนไว้เพื่อตนเองได้ เช่น ลิขสิทธิ์,สิทธิในการเช่า,กระแสไฟฟ้า เป็นต้น
สิ่งสำคัญที่ต้องเน้นก็คือไม่ว่าจะเป็นวัตถุที่มีรูปร่างหรือไม่ก็ตาม จะเป็นทรัพย์สินได้ก็ต่อเมื่อ "อาจมีราคาและอาจถือเอาได้" ถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่งก็ไม่ถือเป็น ทรัพย์สิน เช่นมนุษย์เรา แม้จะมีรูปร่างแต่ก็ไม่อาจมีราคาซื้อขายกันได้ ฉะนั้นมนุษย์จึงไม่ใช่ทรัพย์ เมื่อมนุษย์ไม่ใช่ทรัพย์ย่อมไม่ทรัพย์สินด้วย แต่หากได้มีการแยกอวัยวะออกมาเป็นส่วนๆ จากร่างกาย เช่น ส้นผมหากได้ตัดไปขาย ตวงตาที่บุคคลขายหรืออุทิศแก่โรงพยาบาล ดังนี้ ย่อมมีราคาและถือเอาได้จึงเป็นทรัพย์สินได้
 
 
2. ประเภทของทรัพย์สิน
     
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แบ่งทรัพย์ออกเป็น 5 ประเภท
1) อสังหาริมทรัพย์
2) สังหาริมทรัพย์
3) ทรัพย์แบ่งได้
4) ทรัพย์แบ่งไม่ได้
5) ทรัพย์นอกพาณิชย์
 
 2.1 ความหมายของอสังหาริมทรัพย์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 139 บัญญัติว่า "อสังหาริมทรัพย์หมายความว่า ที่ดินและทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินลักษณะเป็นการถาวรหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้น และหมายความรวมถึงทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับที่ดินหรือทรัพย์อันติด อยู่กับที่ดินหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นด้วย"
โดยพิจารณาแยกดังนี้
2.1.1 ที่ดิน
คือ พื้นดินทั่วๆ ไปที่มีอาณาเขต พึงกำหนดได้เป็นส่วนกว้างและส่วนยาว แต่ไม่รวมถึงดินทีขุดขึ้นมา แล้วย่อมไม่เป็นที่ดินต่อไป เป็นเพียงสังหาริมทรัพย์เท่านั้น
2.1.2 ทรัพย์อันติดกับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวรได้แก่
2.1.2.1 ทรัพย์อันติดกับที่ดิน โดยธรรมชาติ เช่น ไม้ยืนต้นที่ปลูกลงในที่ดิน โดยไม้ยืนต้นนี้ส่วนใหญ่คือ พันธุ์ไม้ยืนต้นที่ปลูกลงในที่ดิน โดยไม้ยืนต้นนี้ส่วนใหญ่มีอายุยืนกว่า 3 ปี เช่น ต้นพูล,มะม่วง
2.1.2.2 ทรัพย์ที่ติดกับที่ดินโดยมีผู้นำมาติดไว้ เช่น ตึก สะพาน เจดีย์ อนุสาวรีย์ หอนาฬิกา โดยการนำมาติดกับที่ดิน เช่นนี้ต้อง เป็นการติดในลักษณะตรึงตราแน่นหนาถาวร แต่ไม่จำเป็นต้องติดอยู่กับที่ตลอดไป และหากมีการรื้อถอนจะทำทรัพย์นั้นเสีย หายทำให้บุบสลายเสียสภาพหรือเสียรูปทรง
การที่จะพิจารณาว่าเป็นทรัพย์ซึ่งติดอยู่กับที่ดินอันมีลักษณะเป็นถาวร ให้ดูที่สภาพว่ามีลักษณะติดอยู่กับที่ดินเป็นการถาวรหรือไม่ ไม่ใช่ไปดูที่เจตนาติดไว้นานแค่ไหน เช่า ร้านค้าที่ปลูกในงานมหกรรมต่างๆ ชั่วระยะที่มีงาน โดยมีการสร้างเป็นอย่างดี สามารถติดยู่เป็นการมั่นคงถาวร มีการขุดหลุมวางเสาคอนกรีต หรือใช้ไม้อย่างดีมาเป็นโครงสร้าง เป็นต้น แต่ผู้ปลูกสร้างมีเจตนาให้ติดอยู่กับที่ดินนี้เพียง 5วัน 10 วัน ตามระยะเวลางาน กรณีเช่นนี้ยังคงถือว่าร้านดังกล่าวเป็นอสังหาริมทรัพย์ด้วย
2.1.3 ทรัพย์ซึ่งประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน
คือทรัพย์ที่ เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินบนพื้นโลกตามสภาพธรรมชาติ เช่น กรวด,ทราบ,แร่โลหะต่างๆ,ห้วย,หนอง,คลอง,บึง,ทะเลสาบ
2.1.4 ทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับที่ดินหรือทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดิน
หรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินทรัพยสิทธินี้ก็คือทรัพย์สิทธิที่กฎหมายก่อตั้งไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 นั้นเองไม่ว่าจะเป็นกรรมสิทธิ์ในที่ดินสิทธิอาศัยในโรงเรียน,สิทธิครอบครองในสระในที่ดินของเรา ย่อมเป็นอสังหาริมทรัพย์
 
 2.2 ความหมายของสังหาริมทรัพย์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 140 บัญญัติว่า "สังหาริมทรัพย์ หมายความว่า ทรัพย์สินอื่นนอกจากอสังหาริมทรัพย์ และหมายความรวมถึงสิทธิอันเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นด้วย"
มาตรา 140 นี้กำหนด ความหมายของอสังหาริมทรัพย์ เป็นบทปฏิเสธของความหมายของอสังหาริมทรัพย์ เพราะฉะนั้นอะไรก็ตามถ้าไม่เป็นอสังหาริมทรัพย์และจะต้องเป็นสังหาริมทรัพย์ทั้งสิ้น เช่น นาฬิกา,โต๊ะ,รถยนต์ ตลอดจนสิทธิอันเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นด้วย คำว่า "ทรัพย์สิน" ให้หมายรวมถึงทรัพย์และวัตถุมีรูปร่งซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้ ดังนั้น คำว่าทรัพย์สินในมาตรา 140 นี้ต้องเอาความหมายนั้นมาพิจารณาด้วย
สิทธิในสังหาริมทรัพย์ที่มีรูปร่าง เช่น กรรมสิทธิ์ในรถยนต์เป็สิทธิกันเกี่ยวกับทรัพย์สินคือรถยนต์ ดังนั้นกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ย่อมเป็นสังหาริมทรัพย์ด้วย
สิทธิในสังหาริมทรัพย์ที่ไม่มีรูปร่าง สิทธิเหล่านี้ต้องเป็นสิทธิที่กฎหมายให้การรับรองแล้ว เช่น ลิขสิทธิ์,สิทธิบัตร สิทธิเหล่านี้เป็นทรัพย์สินซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้ สิทธิเหล่านี้จึงเป็นสังหาริมทรัพย์
ประเภทของสังหาริมทรัพย์
ประเภทของสังหาริมทรัพย์ อาจแบ่งได้ เป็น 2 ประเภท คือ
2.2.1 สังหาริมทรัพย์ทั่วไป
สังหาริมทรัพย์ทั่วไป คือ ทรัพย์สินอื่นนอกจากอสังหาริมทรัพย์ที่มี ลักษณะเคลื่อนที่ได้ด้วยแรงกำลังธรรมชาติ หรือโดยแรงกำลังกายภาพแห่งทรัพย์นั้น เช่น รถยนต์ ตู้เย็น พัดลม โทรทัศน์ จักรยาน
2.2.2 สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ
สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ คือ ทรัพย์อื่นนอกจากอสังหาริมทรัพย์ที่มี กฎหมายได้กำหนดให้เป็นทรัพย์ในลักษณะพิเศษกว่าสังหาริมทรัพย์ทั่วไป อันได้แก่ เรือกำปั่นมีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป เรือกลไฟ หรือเรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป แพ และสัตว์พาหนะ คือ ช้าง ม้า วัว ความ ลา ล่อ
สิ่งสำคัญคือในการทำนิติกรรมจำหน่ายจ่ายโอนสังหาริมทรัพย์จำต้องทราบด้วย ว่าเป็นสังหาริมทรัพย์ประเภทใด เพราะหากเป็นสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษและจะต้องได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่เช่นเดียวกับกรณี การจำหน่าย จ่าย โอนทรัพย์ที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ด้วย
อสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์มีลักษณะและผลของกฎหมายแตกต่างกันคือ
1) อสังหาริมทรัพย์ 
โดยเฉพาะที่ดินจะต้องมีเจ้าของเสมอ แต่สังหาริม ทรัพย์ไม่จำเป็นต้องมีเจ้าของเสมอไป
2) ทรัพยสิทธิบางอย่างจะก่อให้เกิดขึ้นได้ก็แต่ในอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น
เช่น ภาระจำยอม, สิทธิอาศัย, สิทธิเก็บกิน, สิทธิเหนือพื้นดิน, ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
3) การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองทรัพย์ 
ที่เรียกว่าแย่งการครอบครอง หรือครอบครองปรปักษ์ นั้น มีอายุความได้สิทธิต่างกันโดยการได้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์จะ มีระยะเวลายาวกว่าสังหาริมทรัพย์
4) แบบนิติกรรม 
นิติกรรมเพื่อให้ได้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์ต้องทำตามแบบ ส่วนสังหาริมทรัพย์โดยทั่วไปไม่จำต้องทำ
5) ในเรื่องแดนกรรมสิทธิ์ 
เฉพาะตัวที่ดินซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์เท่านั้นมีกรรม สิทธิ์ทั้งเหนือพื้นดินและใต้พื้นดิน ส่วนสังหาริมทรัพย์นี้ไม่มีแดนกรรมสิทธิ์
6) สิทธิของคนต่างด้าว
ในการได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินมีกฎหมายบัญญัติควบคุมไว้ โดยไม่ให้คนต่างด้าวได้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ หรือถ้าได้ก็ต้องอยู่ในวงจำกัดแต่ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ไม่มีกฎหมายอะไรควบคุมไว้
 
 2.3 ทรัพย์แบ่งได้ 
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 141 บัญญัติว่า "ทรัพย์แบ่งได้ หมายความว่า ทรัพย์อันอาจแยกออกจากกันเป็นส่วนๆ ได้จริงถนัดชัดแจ้งแต่ละส่วน ได้รูปบริบูรณ์ลำพังตัว"
ทรัพย์แบ่งได้คือ ทรัพย์ที่อาจแยกหรือแบ่งออกจากกันได้และเมื่อแยกออกจากกันได้แล้ว ไม่เสียรูปทรงและแต่ละส่วนได้รูปบริบูรณ์ลำพังตนเอง คือแบ่งไปแล้วยังมีลักษณะของตัวทรัพย์นั้น อยู่เพียงแต่ประมาณลดลงไป เช่น ผ้าเป็นพับๆ ซึ่งสามารถตัดแบ่งเป็นเมตรๆ ได้ จะเห็นได้ว่า ยังเป็นลักษณะผ้า เพียงแต่ปริมาณในแต่ละผืนน้อยลง
 
 2.4 ทรัพย์แบ่งไม่ได้ 
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 142 บัญญัติว่า "ทรัพย์แบ่งไม่ได้ หมายความว่า ทรัพย์อันจะแยกออกจากกันไม่ได้ นอกจากเปลี่ยนแปลงภาวะของทรัพย์หมายความ ถึงทรัพย์ที่มีกฎหมายบัญญัติว่าแบ่งไม่ได้ด้วย"
ทรัพย์ที่แบ่งไม่ได้ มี 2 ลักษณะ คือ
2.4.1 ทรัพย์ที่แบ่งไม่ได้โดยสภาพ
คือ โดยสภาพของตัวทรัพย์นั้นเองถ้าแบ่งแล้วจะทำให้เปลี่ยน แปลงสภาวะของทรัพย์นั้นไป เช่น ตึกรามบ้านช่อง
2.4.2 ทรัพย์ที่แบ่งไม่ได้โดยอำนาจของกฎหมาย 
หมายความถึงทรัพย์หรือ ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติว่าแบ่งไม่ได้ เช่น หุ้นในบริษัทมหาชนหรือเอกชน ทรัพย์ที่เป็นส่วนควบ
ทรัพย์แบ่งได้หรือทรัพย์แบ่งไม่ได้นั้นอาจเป็นอสังหาริมทรัพย์ หรือเป็นสังหาริมทรัพย์ก็ได้ การที่กฎหมายแบ่งประเภทของทรัพย์เป็นทรัพย์แบ่งได้หรือแบ่งไม่ได้นี้เพื่อ ประโยชน์ในการแบ่งทรัพย์ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมโดยถ้าเป็นทรัพย์แบ่งได้ก็แบ่งตัวทรัพย์กัน ไปตามส่วนแห่งการเป็นเจ้าของรวม หากปรากฎว่าตกลงกันไม่ได้ว่าใครจะเอาส่วนใดหรือกรณีที่เป็นทรัพย์ที่แบ่งไม่ได้ ก็ต้องแบ่งตามวิธีการทีกฎหมายกำหนดไว้คือโดยวิธีประมูลราคาระหว่างเจ้าของรวมหรือขายทอดตลาด
 
 2.5 ทรัพย์นอกพาณิชย์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 143 บัญญัติว่า "ทรัพย์นอกพาณิชย์ หมายความว่า ทรัพย์ที่ไม่อาจถือเอาได้และทรัพย์ที่โอนแก่กันมิได้โดยชอบด้วยกฎหมาย"
2.5.1 ทรัพย์ที่ไม่อาจถือเอาได้ 
ทรัพย์และทรัพย์สินนั้นจะต้องเป็นสิ่งของหรือ สิทธิที่อาจมีราคาและอาจถือเอาได้ โดยต้องประกอบกันทั้งสองอย่าง ถ้าอาจมีราคาอย่างเดียวแต่ไม่อาจถือเอาได้ หรืออาจเอาได้แต่ไม่อาจมีราคา ก็ไม่ใช้ทรัพย์สินดังนั้นทรัพย์นอกพาณิชย์ในความหมายแรกนี้ คือ ทรัพย์ที่ไม่อาจถือเอาได้นั้นก็ไม่ใช่ทรัพย์ เช่น ดวงดาว, ดวงจันทร์, เมฆบนฟ้า, สายลม
2.5.2 ทรัพย์ที่โอนแก่กันมิได้โดยชอบด้วยกฎหมาย 
เป็นกรณีที่กฎหมายระบุไว้ชัดเจนว่าห้ามโอน หรือทรัพย์สินที่จะนำมาจำหน่ายจ่ายโอน เช่น ทรัพย์สินทั่วๆ ไปมิได้ เว้นแต่จะโอน โดยอาศัยอำนาจแห่งกฎหมายโดยเฉพาะ เช่น สาธารณะสมบัติของแผ่นดิน, ที่ธรณีสงฆ์, สิทธิได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดู เป็นต้น
 
 
3. ส่วนอันประกอบทรัพย์
     
ส่วนอันประกอบทรัพย์ มี 3 ลักษณะ คือ ส่วนควบ อุปกรณ์ ดอกผล
 
 3.1 ส่วนควบ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 144 บัญญัติว่า "ส่วนควบของทรัพย์ หมายความว่า ส่วนซึ่งโดยสภาพแห่งทรัพย์หรือโดยจากรีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเป็นสาระสำคัญ ในความเป็นอยู่ของทรัพย์นั้นและไม่อาจแยกจากกันได้ นอกจากจะทำลายทำให้บุบสลายหรือทำให้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงรูปหรือสภาพไป
เจ้าของทรัพย์ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในส่วนควบของทรัพย์นั้น"
ในเรื่องส่วนควบนั้นจะมีความเกี่ยวพันกันระหว่างทรัพย์ตั้งแต่สองอย่างขึ้นไป และต้องมีทรัพย์หลักอยู่อย่างหนึ่งคือทรัพย์ประธาน ทรัพย์นอกนั้นเข้าเกี่ยวข้องเป็นส่วนควบ และผู้ใดเป็นเจ้าของทรัพย์ประธานย่อมถือว่าเป็นเจ้าของส่วนควบนั้นด้วย
ทรัพย์ที่เป็นส่วนควบต้องประกอบด้วย 2 ประการ คือ
3.1.1 ส่วนควบต้องเป็นสาระสำคัญ ในความเป็นอยู่ของทรัพย์ใหม่นั้น เช่น ใบพัดและหางเสือเป็นสาระสำคัญของเรือยนต์ เลนส์แว่นตาย่อมเป็นสาระสำคัญในความเป็น อยู่ของแว่นตาโดยการเป็นสาระสำคัญนั้นอาจเป็น
3.1.1.1 โดยสภาพแห่งทรัพย์นั้นเอง เช่น เข็มนาฬิกา โดยสภาพย่อมเป็นสาระสำคัญของนาฬิกา กระเบี้องมุงหลังคาย่อมเป็นสาระสำคัญของบ้านโดยสภาพ
3.1.1.2 โดยจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น เช่น บ้านโดยจารีตประเพณีย่อมเป็น สาระสำคัญในความเป็นอยู่ของที่ดิน
3.1.2 ส่วนควบต้องมีสภาพไม่อาจแยกออกจากกันได้ นอกจากทำลายทำบุบสลาย หรือทำให้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนรูปทรง เช่น บ้านย่อมประกอบด้วย เสา ฝา หลังคา ประตู หน้าต่าง โดยสิ่งเหล่านี้ เราไม่อาจแยกออกจากตัวบ้านได้ นอกจากจะรื้อทำลาย หรือรถยนต์ถ้าเอาล้อมรถออกไปย่อมทำให้รถยนต์นั้นเปลี่ยนแปลงรูปทรงไป
การร่วมสภาพนั้นอาจเป็นการกระทำของบุคคลก็ได้ เช่นบ้านเรือนรถยนต์ ดังกล่าว หรืออาจเป็นการรวมสภาพโดยธรรมชาติก็ได้ เช่น ที่งอกริมตลิ่ง
ทรัพย์ใดแม้เป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่แห่งทรัพย์ แต่ถ้าไม่มีการรวมสภาพกัน จนแยกไม่ได้แล้วหาใช่ส่วนควบไม่ เช่น ช้อนกับส้อม ฉิ่งกับฉับ ไม่อาจถือว่าช้อนเป็นส่วนความของส้อม หรือฉับเป็นส่วนควบของฉิ่ง และทรัพย์ใดแม้จะรวมสภาพจนไม่อาจแยกออกจากันได้ แต่ถ้าทรัพย์นั้นไม่เป็นสาระสำคัญ ในความเป็นอยู่ของตัวทรัพย์ก็มิใช้ส่วนควบ เช่น ฝากั้นห้องแม้จะมีสภาพไม่อาจแยกออกจากตัวบ้านได้ และหากรื้อจะทำให้บุบสลายไป แต่ตามปกติไม่ถือว่าเป็นสาระสำคัญของตัวบ้าน ดังนั้นฝากั้นห้องจึงมิใช่ส่วนควบของตัวบ้าน
ข้อยกเว้นไม่เป็นส่วนควบ
1)ไม้ล้มลุก คือต้นไม่มีอายุไม่เกิน 3 ปี และธัญชาติ คือข้าวต่างๆ อันจะเก็บเกี่ยวรวงผลได้คราวหนึ่งหรือหลายคราวต่อปี
2) ทรัพย์ซึ่งติดกับที่ดินหรือติดกับโรงเรือนเพียงชั่วคราวไม่ถือว่าเป็นส่วนควบ เช่น ร้านค้าที่ตั้งขึ้นในงานมหกรรมต่างๆ เพียงชั่วคราว
3) โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นอันผู้มีสิทธิในที่ดินของผู้อื่น ใช้สิทธิ์ปลูกสร้างทำลงไว้ในที่ดังนั้น เช่น ทำสัญญาเช่าที่ดินเพื่อสร้างบ้านลงบนที่ดินนั้น ผู้เช่าย่อมมีสิทธิ์สร้างบ้านบนที่ดินนั้นได้ บ้านย่อมไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดิน
 
 3.2 อุปกรณ์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 147 บัญญัติว่า "อุปกรณ์ หมายความว่า สังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยปกตินิยมเฉพาะถิ่นหรือโดยเจตนาชัดแจ้งของเจ้าทรัพย์เป็นทรัพย์ ประธานเป็นของใช้ประจำกับทรัพย์ประธานเป็นอาจิณเพื่อประโยชน์แก่การจัดการดูแลใช้ สอบหรือรักษาทรัพย์ที่เป็นประธานและเจ้าของทรัพย์ได้นำมาสู่ทรัพย์ที่เป็นประธาน โดยการนำมาติดต่อหรือปรับเข้าไว้ หรือโดยการทำประการอื่นใดในฐานะเป็นของใช้ ประกอบกันทรัพย์ที่เป็นประธานนั้น
อุปกรณ์ที่แยกออกจากทรัพย์ที่เป็นประธานเป็นการชั่วคราวที่ยังไม่ขาดจาก การเป็นอุปกรณ์ของทรัพย์ที่เป็นประธานนั้น
อุปกรณ์ย่อมตกติดไปกับทรัพย์ที่เป็นประธาน เว้นแต่จะมีการกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น"
องค์ประกอบที่จะเป็นอุปกรณ์พิจารณาได้ดังนี้
3.2.1 อุปกรณ์จะต้องมีทรัพย์เป็นประธานเสียก่อน โดยตัวทรัพย์ประธาน จะเป็นสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์ก็ได้ เช่น ยางอะไหล่เครื่องมือแม่แรงอยู่ที่ท้ายรถ ต้องมีทรัพย์ประธานคือ ตัวรถยนต์ก่อน
3.2.2 อุปกรณ์ต้องเป็นสังหาริมทรัพย์แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น จะเป็นอสังหาริมทรัพย์ไม่ได้
3.2.3 ต้องไม่ใช้ทรัพย์ที่มีการร่วมสภาพกับทรัพย์ที่เป็นประธานจนไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ซึ่งหากมี่การแยกจากกันไม่ได้ก็จะเป็นเรื่องของส่วนควบ เช่น แว่นตา กรอบแว่นตา ถือว่าเป็นทรัพย์ประธาน ส่วนเลนส์เป็นส่วนควบ โดยจะต้องอยู่ร่วมกันถ้าเอาเลนส์ออก ไปแว่นย่อมเปลี่ยนสภาพไม่เป็นแว่นตา แต่หากเป็นปลอกแว่นตาย่อมไม่รวมสภาพกับแว่นตา จึงแยกกันได้ปลอกแว่นตาจึงเป็นอุปกรณ์
3.2.4 อุปกรณ์ต้องไม่ใช้ทรัพย์ที่เป็นประธานด้วยกัน กล่าวคือในกรณีที่มีทรัพย์สอง สิ่งที่มีความสำคัญเท่ากันไม่อาจชี้ชัดลงไปว่าอะไรเป็นทรัพย์ประธานสองสิ่งนี้ย่อมไม่เป็นอุปกรณ์ซึ่งกันและกัน เช่นตะเกียบ ช้อนส้อม
3.2.5 อุปกรณ์นั้นต้องเป็นทรัพย์ของเจ้าของเดียวกัน
3.2.6 อุปกรณ์ต้องเป็นทรัพย์ที่ใช้เป็นประจำอยู่กับทรัพย์ที่เป็นประธานนั้นเป็นอาจิณ คือมีการใช้เป็นไปตามปกติเสมอหรือเนื่องตามสภาพของทรัพย์นั้นโดยพิจารณาจากปกตินิยมเฉพาะท้องถิ่น หรือพิจารณาจากเจตนา ของคนที่เป็นเจ้าของทรัพย์ที่เป็นประธานนั้น
3.2.7 อุปกรณ์ซึ่งนำมาใช้ประจำเป็นอาจิณกับทรัพย์ที่เป็นประธานนั้นต้องนำมา อยู่เป็นประจำเพื่อประโยชน์ในการจัดดูแลใช้สอบหรือรักษาทรัพย์ที่เป็นประธาน เช่น วิทยุติดรถยนต์ ไม่ได้นำมาติดไว้เพื่อดูแลรักษารถยนต์จึงไม่ใช่อุปกรณ์
3.2.8 อุปกรณ์ต้องเป็นทรัพย์ที่เจ้าของทรัพย์เป็นประธานนำมาสู่ตัวทรัพย์เป็นประธาน ในฐานะเคื่รองใช้เพื่อประโยชน์ในการดูแลใช้สอยหรือรักษาทรัพย์นั้น เช่น มีแว่นตาจึงไปซื้อปลอกแว่นตาสำหรับใช้ใส่แว่นตา ปลอกแว่นตาจึงเป็นอุปกรณ์
ในกรณีที่มีการแยกอุปกรณ์ออกไปชั่วคราว อุปกรณ์ที่แยกออกไปยังไม่ถือว่าขาดจากการเป็นอุปกรณ์ เพราะเหตุว่าทรัพย์ที่เป็นอุปกรณ์ ย่อมติดไปกับทรัพย์ประธานเสมอ ดังนั้นหากมีการขายทรัพย์ที่เป็นประธาน ย่อมถือว่าขายทรัพย์ที่เป็นอุปกรณ์ไปด้วย เว้นแต่มีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น
 
 3.3 ดอกผล
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 148 บัญญัติว่า "ดอกผลของทรัพย์ ได้แก่ ดอกผลธรรมดาและดอกผลนิตินัย"
ดอกผลธรรมดา หมายความสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของทรัพย์ซึ่งได้มาจากตัวทรัพย์ โดยมีการใช้ทรัพย์นั้นตามปกตินิยมและสามารถถือเอาได้เมื่อขาดทรัพย์นั้น
ดอกผลนิตินัย หมายความว่า ทรัพย์หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้มาเป็นครั้ง คราวแก่เจ้าของทรัพย์จากผู้อื่น เพื่อการที่ได้ใช้ทรัพย์นั้นและสามารถคำนวณและถือเอาได้เป็นรายวันหรือตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ ดอกผลตามกฎหมายมีอยู่ 2 ชนิด คือ
3.3.1 ดอกผลธรรมดา ซึ่งดอกผลธรรมดานันเป็นทรัพย์ที่เกิดขึ้นตามธรรม ชาติจากตัวทรัพย์หรือจากตัวแม่ทรัพย์ เมื่อขาดตกออกมาจากแม่ทรัพย์แล้วจะกลายเป็นดอกผลธรรมดาที่สามารถยึดถือเอา ได้และข้อสำคัญเมื่อหลุดขาดตกออกมาแล้ว ตัวแม่ทรัพย์จะต้องไม่เปลี่ยนสภาวะหรือไม่เปลี่ยนรูปร่างไป เช่น ผลไม้ต่างๆขณะที่ ผลยังติดอยู่กับต้นไม่ถือเป็นดอกผล จะเป็นดอกผลเมื่อมันขาดหลุดมาจากต้นเสียก่อน แต่หากเป็นกรณีที่มีการขาดหลุดจากตัวทรัพย์ แล้วทำให้แม่ทรัพย์เปลี่ยนสภาวะหรือเปลี่ยนรูปร่างไม่ถือเป็นดอกผล เช่น วัวนั้นตามปกติเมื่อโตขึ้นจะมีเขางอกถ้าเราไปตัดเขาวัวออกเสียย่อมทำให้วัวเสียสภาพไป ดังนั้นเขาวัวหรือเขาสัตว์จึงไม่ถือเป็นดอกผล
3.3.2 ดอกผลนิตินัย เป็นดอกผลที่มิได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากตัวของแม่ทรัพย์ แต่เป็นการเกิดขึ้นจากผู้อื่นได้ใช้ทรัพย์โดยจากการใช้ทรัพย์นั้นเขาให้ทรัพย์อีกอย่างหนึ่งหรือประโยชน์เป็นการตอบแทน ดอกผลนิตินัยมีลักษณะดังนี้
3.3.2.1 ดอกผลนิตินัยอาจจะเป็นทรัพย์ หรือประโยชน์ก็ได้ เช่น ดอกเบี้ย ค่าเช่า หรือประโยชน์ในการให้เข้าไปทำกินในที่ดิน
3.3.2.2 ดอกผลนิตินัยเป็นทรัพย์ที่ตก ได้แก่ เจ้าของทรัพย์และเป็นการให้แก่แม่ทรัพย์เป็นครั้งคราว โดยอาจเป็นรายวัน รายเดือนหรือตามระยะเวลาที่ตกลงไว้
3.3.2.3 ดอกผลนิตินัยตกได้แก่ผู้เป็นเจ้าของแม่ทรัพย์เพราะเหตุที่ผู้อื่นได้ใช้ตัวแม่ทรัพย์นั้น เช่น นำที่ดินออกให้เช่า ค่าเช่าเป็นผลประโยชน์ที่ผู้เช่าให้แก่เจ้าของที่ดินเนื่องจากการที่ได้ใช้สอยที่ดินนั้น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 บัญญัติว่า "เจ้าของ ทรัพย์สินสิทธิได้ดอกผลแห่งทรัพย์นั้น"
ดังนั้น เจ้าของแม่ทรัพย์ย่อมมีสิทธิได้ดอกผลของตัวแม่ทรัพย์นั้น ไม่ว่าเป็นดอกผลธรรมกาหรือดอกผลพิเศษ เช่น ที่ดินเพื่อปลูกบ้านโดยตกลงกันว่าดอกผล อันเกิดจากที่ดินผู้ให้เช่าขอสงวนไว้เก็บกินเป็นส่วนตัว หรือในกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ เช่น เรื่องทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา หรือกรณีลาภมิควรได้ โดยผู้รับทรัพย์สินไปโดยสุจริต ว่าตนมีสิทธิรับทรัพย์นั้นไว้ ผู้นั้นย่อมได้ดอกผลของทรัพย์สินนั้นตลอดเวลาที่สุจริตอยู่
 
 
4. บุคคลสิทธิและทรัพย์สิทธิ
สิทธิต่างๆ ที่บุคคลมีได้นั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1) บุคคลสิทธิ(PERSONAL RIGHT)
2) ทรัพยสิทธิ (REAL RIGHT)
4.1) บุคคลสิทธิ(PERSONAL RIGHT)
บุคคลสิทธิ คือ สิทธิที่มีอยู่เหนือบุคคล เป็นสิทธิบังคับเอาแก่ตัวบุคคลเป็นหลักเพื่อให้บุคคลนั้นทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือส่งมอบทรัพย์สิน ดังนั้น บุคคลสิทธิจึงเป็นสิทธิที่วัตถุแห่งสิทธิเป็นการกระทำหรืองดเว้นการกระทำการ ซึ่งในกฎหมายลักษณะหนี้เรียกว่า สิทธิเรียกร้อง สิทธิเหล่านี้เป็นสิทธิที่จะบังคับเอากับลูกหนี้เท่านั้น จะบังคับเอาจากตัวทรัพย์มิได้บุคคลสิทธินี้ไม่อาจใช้ยันแก่บุคคลทั่วไป จะบังคับได้เฉพาะตัวลูกหนี้ ทายาทหรือผู้สืบสิทธิของลูกหนี้เท่านั้น เช่น นาย ก. ทำสัญญาเช่าบ้านนาย ข. แต่ไม่อาจเข้าอยู่ได้เพราะนาย ค. ยังอาศัยอยู่ ซึ่ง นาย ก. ต้องไปเรียกร้องในนาย ข. ผู้ให้เช่าส่งมอบบ้านที่เช่าให้ตนแต่จะไปบังคับนาย ค. ซึ่งเป็นบุคคลนอกสัญญาของตนไม่ได้
4.2) ทรัพยสิทธิ (REAL RIGHT)
ทรัพยสิทธิ คือ สิทธิที่มีวัตถุแห่งสิทธิเป็นทรัพย์สิน หรือสิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินโดยตรง เช่น กรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง ภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเก็บกิน สิทธิเหนือพื้นดิน ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ สิทธิจำนอง สิทธิจำนำ สิทธิยึดหน่วง ลิขสิทธิ์ สิทธิในเครื่องหมายการค้า เป็นต้น ทรัพยสิทธิย่อมใช้ยันได้แก่บุคคลทั่วไป เช่น เรามีกรรมสิทธิ์หนังสือ เราจะขีดเขียน ทำลายอย่างใดก็ได้ แม้หนังสือนั้นจะตกไปอยู่ที่ผู้ใด เราก็มีสิทธิติดตามเอาคือได้ทรัพย์สิทธจะก่อตั้งขึ้นได้ก็โดยอาศัยอำนาจของกฎหมายเท่านั้น
 
 
5. การได้มาซึ่งทรัพย์สิทธิ
5.1 การได้มาซึ่งทรัพย์สิทธิโดยทางนิติกรรม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรค 1 บัญญัติว่า "ภายในบังคับ แห่งบทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้ หรือกฎหมายอื่น ท่านว่าได้มาโดยนิติกรรมซึ่งอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหา ริมทรัพย์นั้นไม่สมบูรณ์เว้นแต่นิติกรรมจะได้ทำเป็นหนังสือและจำทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่"
การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางนิติกรรม มาตรา 1299 วรรค 1 นั้น ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นไม่สมบูรณ์ คำว่า "ไม่สมบูรณ์" นี้ต่างกับโมฆะหรือไม่สมบูรณ์ เพราะโมฆะหรือไม่สมบูรณ์นั้น หมายความว่า ไม่มีผลใดๆ ตามกฎหมายไม่มีอะไรเหลืออยู่ที่จะใช้บังคับกันได้ เช่น การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ตามมาตรา 456 การแลกเปลี่ยนตามมาตรา 519 ในกรณีแลกเปลี่ยนที่ดิน ถ้าไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ย่อมเป็นโมฆะ คือถือว่าไม่มี่สัญญาซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนต่อกัน ผู้ซื้อจะขอให้ผู้ขายโอนทรัพย์ให้มิได้ ผู้ขายจะเรียกร้องราคาก็มิได้ แต่คำว่า "ไม่บริบูรณ์" นั้น มีความหมายว่ายังไม่อาจถือหรือบังคับกันได้ตามทรัพย์สิทธินั้นๆเท่านั้น แต่การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้นหาเสียเปล่าไม่ ยังคงสมบูรณ์ มีผลบังคับใช้ระหว่างคู่สัญญาในฐานะเป็นบุคคลสิทธิได้ ถึงแม้จะใช้ยันต่อบุคคลภาย นอกในฐานะเป็นทรัพยสิทธิมิได้ก็ตาม เช่น
คำพิพากษาฎีกาที่ 367/2495 โจทก์และจำเลยตกลงกันตามคำเปรียบเทียบของคณะกรรมการอำเภอ ซึ่งมีความว่า "ให้จำเลยอยู่ในที่พิพาทเรื่อยไป แต่จะยกที่ดินให้ใครมิได้ ส่วนพืชผลก็อาศัยแบ่งกันเก็บกินไป" ดังนั้นย่อมแสดงให้เห็นว่าเจตนาของคู่ความว่าให้จำเลย มีสิทธิอาศัยอยู่ในที่พิพาทเรื่อยไปจนตลอดชีวิตนั้นเองและการยอมให้อาศัยเช่นนี้แม้มิได้จดทะเบียนก็ใช้ยันกันเองได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 760/2507 การที่โจทก์จำเลยตกลงให้โจทก์ออกทุนขยายทางพิพาทให้กว้างขึ้นเพื่อใช้ร่วมกัน แต่สัญญาข้อตกลงนี้มิได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 นั้น ย่อมไม่ทำให้โจทก์ได้ทรัพยสิทธิเป็นภาระจำยอม แต่การไม่จดทะเบียนดัง กล่าวมิได้ทำให้สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยนั้นเป็นโมฆะอย่างใดไม่ คือเป็นเพียงยังไม่บริบูรณ์เท่านั้นโดยเหตุนี้ สัญญาระหว่างโจทก์จเลยจึงมีผลก่อให้เกิดบุคคล สิทธิเรียกร้องบังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญา ฉะนั้น โดยอาศัยสัญญาดังกล่าว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง จำเลยมิให้ขัดขวางในวันที่โจทก์จะใช้ทาง พิพาทตามข้อตกลงในสัญญาได้
การได้มาโดยนิติกรรมบางอย่าง ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ เช่น การซื้อขายตามาตรา 456 การขายฝากตามมาตรา 491 การจำนองตามมาตรา 714 กฎหมายบัญญัติว่า ถ้าไม่ทำ เป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมเป็นโมฆะฉะนั้น การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ในกรณีดังกล่าว ถ้าไม่ทำตามแบบกฎหมายที่กฎหมายบังคับ ไว้ก็เป็นโมฆะทีเดียวจะอ้างว่าไม่บริบูรณ์ตามมาตรา 1299 มิได้ เพราะมาตรา 1299 เป็นเพียงบทบัญญัติทั่วไปต้องตกอยู่ภายใต้บังคับแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อื่นๆ ด้วย
5.2 การได้มาซึ่งทรัพยสิทธิโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรค 2 บัญญัติว่า "ถ้ามีผู้ได้มา ซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม สิทธิของผู้ได้มานั้นถ้ายังมิได้จดทะเบียนไซร้ ท่านว่าจะเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนไม่ได้ และสิทธิอันยังมิได้จดทะเบียนนั้น ให้ยกเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอก ผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนโดยสุจริตแล้ว"
การได้มาโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมนี้ ได้แก่การได้มาในอสังหาริมทรัพย์หรือ ทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอัสังหาริมทรัพย์โดยการครอบครองปรปักษ์ ตามมาตรา 1382 การได้มาโดยการับมรดกไม่ว่าโดยฐานะทายาทโดยธรรมหรือการรับพินัยกรรม การได้มาโดยคำพิพากษา การได้มาตามบทบัญญัติ มาตรา 1308 ถึง มาตรา 1315, 1401 เป็นต้น
 
 
6.ประเภทของทรัพย์สิทธิ
     
ประเภทของทรัพยสิทธิสามารถพิจารณาได้ดังนี้
6.1 กรรมสิทธิ์
6.2 สิทธิครอบครอง
6.3 ภาระจำยอม
6.4 สิทธิอาศัย
6.5 สิทธิเหนือพื้นดิน
6.6 สิทธิเก็บกิน
6.7 ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
 
 6.1 กรรมสิทธิ์ 
กรรมสิทธิ์ หมายความถึงทรัพยสิทธิชนิดหนึ่งที่แสดงถึงสิทธิแห่งความเป็น เจ้าของในทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่งทุกชนิดไม่ว่าสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์ ซึ่งต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย กรรมสิทธิ์มีลักษณะเด็ดขาดถาวรกล่าวคือ ใครมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์อันใดก็ย่อมมีสิทธินั้นอยู่ตลอดไป แม้เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นจะตายไป ทรัพย์สินของเขาก็คงตกได้แก่ทายาทของเขา
6.1.1 กรรมสิทธิ์หรือสิทธิแห่งความเป็นเจ้าของทรัพย์นั้นตามมาตรา 1336 มีสิทธิ์ดังนี้
6.1.1.1 สิทธิใช้สอยทรัพย์สิน เมื่อบุคคลใดเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิ่งใด บุคคลนั้นก็ย่อมมีอำนาจที่จะใช้สอบทรัพย์สินนั้นได้อย่างเต็มที่ แต่มีข้อยกเว้นอยู่ว่า จะต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมายด้วย เช่น เรามีวิทยุเรามีสิทธิเปิดฟังได้ทุกเวลา แต่การเปิดดังนี้ต้องไม่เปิดดังเป็นที่รบกวนของชาวบ้าน เพราะมีกฎหมายบัญญัติห้าม ใช้สิทธิเกินขอบเขตจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นเดือดร้อน
6.1.1.2 สิทธิจำหน่ายทรัพย์สิน การจำหน่ายหมายความถึงการซื้อ ขายแลกเปลียนในกรรมสิทธิ์และยังหมายถึงการทำลายทรัพย์สินนั้นได้ด้วย แต่ก็ยังคงอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายด้วย เช่น เรามีรถยนต์คันหนึ่ง เราจะรื้อออก เป็นชิ้นๆหรือจะเผาทิ้งเสียก็ทำได้ แต่เวลาเผาก็ต้องไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคลอื่น
6.1.1.3 สิทธิติดตามเอาทรัพย์สินนั้นคืนจากผู้ที่ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ เช่น รถยนต์หายไป เราไปพบที่บ้านผู้อื่น เราจะเข้าไปเอาคืนโดยพลการไม่ได้ต้องแจ้งให้ตำรวจจัดการ
6.1.1.4 สิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เช่น เราเป็นเจ้าของที่ดินมีโฉนดแปลงหนึ่ง ถ้ามีผู้บุกรุกเข้ามาในที่ดินของเรา เราก็มีสิทธิห้ามเขาไม่ให้เข้ามาได้
6.1.2 การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์
การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ มี 2 กรณี คือ การได้มาโดยทางนิติกรรม และการได้มาโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม
6.1.2.1 การได้มาโดยทางนิติกรรม
เช่น การซื้อขาย การแลกเปลี่ยน การให้ เป็นต้น
6.1.2.2 การได้มาโดยผลของกฎหมาย ได้แก่
1) การได้กรรมสิทธิ์โดยหลักส่วนควบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1308-1317
(1) ส่วนควบโดยธรรมชาติ กรณีที่งอกริมตลิ่งมาตรา 1308 บัญญัติว่า "ที่ดินแปลงใดเกิดที่งอกริมตลิ่งที่งอกย่อมเป็นทรัพย์สิน ของเจ้าของที่ดินแปลงนั้น"
ที่งอกริมตลิ่ง หมายความถึง ที่ดินซึ่งตามปกติน้ำท่วมไม่ถึง กล่าวคือ เดิมเป็นที่ชายตลิ่งที่น้ำท่วมถึง ต่อมาได้งอกเงยขึ้นจนน้ำท่วมไม่ถึง อาจจะงอกขึ้นโดยกระแสน้ำได้พัดพาเอากรวดหินดินทรายเข้ามาทับถมจนที่ชาย ตลิ่งนั้นสูงขึ้นจนกลายเป็นที่งอกริมตลิ่ง หรืออาจจะกล่าวได้ว่า ที่งอก ริมตลิ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติในลักษณะค่อยๆ งอกเพิ่มขึ้นจากฝั่งออกไป มิใช่งอกจากท้องน้ำเข้ามาหาตลิ่ง และที่งอกริมตลิ่งดังกล่าวนี้ อาจจะเป็นที่งอกริมตลิ่งของทะเล แม่น้ำ หรือลำคลองก็ได้
ที่งอกริมตลิ่ง ถือว่าตกเป็นทรัพย์สินของเจ้าของที่ดินแปลง นั้นโดยต้องเป็นที่งอกติดต่อเป็นแปลงเดียวกันกับที่ดินโดยไม่มีอะไรมาคั่น เช่น ถนนหรือลำรางน้ำฝน
2) ส่วนควบโดยการปลูกสร้าง ได้แก่ กรณีต่อไปนี้คือ
ก) การสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต มาตรา 1310 วรรคแรก บัญญัติว่า "บุคคลใดสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของโรงเรือนนั้นๆ แต่ต้องใช้ค่าแห่งที่ดินเพียงที่เพิ่มขึ้นเพราะ สร้างโรงเรือนนั้นให้แก่ผู้สร้าง" หมายความว่าเป็นการสร้างโดยเข้าใจ ผิดที่ดินแปลงนั้นเป็นที่ดินของตน จึงเป็นการเชื่อโดยสุจริตคิดว่าตนเองมีสิทธิที่จะปลูกสร้างได้ เช่น เชื่อว่ามีสิทธิตามสัญญาเช่า
ดังนี้กฎหมายจะบังคับให้เจ้าของที่ดินนั้นยอมรับเป็นเจ้าของโรงเรือนนั้น ส่วนผู้ปลูกสร้างมีสิทธิได้รับค่าแห่งที่ดินที่เพิ่มขึ้นเพราะสร้างโรงเรือนนั้น ตามมาตรา 1310
ข) การสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยไม่สุจริต มาตรา 1311 บัญญัติว่า "บุคคลใดสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยไม่สุจริตไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นต้องทำที่ดินให้เป็นตามเดิมแล้วส่งคืนเจ้าของ เว้นแต่เจ้า ของจะเลือกให้ส่งคืนตามที่เป็นอยู่ ในกรณีเช่นนี้เจ้าของที่ดินต้องใช้ราคาโรงเรือนหรือใช้ค่าแห่งที่ดินที่เพิ่มขึ้น เพราะสร้างโรงเรือนนั้นแล้วแต่จะเลือก"
คำว่า "ไม่สุจริต" นั้น หมายความว่ารู้อยู่แล้วว่าที่ดินนั้น ก.ไม่ใช่เจ้าของหรือเป็นผู้มีสิทธิอื่นใดที่จะปลูกสร้างได้ เช่นนายมั่นเช่าที่ดินของนายแม้นเพื่อทำสวน แต่นายมั่นกลับปลูกสร้างโรงเรือนขึ้นบนที่ดินนั้นกรณี เช่นนี้ ย่อมถือได้ว่ายาย มั่นปลูกสร้างโรงเรือนโดยไม่สุจริต
ผลแห่งบทบัญญัติ มาตรา 1311 นี้ ให้สิทธิแก่เจ้าของที่ดิน จะเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ คือ
(1) เจ้าของที่ดินจะให้เจ้าของโรงเรือนรื้อถอนออก ไปในกรณีที่เจ้าขอที่ดินไม่ต้องการโรงเรือนนั้น หรือ
(2) หากเจ้าของที่ดินอยากได้โรงเรือนนั้นก็กระทำได้ แต่ต้องใช้ ราคาโรงเรือนหรือให้ค่าแห่งที่ดินเพียงที่เพิ่มขึ้นเพราะสร้างโรงเรือนนั้น แล้วแต่จะเลือก
ค) การสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต มาตรา 1312 วรรคแรก บัญญัติว่า "บุคคลใดสร้างโรงเรือนรุกล้ำ เข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นเป็นเจ้าของโรงเรือนที่สร้างขึ้น แต่ต้องเสียเงินให้แก่เจ้าของที่ดินเป็นค่า ใช้จ่ายนั้นและจดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอม ต่อมาภายหลังถ้าโรงเรือนนั้นสลายไปทั้งหมด เจ้าของที่ดินจะเรียกให้เพิกถอนการจะทะเบียนเสียก็ได้"
ผลแห่งบทบัญญัติ มาตรา 1312 นี้อาจแยกพิจารณาออกเป็น
(ก) สิทธิของผู้ปลูกโรงเรือนรุกล้ำ กล่าวคือ ได้เป็นเจ้าของโรงเรือนที่สร้างขึ้น หมายถึงส่วนที่รุกล้ำนั้นและได้สิทธิในการจดทะเบียนภารจำยอมโดยกฎหมายบังคับให้ เจ้าของที่ดินที่ถูกโรงเรือนรุกล้ำนั้นต้องยินยอมไปจดทะเบียนภารจำยอมให้ ส่วนสิทธิของเจ้าของที่ดินที่ถูกรุกล้ำ คือ เจ้าของที่ดินถูกรุกล้ำมีสิทธิที่จะเรียกให้เจ้าของ โรงเรือนนั้นชดใช้เงินค่าใช้ที่ดินให้แก่ตนได้
(ข) หน้าที่ของเจ้าของโรงเรือน ต้องชดใช้เงินค่าใช้ที่ดินโดยจะชด ใช้เป็นครั้งเดียวหรือเป็นคราวๆ เช่น เป็นปี เป็นเดือนก็ได้ สุดแท้แต่จะตกลงกัน เทียบได้กับค่าเช่าที่ดิน ซึ่งอาจจะชดใช้เหมาจ่ายไปเลย หรือใช้กันเป็นงวดๆ เหมือนค่าเช่าก็ได้
(ค) ส่วนหน้าที่ของเจ้าของที่ดิน เจ้าของที่ดินมีหน้าที่ต้องยอมจด ทะเบียนภารจำยอมในที่ดินส่วนที่รุกล้ำนั้นให้แก่เจ้าของโรงเรือน
อนึ่ง หากต่อมาภายหลัง ปรากฎว่าโรงเรือนนั้นสลายไปทั้งหมด เจ้าของที่ดินจะเรียกให้เพิกถอนการจดทะเบียนเสียก็ได้นั้น หมายความรวมถึง ส่วนของโรงเรือนที่รุกล้ำนั้นสลายไปทั้งหมดด้วย เจ้าของที่ดินที่ถูกรุกล้ำก็มีสิทธิ ขอเพิกถอนการจดทะเบียนเสียได้
มาตรา 1312 วรรคสองบัญญัติว่า "ถ้าบุคคลผู้สร้างโรงเรือน นั้นกระทำการโดยไม่สุจริต ท่านว่าเจ้าของที่ดินจะเรียกให้ผู้สร้างรื้อถอนไป และทำที่ดินให้เป็นตามเดิม โดยผู้สร้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายก็ได้"
มาตรา 1312 วรรคสองนี้ เป็นการสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้า ไปในที่ดินของผู้อื่นโดยไม่สุจริต ซึ่งมีผลทำให้เจ้าของที่ดินที่ถูกรุกล้ำมีสิทธิ
(1) จะรียกให้ผู้สร้างรื้อถอนออกไป และ
(2) ให้ผู้สร้างทำที่ดินให้เป็นตามเดิม โดยผู้สร้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเอง
(ง) การสร้างสิ่งอื่น ปลูกต้นไม้หรือธัญชาติในที่ดินของผู้อื่น มาตรา 1314 บัญญัติว่า "ท่านให้ใช้บทบัญญัติ มาตรา 1310, 1311 และ 1313 บังคับตลอดถึงการก่อสร้างใดๆ ซึ่งติดที่ดิน และการเพาะปลูกต้นไม้ หรือธัญชาติด้วยโดยอนุโลม
แต่ข้าวหรือธัญชาติอย่างอื่นอันจะเก็บเกี่ยวรวงผลได้คราว หนึ่งหรือหลายคราวต่อปี เจ้าของที่ดินต้องยอมให้บุคคลผู้กระทำการโดยสุจริตหรือ ผู้เป็นเจ้าของที่ดิน โดยมีเงื่อนไขซึ่งได้เพาะปลูกลงไว้นั้น ครอบครองที่ดินจนกว่าจะเสร็จการเก็บเกี่ยว โดยใช้เงินคำนาณตามเกณฑ์ค่าเช่าที่ดินนั้น หรือเจ้าของที่ดินจะเข้าครอบครองในทันทีโดยใช้ค่าทดแทนให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งก็ได้"
"การก่อสร้างใดๆ ซึ่งติดที่ดิน" หมายความถึง การก่อสร้างสิ่งอื่นใดนอกเหนือจากากรปลูกสร้างโรงเรือน เช่น การก่อสร้างหอนาฬิกา อนุสาวรีย์ สะพาน หรือฮวงซุ้ย เป็นต้น ข้อสำคัญต้องเป็น การสร้างติดกับที่ดินใน ลักษณะที่เป็นส่วนควบกับที่ดิน ตามมาตรา 107 และสิ่งก่อสร้างใดๆ ดังกล่าวนี้หมายถึงอสังหาริมทรัพย์ ตามมาตรา 100
การเพาะปลูกต้นไม้หรือธัญชาติ หมายความรวมถึง ไม้ยืนต้นและไม้ล้มลุก รวมทั้งธัญชาติก็ย่อมนำมาตรา 1310, 1311, 1313 มาใช้บังคับได้
มาตรา 1314 วรรค 2 บัญญัติให้เจ้าของที่ดินสิทธิจะเลือกได้ 2 ทาง คือ ยอมให้ผู้ที่เข้ามาเพาะปลูกโดยสุจริต หรือผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดินโดยมีเงื่อน ไขครอบครองที่ดินต่อไปจนกว่าจะเก็บเกี่ยวให้แล้วเสร็จ แต่ต้องให้เงินแก่เจ้าของ ที่ดินนั้นในลักษณะของเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินให้แก่เจ้าของที่ดิน หรือเจ้าของที่ดินจะเข้าครอบครองที่ดินนั้นทันที แต่ต้องชดใช้ค่าทดแทนให้แก่ผู้เพาะ ปลูกโดยสุจริตหรือผู้เป็นเจ้าของที่ดินโดยมีเงื่อนไขนั้น
(จ) การสร้างสิ่งปลูกสร้าง ต้นไม้หรือธัญชาติในที่ดินของตนเอง ด้วยสัมภาระของผู้อื่น มาตรา 1315 บัญญัติว่า "บุคคลใดสร้างโรงเรือนหรือทำ การก่อสร้างอย่างอื่นซึ่งติดที่ดิน หรือเพาะปลูกต้นไม้หรือธัญชาติในที่ดินของตนด้วยสัมภาระของผู้อื่น ท่านว่าบุคคลนั้นเป็นเจ้าของสัมภาระ แต่ต้องใช้ค่าสัมภาระ" มาตรา 1315 นี้ เป็นกรณีเกี่ยงกับการนำเอาสัมภาระ ของผู้อื่นมาปลูกสร้างในที่ดินของตนเอง เช่น เอาอิฐ ทราย ไม้ หิน ตะปู ซึ่งประกอบเป็นตัวโรงเรือน หรือนำเมล็ดพันธุ์รวมทั้งกิ่งตอน กิ่งชำ นำมาเพาะปลูกลงบนที่ดิน
ผลของ มาตรา 1315 มีสาระสำคัญ คือบุคคลที่เป็นเจ้าของ ที่ดินได้เป็นเจ้าของสัมภาระ แต่ต้องใช้ค่าสัมภาระนั้น อันหมายถึงค่าสิ่งของที่เอามาสร้างหรือเพาะปลูก โดยถือเกณฑ์แห่งราคาสิ่งของในขณะที่นำสัมภาระนั้นมาเป็นหลัก
ฉ) การเอาสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นมารวมเป็นส่วนควบ มาตร 1316 บัญญัติว่า "ถ้าเอาสังหาริมทรัพย์ของบึคคลหลายคนมารวมเข้ากัน จนเป็นส่วนควบหรือแบ่งแยกไม่ได้ไซร้ ท่านว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นเจ้าของรวมแห่งทรัพย์ที่รวมเข้ากัน แต่ละคนมีส่วนตาม ค่าแห่งทรัพย์ของตนในเวลาที่รวมเข้ากับทรัพย์อื่น
ถ้าทรัพย์อันหนึ่งอาจถือได้ว่าเป็นทรัพย์ประธานไซร้ ท่านว่า เจ้าของทรัพย์นั้นเป็นเจ้าของทรัพย์ที่รวมเข้ากันแต่ผู้เดียว แต่ต้องใช้ค่าแห่งทรัพย์อื่นๆ ให้แกเจ้าของทรัพย์นั้นๆ"
มาตรา 1316 เป็นบทบัญญัติเฉพาะสังหาริมทรัพย์เท่านั้น เพื่อกำหนดว่าใครจะเป็นเจ้าของสังหาริมทรัพย์ที่รวมกันเข้าจนเป็นส่วนควบ
มาตรา 1316 วรรคแรก เป็นกรณีที่สังหาริมทรัพย์ที่รวมกันเข้านั้น ไม่มีทรัพย์ใดเป็นประธาน ซึ่งทรัพย์ส่วนใดจะเป็นทรัพย์ประธานได้ต้องถือเอาทรัพย์ที่มี ลักษณะเป็นส่วนสำคัญที่สุดในความเป็นอยู่ของทรัพย์ที่รวมกันนั้นด้วย เช่น แหวนมุกนั้น ทรัพย์ใดเป็นประธาน กรณีนี้ถือว่ามุกมีราคาสูบกว่าและสำคัญกว่าตัวเรือน แต่ถ้ามุกมาแกะสลักลงบนสิ่งของต่างๆ เช่นที่เขี่ยบุหรี่ ก็ย่อมไม่ถือว่ามุกเป็นทรัพย์ประธาน ฉะนั้นทรัพย์ประธานนั้นย่อมขึ้อยู่กับข้อเท็จจริงเป็นเรื่องๆไปกล่าวคือ ในบางกรณีก็ยึดถือคุณค่าหรือราคาของทรัพย์นั้นเป็นเกณฑ์สำคัญ แต่ในบางกรณีก็ต้อง คำนึงถึงสภาพของทรัพย์เป็นสาระสำคัญ
1) การรวมสภาพของทรัพย์ อาจจะรวมผสมกลมกลืนกันกลายเป็น สิ่งใหม่ขึ้มาจนไม่สามารถหาร่องรอยอสังหาริมทรัพย์เดิมได้ ฉะนั้น มาตรา 1316 วรรคแรก จึงบัญญัติให้เจ้าของทรัพย์ทุกคนที่นำทรัพย์มารวมกันเป็นเจ้า ของรวมแห่งทรัพย์ที่นำมารวมกันเป็นส่วนควบหรือทรัพย์ซึ่งแบ่งแยกไม่ได้นั้นและแต่ละคนมี ส่วนตามค่าแห่งทรัพย์ของตนในเวลาที่รวมเข้ากับทรัพย์อื่น เพราะไม่สามารถทราบ ได้ว่าทรัพย์ส่วนไหนเป็นทรัพย์ประธาน
ส่วนมาตรา 1316 วรรคสอง เป็นกรณีที่อาจถือหรือทราบได้ว่าทรัพย์ใด เป็นทรัพย์ประธานโดยให้เจ้าของทรัพย์ประธรานเป็นเจ้าของทรัพย์ที่รวมกันเข้าแต่ผู้เดียว แต่ต้องใช้ค่าแห่งทรัพย์อื่นๆ ให้แก่เจ้าของทรัพย์นั้นๆ เช่น นายเอกเป็นเจ้าของล้อรถจักรยาน นายโทเป็นเจ้าของตัวรถจักรยาน ย่อมถือว่านายโทเป็นเจ้าของรถจักรยานและรวมทั้งล้อรถจักรยานด้วย แต่ต้องชดให้ราคาล้อรถจักรยานให้กับนายเอก
2) การได้มาโดยเข้าถือเอาซึ่งสังหาริมทรัพย์ไม่มีเจ้าของตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1318-1322
เป็นกรณีที่สังหาริมทรัพย์นั้นอาจเคยมีเจ้าของมาก่อนแต่เจ้า ของเลิกครอบครองโดยมีเจตนาสละกรรมสิทธิ์ เช่น การที่เจ้าของสนัขนำสุนัขไปปล่อย เป็นต้น โดยการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในสังหาริม ทรัพย์ที่ไม่มีเจ้าของเช่นนี้สามารถกระทำโดยการเข้ายึดถือหรือแสดงการหวงแหนด้วย เจตนาจะเอาเป็นของตน
นอกจากนี้ สัตว์ป่าในที่รกร้างว่างเปล่าหรือในที่น้ำสาธารณะหรือที่ดินที่น้ำของผู้อื่น แต่เจ้าของมิได้หวงแหน ย่อมเป็นสัตว์ไม่มีเจ้าของผู้ใดจับได้จึงเป็นการเข้าถือเอา และถือเป็นเจ้าของสัตว์นั้น แต่ต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายหรือข้อบังคับอื่นๆ ด้วย อย่างไรก็ตามการที่บุคคลทำ ให้สัตว์ป่าที่ไม่มีเจ้าของบาดเจ็บแล้วติดตามไปย่อมถือเป็นการเข้าถือสัตว์ที่ไม่มีเจ้าของได้
3) การได้มาซึ่งของตกหาย ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดและ สังหาริมทรัพย์มีค่าซึ่งซ่อนหรือฝังไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1323-1328
1) การได้มาซึ่งของตกหาย
(1) ส่งมอบทรัพย์สินนั้นแก่ผู้ทำของหายหรือเจ้าของ หรือผู้มีสิทธิจะรับทรัพย์สินนั้นโดยมิชักช้า หรือ
(2) แจ้งแก่บุคคลดังกล่าวในข้อ (1) โดยไม่ชักช้า
(3) ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้ตำรวจหรือเจ้าหน้าที่อื่นภายใน 3 วัน และแจ้งพฤติการณ์ตามที่ทราบ อันอาจเป็นเครื่องช่วนในการสืบหาตัวบุคคล ผู้มีสิทธิจะรับทรัพย์สินนั้น
สิทธิเรียกร้องเอารางวัลของผู้เก็บของได้ เมื่อได้ ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ผู้เก็บได้อาจเรียกเอารางวัลจากบุคคลผู้มีสิทธิจะรับทรัพย์สินนั้นเป็นจำนวนร้อยละ 10 แห่งค่าทรัพย์สินภายในราคาพันบาท และถ้าราคาสูงกว่านั้นขึ้นไปให้คิดให้อีกร้อยละ 5 ในจำนวนที่เพิ่มขึ้น
ถ้าผู้เก็บได้ส่งมอบทรัพย์สินแก่ตำรวจหรือพนักงาน เจ้าหน้าที่อื่นนอกจากจะต้องให้รางวัลผู้เก็บได้ตามอัตราดังกล่าวแล้วเจ้าของทรัพย์สิน ยังจะต้องเสียค่าธรรมเนียมอีกร้อยละ 2.5 ให้แก่กรมตำรวจหรือทบวงการอื่นๆ อีกด้วย แต่ค่าธรรมเนียมจำนวนนี้ ท่านจำกัดไว้ไม่ให้เกินร้อยบาทตามมาตรา 1324
ถ้าผู้เก็บได้ซึ่งทรัพย์สินหายได้ปฏิบัติตามกฎหมายแล้ว และผู้มีสิทธิจะรับทรัพย์สินนั้นมิได้เรียกเอาภายใน 1 ปีนับแต่วันที่เก็บได้ไซร้ ท่านว่ากรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินนั้นตกแก่แผ่นดิน แต่ผู้เก็บได้มีสิทธิจะได้รับรางวัลร้อยละ 10 แห่งค่าของทรัพย์สินนั้นตามมาตรา 1325
สำหรับสังหาริมทรัพย์อันมีค่าซึ่งซ่อนหรือฝังไว้ถ้ามีผู้เก็บได้โดย พฤติการณ์ซึงไม่มีผู้ใดสามารถอ้างว่าเป็นเจ้าของได้ ท่านว่ากรรมสิทธิ์ตกเป็นของแผ่นดิน ผู้เก็บได้ต้องส่งมอบทรัพย์นั้นแก่ตำรวจหรือเจ้าหน้าที่อื่นแล้ว มีสิทธิได้รับรางวัล 1 ใน 3 แห่งค่าทรัพย์นั้นตาม มาตรา 1328
นอกจากนี้ หากเป็นทรัพย์ที่ตกหรือทิ้งทะเล หรือทางน้ำ หรือน้ำซัดขึ้นฝั่งนั้น จะเป็นกรณีทรัพย์สินหายหรือไม่ก็ตาม อาจเป็นการทิ้งโดยจงใจ หรือทรัพย์สินพลัดตกไปโดยไม่รู้ แต่จะต้องมิใช่การที่สละกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น ซึ่งต้องบังคับตามกฎหมายที่บัญญัติไว้ในเรื่องนั้นๆ เช่น พรบ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย พศ.2456 มาตรา 128 และมาตรา 129
ในกรณีที่เป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดทรัพย์ที่ได้มา โดยกรกระทำความผิดหรือทรัพย์ที่เกี่ยวกับการกระทำผิดซึ่งถูกพนักงานเจ้าหน้าที่ยึด หรือเรียกให้ส่งมาโดยชอบด้วยกฎหมาย และเก็บรักษาไว้ในกรมของรัฐบาล ซึ่งกรณีนี้อาจจะ ไม่มีการฟ้องคดีหรือมีการฟ้องคดีแล้ว แต่ศาลมิได้พิพากษาให้ริบหรือได้มีคำสั่งให้คืนเจ้าของแล้ว หากเจ้าของไม่เรียกคืนเสียภายใน 1 ปี นับแต่วันส่งหรือวันที่ศาลมี่คำพิพากษาถึงที่สุดแล้วแต่กรณี หากเป็นกรณีทีไม่ทราบตัวเจ้าของกฎหมายให้รอไว้ 5 ปี จึงตกเป็นกรรมสิทธิของแผ่นดิน แต่หากเป็นทรัพย์สินที่เสียง่ายหรือการเก็บรักษาจะไม่คุ้มกับตัวทรัพย์ กรมที่เก็บทรัพย์นั้นอาจขายทอดตลาดทรัพย์นั้นแล้วเก็บเงินที่ขายได้ไว้จนกว่าจะครบ 1 ปี ในกรณีทราบตัวเจ้าของหรือในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด หรือ 5 ปี ในกรณีไม่ทราบตัวเจ้าของ ตามาตรา 1327
4) การได้มาซึ่งทรัพย์สินโดยสุจริตในพฤติ การณ์พิเศษ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1329-1332
มีหลักสำคัญในกฎหมายลักษณะทรัพย์อยู่เรื่องหนึ่งว่า "ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน" ซึ่งมีความหมายว่า ถ้าผู้โอนกรรมสิทธิ์ไม่อยู่ในฐานะจะโอนได้แล้ว ผู้รับโอนย่อมไม่มีทางได้กรรมสิทธิ์นั้นไป เช่น นายดำลักแหวนเพชรของนายขาวไปขายให้นายเหลือง เมื่อปรากฎว่านายเหลืองไม่มีสิทธิที่จะขายหรือโอนแหวนเพชรนั้น นายเหลืองย่อมไม่มีทางได้กรรมสิทธิ์ไป อย่างไรก็ตาม หลักกฎหมายดังกล่าวมีข้อยกเว้นว่า ในบางกรณีแม้ผู้โดนจะไม่มีสิทธิโอน แต่ผู้รับโอนก็ได้รับความคุ้มครอง กรณีดังกล่าวมีดังนี้
(1) ได้มาเพราะนิติกรรมอันเป็นโมฆียะ
มาตรา 1329 บัญญัติว่า "สิทธิของบุคคลผู้ได้มาซึ่งทรัพย์สิน โดยมีค่าตอบแทนและโดยสุจริตนั้นย่อมมิเสียไป ถึงแม้ว่าผู้โอนทรัพย์สินจะ ได้ทรัพย์สินนั้นมาโดยนิติกรรมอันเป็นโมฆียะ และนิติกรรมนั้นได้ถูกบอกล้างภายหลัง"
เช่นนายแดงผู้เยาว์ขายรถจักรยานยนต์ให้นาย ดำโดย ไม่ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม นิติกรรมนี้ตกเป็นโมฆียะ ซึ่งอาจถูกบอกล้างในภายหลังได้ ต่อมานายดำ ได้ขายรถจักร ยายนต์คันนั้นให้แก่นายขาว ถ้านายขาว ไม่รู้ว่านายดำ ได้จักรยานยนต์นั้นมาโดยนิติกรรมที่เป็นโมฆียะ ก็ถือว่านายขาวได้จักรยานยนต์นั้นมาโดยมีค่าตอบแทนและโดยสุจริต หากต่อมาผู้แทน โดยชอบธรรมของผู้เยาว์บอกล้างนิติกรรมครั้งแรก ระหว่างนายแดงผู้เยาว์กับนายดำ ถือว่านิติกรรมระหว่างผู้เยาว์และนายดำนั้นตกเป็นโมฆะ แต่ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์จะเรียกรถจักรยานยนต์คันนั้นคืนจากนายขาวมิได้ เพราะนายขาวสามารถกล่าวอ้างตาม มาตรา 1329 ได้ว่าตนได้ทรัพย์นั้นมาโดยมีค่าตอบแทนและโดยสุจริต
(2) ได้มาเพราะซื้อทรัพย์สินโดยสุจริต
ก) ซื้อทรัพย์สินโดยสุจริตจากการขายทอดตลาดตาม คำสั่ง ศาลหรือคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ตาม มาตรา 1330 แม้ภายหลังจะปรากฎว่าทรัพย์นั้นไม่ใช่ของจำเลยหรือลูกหนี้ตาม คำพิพากษาหรือผู้ล้มละลายก็ตามสิทธิของผู้ซื้อโดยสุจริตมิเสียไป กล่าวคือ ผู้ซื้อได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นเด็ดขาดเจ้าของจะเรียกคืนมิได้เพราะ การขายทอดตลาดโดยคำสั่งศาลหรือคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายนั้น ศาลหรือเจ้าพนักงานได้ไต่สวนดูอย่างรอบคอบแล้วว่าทรัพย์ที่จะสั่งขายนั้นเป็น ของจำเลยโดยแท้จริงแล้ว และการขายทอดตลาดโดยคำสั่งศาลหรือ คำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลานนั้น เป็นวิธีการเปิดเผยที่จะให้โอกาสบุคคลภายนอกโต้แย้งคัดค้านได้ถ้าทรัพย์สินนั้นไม่ใช่ของจำเลย
การซื้อโดยสุจริตนี้ จะต้องเป็นไปโดยสุจริตก่อน จะซื้อหรือขณะซื้อทรัพย์สินนั้น แม้ภายหลังจะรู้ว่าทรัพย์สินนั้นมิใช่ของจำเลยตามคำพิพากษา หรือมิใช่ของบุคคลล้มละลาย ในกรณีที่ขายทอดตลาดตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายก็ตาม ก็ถือว่าผู้ซื้อได้ซื้อทรัพย์สินนั้นโดยสุจริตตามหลักของมาตรา 1330 แล้ว
ข) ได้เงินตรามาโดยสุจริต มาตรา 1331 บัญญัติว่า "สิทธิของบุคคลผู้ได้เงินตรามาโดยสุจริตนั้น ท่านว่ามิเสียไป ถึงแม้ภายหลังจะ พิสูจน์ได้ว่าเงินนั้นมิใช่ของบุคคลซึ่งได้โอนให้มา"
คำว่า "เงินตรา" หมายความถึง สิ่งที่กฎหมายบัญญัติ รับรองให้เป็นสิ่งที่ชำระหนี้กันได้ตามกฎหมาย เช่น ธนบัตร เหรียญห้าบาทเหรียญบาท เหรียญสลึง สตางค์
เงินตราตามมาตรา 1331 นี้ หมายถึงเงินตราของไทย เท่านั้นไม่ใช่เงินตราต่างประเทศ เพราะเงินตราต่างประเทศไม่สามรถเป็นสิ่งชำระหนี้ได้ตามกฎหมายไทย
สิทธิของผู้ได้เงินตรามาที่จะกล่าวอ้างตามมาตรา 1331 ได้นั้น จะต้องได้เงินตรามาโดยสุจริต ความสุจริตนั้นหมายถึงว่า ก่อนที่จะรับโอนหรือขณะที่รับโอนหรือแม้จะรับโอนในภายหลังก็ตาม ก็ยังถือว่า อยู่ในฐานะที่สุจริตตามมาตรา 1331 และผู้รับโอนคนต่อๆมากี่ทอดๆ แม้จะรู้หรือไม่รู้ถึงว่าเงินนั้นไม่ใช่เงินของผู้โอนครั้งแรกก็ตาม ก็ถือว่าย่อมได้สิทธิเพราะได้รับโอนจากผู้มีสิทธิโอนให้โดยชอบแล้ว
ค) ซื้อทรัพย์สินโดยสุจริตจากากรขายทอด ตลาด หรือในท้องตลอดหรือจากพ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้น มาตรา 1322 บัญญัติว่า "บุคคลผู้ซื้อทรัพย์สินมาโดยสุจริตในการขายทอดตลาด หรือในท้องตลาด หรือจากพ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้น ไม่จำต้องคืนให้แก่เจ้าของแท้จริง เว้นแต่เจ้าของจะชดใช้ราคาที่ซื้อมา"
ผู้ซื้อทรัพย์สินโดยสุจริต หมายถึง ไม่รู้ว่าทรัพย์สินนั้น ไม่ใช่ของผู้ที่ขายให้หรือผู้ขายให้ไม่มีสิทธิที่จะนำมาขายให้คนอื่นๆ เช่นทรัพย์ที่ถูกขโมยหรือถูกยักยอกมาขายให้คนอื่น
มาตรา 1332 นี้ มิได้ให้สิทธิแก่ผู้ซื้อที่จะได้สิทธิไปเลย ทีเดียวเพียงแต่กำหนดให้ผู้ซื้อไม่จำต้องคืนแก่เจ้าของที่แท้จริง เว้นแต่เจ้าของ จะชดใช้ราคาที่ซื้อมาเท่านั้น ดังนั้น สิทธิที่ผู้ซื้อจะพึงมีพึงได้นั้น คือสิทธิที่จะยึดทรัพย์สินที่ซื้อมาเท่านั้น ไม่มีกรรมสิทธิ์ใดๆ ถ้าเจ้าของทรัพย์สินยอมชด ใช้ราคาที่ซื้อมาก็จำต้องคืนเพราะมาตรา 1322 บัญญัติบังคับให้ต้องคืนแก่เจ้าของ
5) การได้มาโดยอายุความ ตามประมวล กฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 1333
เป็นการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่มีผู้ครอง กรรมสิทธิ์อยู่แล้ว โดยการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ โดยอายุความนี้เป็นกรณีตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 1382 ถึงมาตรา 1386 คือการครอบครองปรปักษ์
การครอบครองปรปักษ์ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 บัญญัติว่า "บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้ โดยความสงบและ โดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติด ต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาห้าปีไซร้ ท่านว่าบุคคล นั้นได้กรรมสิทธิ์"
ตามมาตรานี้เป็นการได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ของผู้อื่นโดยการครอบครองที่กฎหมาย เรียกว่า การครอบครองปรปักษ์ อย่างไรโดยการที่จะอ้างว่าได้กรรมสิทธิ์นั้น จะต้อง ปรากฎว่าเป็นทรัพย์สินที่มีเจ้าของซึ่งเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ ถ้าทรัพย์สินนั้น เจ้าของมีเพียงสิทธิครอบครอง เช่น ที่ดิน นั้นยังไม่แบ่งโฉนดมีเพียงสิทธิครองครองซึ่งเรียกว่าที่ดินมือเปล่า แม้จะมีการครอบครองเป็นเวลานานเท่าใดก็ตาม ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์




วิธีการครอบครองปรปักษ์ จะต้องได้ความครบตามที่ มาตรา 1382 บัญญัติไว้ กล่าวคือ
1. ครอบครองโดยความสงบ การครอบครอง มีความว่า ได้เข้ายึดถือทรัพย์สินดังกล่าว เช่น เข้าไปทำนาก็ถือได้ว่าครอบครองหรือยึดที่นาแล้ว
ส่วนคำว่า "โดยความสงบ" หมาย ความว่า เจ้า ของเขามิได้ยื้อแย่งเอาคืนหรือไม่ได้ถูกฟ้องร้อง เป็นต้น ตราบใดที่ยังไม่สงบ คือถูกยื้อแย่งเอาคืนหรือถูกฟ้องร้องแล้วก็เริ่มนับอายุความมาตรา 1382 มิได้
2. โดยเปิดเผย หมายความว่ามิได้มีการปิดบังหรือซ่อนเร้น เช่น เข้าไปครอบครองเฉพาะในเวลากลางคืน จะถือว่าเป็นการครอบครองโดยเปิดเผยมิได้
3. ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ หมายความว่า ต้องเป็นการ ยึดทรัพย์สินนั้นโดยมิใช้เป็นการยึดถือไว้แทนผู้อื่น อย่างไรก็ดี ถ้าผู้ครอบครอง ไม่มีเจตนาเป็นเจ้าของแล้วก็ไม่ได้กรรมสิทธิ ซึ่งเรื่องนี้ต้องดูพฤติการณ์เป็นเรื่องทั่วๆ ไปตัวอย่างเช่น ปลูกบ้านแล้วหลังคาล้ำ เข้าไปในที่ดินของผู้อื่น ไม่อาจถือได้ว่ามีเจตนาจะครอบครองที่ใต้ชายคานั้นโดยปรปักษ์ หรือที่ดินของ เขามีเนื้อที่เพียงพอที่จะทำนาหรือทำสวนได้ ดังนั้น เพียงแต่เอารถไปจอดเพื่อล้างรถ หรือเพื่อจดรถเท่านั้น จะถือว่ามีเจตนาจะเป็น เจ้าของในที่ดินนั้นไม่ได้
เมื่อมีการครอบครองนั้นครบองค์ประกอบ 3 ประการดังกล่าวแล้ว ก็มาดูว่า ทรัพย์ที่ครอบครองเป็นทรัพย์ประเภทไหน ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี หรือสังหาริมทรัพย์เป็นเวลา 5 ปีติดต่อกัน บุคคลนั้นจะได้กรรมสิทธิทันที
อย่างไรก็ตาม ถ้าการครอบครองนื้นมีขาดตอนจะนับเวลาครอบครองอย่างไร เช่น ครอบครอง 2 ปี แล้ว ต้องไปต่างจังหวัดเสีย 6 เดือน จะถือว่าการครอบ ครองขาดตอนหรือไม่ นับ 2 ปี ที่ผ่านมาแล้ว และเริ่มนับระยะเวลาครอบครองใหม่หรือไม่ เรื่องนี้มาตรา 1384 บัญญัติว่า "ถ้าผู้ครอบครองขาดการยึดถือทรัพย์สินโดยไม่สมัคร และได้คืนภายในเวลา 1 ปีนับตั้งแต่การยึดถือหรือได้คืนโดยฟ้องคดีภายในกำหนดนั้นไซร้ ท่านห้ามมิให้ถือ ว่าการครอบครองสะดุดหยุดลง" ทั้งนี้เพราะว่าหากมีการขาดการยึดถือ ทรัพย์สินและได้คืนการครอบครองภายในเวลา หนึ่งปีนับแต่วันขาดการยึดถือหรือได้คืนโดยฟ้องคดีภายในหนึ่งปี ไม่ถือว่าการ ครอบครองสะดุดหยุดลงแต่ถือว่าเป็นการครอบครองติดต่อมิได้ขาดตอน อย่างไรก็ตาม การขาดการยึดถือนั้น จะต้องเป็นการขาดยึดถือทรัพย์สินโดย ไม่สมัครใจเป็นสำคัญ เช่น ถูกแย่งการครอบครองไป หรือมีเหตุสุดวิสัยทำให้ผู้ครอบครองต้องพ้นจากการครอบครอง เช่นเป็นข้าราชการแต่ถูกส่งไปต่างประเทศและได้กลับมาภายในเวลา 1 ปี ไม่ถือว่าจากการยึดถือ
ส่วนกรณีไปบวช ไปศึกษาต่อต่างประเทศ ถือว่าเป็นการสมัครใจขาดการยึดถือ จึงนับเป็นการขาดการยึดถือได้
ตัวอย่าง ก. ครอบครองที่นาโดยเปิดเผยสงบและด้วยเจตนาเป็นเจ้า ของโดยสุจริตเพื่อทำนา ต่อมาเดือนตุลาคมน้ำท่วมทำนาไม่ได้ ก. ขาดการครอบครองไปถือว่าไม่สมัครใจ ต่อมาอีก 6 เดือน น้ำลด ก. มาครอบครองทำนาต่อถือว่า ก. ครอบครอง ติดต่อกันอยู่มิขาดตอน
ปัญหาว่า หาก ก. ครอบครองแล้วต่อมาไม่ครอบครองอีกต่อไป ข.เข้า มาครอบครองต่อจะขอนับเวลาที่ ก. ได้ครอบครองแล้วมานับรวมกับระยะเวลาที่ ข.ครอบครอบจะได้หรือไม่ ในเรื่องนี้ มาตรา 1385 ได้บัญญัติว่า "ถ้าโอนการครอบครองแก่กัน ผู้รับโดนจะนับเวลา ซึ่งผู้โอนครอบครองอยู่ก่อนนั้นรวมเข้ากับเวลาของตนเอง ก็ได้ ถ้าผู้รับโอนนับรวม เช่นนั้นและถ้ามีข้อบกพร่องในระหว่างการครอบครองของ ผู้โอนไซร้ ท่านว่าข้อบกพร่องนั้นอาจถูกยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ผู้รับโอนได้"
การที่จะนับระยะเวลาการครอบครองครั้งก่อนติดต่อหรือรวมกับ การครอบครองของตนได้ ตามมาตรา 1385 จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ดังนี้คือ
1) การครอบครองครั้งก่อนนั้นจะต้องเป็นการครอบครองโดย ความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตามมาตรา 1382 และ
2) ต้องเป็นการโอนการครอบครอง เช่น การมอบการ ครอบ ครองให้โดยการให้หรือซื้อขายหรือรับมรดกก็คือเป็นการโอนการครอบครอง แต่หากเป็นกรณีที่หากผู้ครอบครองก่อนสละการครอบครองเฉยๆ หรือมีการแย่งการ ครอบครองผู้ที่ครอบครองต่อมาจะนับเวลาครอบครองต่อไม่ได้
ตัวอย่าง ก. ครองครองปรปักษ์ที่ดินมา 7 ปี แล้วเลย ครอบครองต่อไป ข. จึงเข้าครอบครองต่อ ดังนี้ ข. จะนับเวลา 7 ปี ต่อกับ ก. ได้ครอบครองมานับ รวมกันมิได้
หรือ ก. ครอบครองปรปักษ์ที่ดินนั้นมา 8 ปี ดังนั้น ข. จะนับระยะเวลา 8 ปี ตนก่อนมาเข้ารวมเข้ากับการครอบครองของตนมิได้
นอกจากนี้ ผู้โอนการครอบครองมีข้อบกพร่องอย่างไร ข้อบกพร่องย่อมตกทอดมายังผู้รับโอนในการนับรวมระยะเวลานั้นด้วย เช่น ครอบครองมา 3 ปี แล้ว ขาดการครอบครองไป 2 ปี กลับมาครอบครองอีก 4 ปี แล้วโดยการครอบครองให้ ข. นับเวลาของ ก. ได้เพียง 4 ปี เท่านั้น
6) การได้มาซึ่งที่ดินรกร้างว่างเปล่า ที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืน หรือทอดทิ้ง หรือกลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่นตามกฎหมายที่ดิน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1334
เป็นกรณีที่ดินนั้นถือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามมาตรา 1304 (1) โดยหลักแล้วจะได้กรรมสิทธิ์โดยนิติกรรมหรืออายุความมิได้ นอกจากจะเข้ากรณีตามที่กฎหมายที่ดินบัญญัติไว้ ตาม พ.ร.บ ออกโฉนดที่ดินตั้งแต่ พ.ศ. 2497 ซึ่งประมวลกฎหมายที่ดินอาจให้ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการจัดสรรของรัฐตามมาตรา 27,29 ถึง 33
 
 6.2 สิทธิครอบครอง
สิทธิครอบครองเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง เป็น สิทธิที่บุคคลมีอยู่ในทรัพย์สิน ในอันที่จะยึดถือทรัพย์สินนั้นเพื่อตน โดยจะยึดถือไว้เอง หรือจะให้ผู้อื่นถือทรัพย์สินนั้นไว้ให้ก็ได้ และเมื่อบุคคลใดยึดถือทรัพย์สินไว้โดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน บุคคลนั้นย่อมได้ซึ่งสิทธิครอบครอง
สิทธิครอบครองมิใช่กรรมสิทธิ์ แต่เป็นสิทธิที่มีผล ตามกฎหมายรองลงมาจากกรรมสิทธิ ดังต่อไปนี้
6.2.1 ผู้มีสิทธิครอบครองมีสิทธิในการปลด เปลื้อง การรบกวนการครอบครองโดยมิชอบด้วยกกฎหมาย โดยอาจเป็นการส่งเสียงรบกวน หรือเป็นการขัดขวางต่อการใช้ทรัพย์สินของผู้มีสิทธิครอบครอง สิทธิที่จะให้ปลดเปลื้องการรบกวนนั้น ผู้มีสิทธิครอบครองย่อมกระทำได้ทันทีโดยมิต้องฟ้องร้องต่อศาล แต่ถ้าผู้รบกวนยังขัดขืนหรือโต้แย้งสิทธิอยู่ผู้มีสิทธิครอบครองต้องใช้สิทธิทาง ศาลจะกระทำการเองโดยพลการมิได้ และการใช้สิทธิทางศาลนอกจากจะขอให้ ปลดเปลื้องการรบกวนที่เกิดขึ้นแล้ว ยังขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามมิให้กระทำการรบกวนได้อีก โดยการใช้สิทธิทางศาลในการ ฟ้องคดีเพื่อปลดเปลื้องการรบกวนนั้นต้องฟ้องภายในหนึ่งปีนับแต่เวลาถูกรบกวน ตามมาตรา 1374
6.2.2 ผู้มีสิทธิครอบครองมีสิทธิเรียกเอาการ ครอบครองคืนจากผู้ที่แย่งการครอบครองโดยมิชอบ การแย่งการครอบครองนั้นอาจ เป็นการแย่งการครองครองทรัพย์สินนั้นอยู่ก่อนแล้วก็ได้ โดยเมื่อผู้ครอบครองถูกแย่งการครอบครอง ต้องใช้สิทธิฟ้องคดีเพื่อเรียกคืนการครอบ ครองภานในหนึ่งปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง
6.2.3 ผู้มีสิทธิครอบครองมีสิทธิได้ดอกผล จาก การที่ผู้แย่งการครอบครองส่งทรัพย์สินคืนแก่ผู้มีสิทธิครอบครอง หรือผู้มีสิทธิกครอบ ครองจำต้องส่งทรัพย์คืนแก่ผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ โดยถ้าผู้ต้องคืนได้ทรัพย์สินไปโดยสุจริตคงต้องคืนทรัพย์สินแต่เพียงเท่าที่เป็นอยู่ใน ขณะคืนและหากต้องเสียค่าใช้จ่ายในการำรุงรักษา หรือซ่อมแซมอย่างใดเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นก็มีสิทธิเรียกคืนได้ และดอกผลที่ได้ระหว่าง ทรัพย์สินยังอยู่กับตนนั้นก็ไม่ต้องคืนให้ แต่ถ้าผู้ต้องคืน ได้ทรัพย์สินไปโดยทุจริตต้องคืนทรัพย์ในสภาพเดิมที่ตนได้ไป หากทรัพย์สินสูญหาย บุบสลาย ก็ต้องใช้ราคาจนครบและดอกผลที่เกิดขึ้นระหว่างใช้ทรัพย์สิน ก็ต้องคืนไปกับทรัพย์สินด้วย
6.2.4 ผู้มีสิทธิครอบครองมีสิทธิโอนสิทธิครอบ ครองได้โดยการส่งมอบทรัพย์สินที่ครอบครองหรือถ้าผู้รับโอนสิทธิครอบครอง หรือผู้แทนได้ยึดถือทรัพย์สินนั้นอยู่แล้ว การโอนสิทธิครอบครองย่อมกระทำได้โดยแสดงเจตนา หรือหากผู้โอนยังยึดถือทรัพย์สิน นั้นอยู่การโอนสิทธิครอบครองอาจกระทำได้โดยแสดงเจตนาว่าต่อไปจะยึดถือ ทรัพย์สินนั้นแทนผู้รับโอนหรือตัวแทนผู้รับโอน ตลอดจนถ้าผู้มีสิทธิครอบครอง สละเจตนาครอบครองหรือไม่ยึดถือทรัพย์สินต่อไปอีกแล้ว สิทธิครอบครองย่อมสิ้นสุดลงและต่อจากนั้นถ้าผู้ใดเข้ายึดถือทรัพย์สินนั้นด้วยเจตนายึดถือ เพื่อตนผู้นั้นย่อมได้สิทธิครอบครองไปทันที
 
 6.3 ภาระจำยอม
ภาระจำยอมเป็นทรัพย์สินสิทธิชนิดหนึ่งที่มาจำกัดตัดทอนอำนาจ กรรมสิทธิ์แห่งเจ้าของอสังหาริมทรัย์ให้ลดน้อยลงไป โดยเจ้าของทรัพย์ต้องยอม รับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้องงดเว้นการ ใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์นั้น เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น
การได้มาซึ่งภาระจำยอม มี 2 ประการ
6.3.1 ได้มาโดยนิติกรรม คือ ด้วยความตกลงซึ่งจะต้อง ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน เช่น เจ้าของที่ดินแปลงหนึ่งตกลงยินยอมให้เจ้าของ ที่ดินอีกแปลงหนึ่งใช้ทางผ่านที่ตน เป็นต้น
6.3.2 ได้มาโดยอายุความ เช่น เจ้าของที่ดินแปลง หนึ่งเดินผ่านที่ดินอีกแปลงหนึ่งเป็นเวลา 10ปีขึ้นไป เป็นต้น
 
 6.4 สิทธิอาศัย
สิทธิอาศัยเป็นทรัพย์สิทธิชนิดหนึ่ง กล่าวคือ บุคคล ใดได้รับสิทธิอาศัยในโรงเรือนของบุคคลอื่น บุคคลนั้นย่อมมีสิทธิอยู่ในโรงเรือนนั้นโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า
สิทธิอาศัยเป็นนิติกรรมอันเกี่ยวด้วยทรัพย์สินในอสังหาริมทรัพย์ ฉะนั้น จึงต้องทำเป็นหนังสือจดทะเบียน ไม่ใช่อนุญาตด้วยวาจาเท่านั้น และจะก่อให้เกิดโดยมีกำหนดเวลาหรือตลอดชีวิตผู้อาศัยก็ได้
 
 6.5 สิทธิเหนือพื้นดิน
สิทธิเหนือพื้นดินเป็นทรัพย์สิทธิชนิดหนึ่ง ซึ่งเจ้า ของที่ดินอาจก่อให้เกิดขึ้นเป็นคุณ แก่บุคคลอื่น โดยให้บุคคลนั้นมีสิทธิเป็นเจ้าของโรงเรือนสิ่งปลูกสร้างหรือสิ่งเพาะ ปลูกบนดินหรือใต้ดินนั้น
สิทธิเหนือที่ดินเกิดขึ้น เช่น เจ้าของที่ดินทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนอนุญาตให้ผู้อื่นมาสร้างบ้านเรือนบนที่ดินของตน โดยผู้ปลูกสร้าง โรงเรือนเป็นผู้มีกรรมสิทธิในบ้านเรือนนั้นตลอดไป เป็นต้น
สิทธิเหนือพื้นดินจะก่อให้เกิดขึ้นโดยกำหนดเวลา หรือตลอดชีวติของที่ดิน หรือตลอดชีวิตผู้ทรงสิทธิเหนือพื้นดินนั้นก็ได้ นอกจากนี้สิทธิเหนือพื้นดินยังอาจโอนและรับมรดกกันได้อีกด้วย
 
 6.6 สิทธิเก็บกิน
สิทธิเก็บกินเป็นทรัพย์สิทธิหนึ่ง ซึ่งผู้ทรงสิทธิมีแต่เพียงสิทธิ ครอบครองใช้และถือเอาประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น โดยกำหนดเวลาหรือตลอดชีวิตของผู้ทรงสิทธิก็ได้ โดยมากมักจะเป็นที่เรื่องบิดามารดายกที่ให้บุตร แต่กลัวจะเนรคุณจึงให้บุตรทำหนัง สือจดทะเบียนให้บิดามารดายกที่ให้บุตรและถือเอาประโยชน์ เช่น เก็บค่าเช่าในที่ดินนั้นต่อไป ส่วนที่ดินนั้นบิดาได้ทำหนังสือจดทะเบียนโอนให้บุตรไปแล้ว เป็นต้น
สิทธิเก็บกินนี้ ถ้าผู้ทรงสิทธิถึงแก่ความตาย สิทธิก็เป็นอันสิ้นไปด้วยเสมอ
 
 6.7 ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์เป็นทรัพย์สิทธิชนิดหนึ่ง ซึ่งรองลงมาจากสิทธิเก็บกิน กล่าวคือ เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ยังคงครอบครองทรัพย์นั้นอยู่ แต่มีหน้าที่ต้องแบ่งปันผลประโยชน์ในทรัพย์สินนั้นไปให้บุคคลอีกคนหนึ่ง คือผู้รับประโยชน์
ตัวอย่าง ลูกหนี้เจ้าของห้องแถวทำหนังสือและจดทะเบียน ยอมให้เจ้าหนี้มีสิทธิในค่าเช่าห้องแถวของตน เป็นต้น
 
 
7. ข้อแตกต่างระหว่างบุคคลสิทธิและทรัพย์สิทธิ
7.1 ทรัพย์สิทธิมีวัตถุแห่งสิทธิเป็นทรัพย์สินหรือเป็นสิทธิที่มีอยู่เหนือตัวทรัพย์บังคับเอากับทรัพย์นั้นโดยตรง ส่วนบุคคลสิทธินั้นวัตถุแห่งสิทธิเป็นการกระทำหรืองดเว้นกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งโดยตรง หรือส่งมอบทรัพย์สินวัตถุแห่งสิทธิเหนือตัวบุคคลหรือผู้สืบสิทธิหรือทายาท
7.2 ทรัพย์สิทธิก่อตั้งขึ้นด้วยอำนาจกฎหมายโดยตรง กล่าวคือ กฎหมายจะต้องบัญญัติรับรู้ไว้ ส่วนบุคคลสิทธิก่อตั้งขึ้นด้วยสัญญาและนิติเหตุ คือ ละเมิด จัดการงานนอกสั่ง หรือลาภมิควรได้
7.3 ทรัพย์สิทธิก่อให้เกิดหน้าที่แก่บุคคลทั่วไป กล่าวคือ บุคคลทั่วๆ ไปจะต้องยอมรับไม่รบกวนสิทธิของเจ้าของในอันที่จะครอบครองทรัพย์สินโดยปกติสุข ส่วนบุคคลสิทธิเป็นหน้าที่ของลูกหนี้ที่จะกระทำหรืองดเว้นกระทำการตามความผูกพันที่ตนได้ก่อให้เกิดหนี้ขึ้น
7.4 ทรัพย์สิทธิไม่อาจสิ้นสุดไปด้วยการไม่ใช้ เช่น เรามีสิทธิอยู่ในของสิ่งหนึ่งอยู่ แม้เราจะทิ้งของนั้นไว้โดยไม่ใช้นานเท่าใดก็ดี ทรัพย์สิทธิคือกรรมสิทธิของเรานั้นยังคงอยู่แก่เราเสมอ ยกเว้นภาระจำยอมและภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ซึ่งกฎหมายกำหนดว่าถ้าไม่ใช้ 10 ปี ทรัพย์สิทธินี้จะหมดไป ส่วนบุคคลสิทธินั้น ถ้าเจ้าหนี้เพิกเฉยไม่บังคับเสียภายในระยะเวลากฎหมายกำหนดไว้ ก็เป็นขาดอายุความห้ามมิให้ฟ้องร้อง เช่น เมื่อมีใครมายืมเงินเราไป ถ้าเราไม่ฟ้องร้องให้เขาใช้ภายใน 10 ปี นับแต่หนี้ถึงกำหนดชำระ เราก็ย่อมฟ้องลูกหนี้นั้นไม่ได้
  แหล่งข้อมูล http://e-book.ram.edu
 

วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555

วันอาทิตย์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555



สราวุธ เบญจกุล
       รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม
     
       ศาลเป็นหนึ่งในอำนาจอธิปไตยซึ่งพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่มีรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น ทั้งนี้ศาลยุติธรรมจะต้องดำเนินการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 197 คือต้องเป็นไปโดยยุติธรรม ตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมาย และในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์
     
       อย่างไรก็ดี การจะพิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้เป็นไปโดยยุติธรรมได้นั้น ผู้พิพากษาต้องมีอิสระเพื่อให้การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นไปโดยถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม และต้องไม่ถูกแทรกแซงการใช้อำนาจจากบุคคลหรือองค์กรใด ซึ่งหลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษานั้นมีการรับรองไว้ทั้งตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย
     
       ตามหลักการแบ่งแยกอำนาจกำหนดให้มีการแบ่งแยกอำนาจตุลาการออกจากอำนาจของฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติเพื่อให้มีการดุลและคานกัน ทำให้ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติไม่สามารถมีอำนาจในการให้คุณให้โทษฝ่ายตุลาการได้ ในการแต่งตั้ง การพ้นจากตำแหน่ง การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนเงินเดือน และการลงโทษผู้พิพากษาจะต้องได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
     
       นอกจากนี้ผู้พิพากษาต้องมีความเป็นกลาง และสามารถใช้ดุลพินิจในการมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายได้อย่างเหมาะสม โดยพิจารณาจากบทบัญญัติของกฎหมายและพยาน หลักฐานที่เกี่ยวข้อง จากการรับรองหลักความเป็นอิสระของตุลาการ เพื่อให้ผู้พิพากษาสามารถพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเพื่ออำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนได้อย่างเต็มที่นี้เอง จึงเป็นหลักการสากลที่ว่าผู้พิพากษาได้รับความคุ้มกันจากการใช้อำนาจตุลาการ (Judicial Immunity)
     
       หลักความคุ้มกันจากการใช้อำนาจตุลาการเป็นแนวคิดอันมีที่มาจากประเทศที่ใช้ระบบกฎหมาย Common Law โดยมีรากฐานมาจากแนวคิดของประเทศอังกฤษ ที่ว่า “the King can do no wrong” ซึ่งมีหลักการในการให้เอกสิทธิ์และความคุ้มครองแก่พระมหากษัตริย์และ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ภายใต้พระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ เช่นตุลาการ เพราะพระมหากษัตริย์ไม่ต้องรับผิดชอบทั้งทางการเมืองและตามกฎหมายใด ๆ ไม่ว่าจะในฐานะส่วนพระองค์หรือ ในฐานะประมุขของรัฐและไม่อาจถูกฟ้องร้องดำเนินคดีได้
     
       จากแนวคิดดังกล่าวนี้เอง ต่อมาจึงได้มีการพัฒนามาเป็นหลักความคุ้มกันจากการใช้อำนาจตุลาการ เพราะผู้พิพากษาถือเป็นบุคคลที่ใช้อำนาจตุลาการภายใต้พระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความคุ้มกันทางกฎหมายแก่ผู้พิพากษาหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาพิพากษาคดี จากการถูกดำเนินคดีในการใช้อำนาจทางตุลาการซึ่งกระทำในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ เพื่อให้ผู้พิพากษาสามารถพิจารณาคดีได้อย่างเป็นธรรม โดยไม่จำต้องกังวลถึงภยันตรายที่อาจเกิดขึ้นนอกเหนือจากการกระทำตามอำนาจหน้าที่ของตน ในขณะเดียวกันก็เพื่อปกป้องผู้พิพากษาจากการกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมายของผู้ที่อาจเสียประโยชน์จากคำพิพากษา
     
       สำหรับในประเทศสหรัฐอเมริกา ศาลฎีกาในสหรัฐอเมริกาในคดี Randall v Brigham, 74 US (7 Wall.) 523 (1868) ได้เคยมีคำพิพากษาในกรณีผู้พิพากษามีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตว่าความของทนายความ ทนายความผู้นั้นจึงฟ้องผู้พิพากษา ศาลฎีกามีคำพิพากษาว่าทนายความไม่สามารถฟ้องผู้พิพากษาได้ เพราะผู้พิพากษาไม่ต้องรับผิดหากเป็นการใช้อำนาจทางตุลาการ เว้นแต่ว่าการใช้อำนาจดังกล่าวจะเป็นการใช้อำนาจโดยทุจริตหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย
     
       แม้ผู้พิพากษาจะได้รับความคุ้มกันจากการใช้อำนาจตุลาการ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า การใช้อำนาจดังกล่าวจะไม่มีขอบเขตจำกัด หรือไม่สามารถตรวจสอบความชอบธรรมได้ ผู้พิพากษาจึงไม่อาจใช้อำนาจได้ตามความพอใจของตน การตรวจสอบการใช้อำนาจทางตุลาการของผู้พิพากษาสามารถกระทำได้หลายวิธี เช่น การอุทธรณ์ ฎีกา อันเป็นวิธีการตรวจสอบดุลพินิจในการรับฟ้องพยานหลักฐานและการทำคำพิพากษาโดยให้คู่ความฝ่ายที่ไม่พอใจคำพิพากษา สามารถใช้สิทธิอุทธรณ์ ฎีกาต่อศาลสูงซึ่งได้แก่ ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา ผู้มีหน้าที่กลั่นกรองคำพิพากษาของศาลล่างอีกชั้นหนึ่ง อันเป็นสิทธิของคู่ความตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความเป็นต้น
     
       นอกจากหลักการตรวจสอบการใช้อำนาจตุลาการตามลำดับชั้นศาลแล้ว ผู้พิพากษาอาจถูกตรวจสอบการใช้อำนาจตุลาการได้หากผู้พิพากษาผู้นั้นได้กระทำความผิดวินัย แต่องค์กรที่ทำหน้าที่พิจารณาเรื่องทางวินัยของผู้พิพากษานั้นมีรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ชัดเจนในมาตรา 220 ว่าให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) ซึ่งประกอบด้วยประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากศาลฎีกา 6 คน ศาลอุทธรณ์ 4 คน ศาลชั้นต้น 2 คน และกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒซึ่งวุฒิสภาเลือกจากบุคคลที่ไม่เป็นข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม 2 คน
     
       ก.ต. จึงมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบผู้พิพากษาทางวินัย โดยการให้ความเห็นชอบในการเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนเงินเดือน และการลงโทษผู้พิพากษาในศาลยุติธรรม และการให้ความเห็นชอบดังกล่าวของ ก.ต. ต้องคำนึงถึงความรู้ความสามารถและพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลดังกล่าว
     
       การได้รับความคุ้มกันจากการใช้อำนาจตุลาการนั้นมีขอบเขตจำกัด ผู้พิพากษา จะได้รับความคุ้มครองก็ต่อเมื่อได้กระทำภายในกรอบอำนาจหน้าที่ทางตุลาการของตนเท่านั้น เว้นแต่ว่าการใช้อำนาจดังกล่าวจะเป็นการใช้อำนาจโดยทุจริตหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากเป็นการกระทำนอกกรอบอำนาจหน้าที่ หรือเป็นการกระทำความผิดทางอาญาที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ เช่นการเรียกรับสินบน ผู้พิพากษาย่อมต้องรับผิดในการกระทำของตนโดยอาจถูกดำเนิน คดีอาญาได้
     
       ดังนั้น ความอิสระและเป็นกลางของศาลยุติธรรม เป็นหลักการสำคัญของสังคมประชาธิปไตย ที่จะนำมาซึ่งความปลอดภัยและมั่นคงในสังคม ทั้งยังเป็นการเคารพหลักสิทธิมนุษยชนที่ให้สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมอีกด้วย


ที่มา :  manager.co.th