วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555

เปรียบเทียบนิติวิธีในระบบซีวิลลอว์และระบบคอมมอนลอว์ 


 
              จากการศึกษานิติวิธีในระบบซีวิลลอว์และระบบคอมมอนลอว์ดังกล่าวแล้วจะเห็นได้ว่านิติวิธีในระบบกฎหมายทั้งสองนั้นมีความเหมือนหรือแตกต่างกันดังต่อไปนี้
              2.4.1. บ่อเกิดของกฎหมายหรือที่มาของกฎหมายในระบบซีวิลลอว์และระบบคอมมอนลอว์ตั้งเดิมนั้นเหมือนกันกล่าวคือมีที่มาจากจารีตประเพณีเพียงแต่ทั้งสองระบบนั้นมีพัฒนาการทางกฎหมายที่แตกต่างกันเท่านั้นเหมือนกันกล่าวคือมีที่มาจากจารีตประเพณีเพียงแต่ทั้งสองระบบนั้นมีพัฒนาการทางกฎหมายที่แตกต่างกันเท่านั้น
              2.4.2. โดยที่กฎหมายในระบบซีวิลลอว์และระบบคมอมอนลอว์มีพัฒนาการทางกฎหมายที่แตกต่างกันจึงทำให้กฎหมายทั้งสองระบบนี้ให้ความสำคัญต่อบ่อเกิดของกฎหมายแตกต่างกันดังต่อไปนี้
1) ในระบบซีวิลลอว์นั้นจะให้ความสำคัญต่อบ่อเกิดของกฎหมายเป็นลำดับดังต่อไปนี้ (1) หลักกฎหมายจากคำพิพากษา (2) บทกฎหมายลายลักษณ์อักษร (3) จารีตประเพณี (4) ข้อคิดข้อเขียนของนักนิติศาสตร์ (5) เหตุผลและความยุติธรรม
              2.4.3. ด้วยสาเหตุที่ระบบซีวิลลอว์และระบบคอมมอนลอว์ให้ความสำคัญต่อบ่อเกิดของกฎหมายแตกต่างกันไปด้วยดังต่อไปนี้
              1)วิธีศึกษาค้นคว้ากฎหมายของทั้งสองระบบมีความแตกต่างกัน กล่าวคือ
(1) ในระบบกฎหมายซีวิลลอว์ การศึกษาจะเน้นให้ความสำคัญที่ “ตัวบท”ของประมวลกฎหมาย และให้ความสำคัญแก่คำอธิบายทางทฤษฎี (Doctrine) กฎหมายต่าง ๆ ที่นักกฎหมายได้กำหนดขึ้น การสอนกฎหมายจึงเน้นหนักไปในทางสอนให้เข้าใจความหมายในตัวบทและหลักทฤษฎีกฎหมายต่าง ๆ การสอนเช่นนี้เท่ากับชี้ให้เห็นว่าศาลหรือผู้ใช้กฎหมายอื่นหากจะค้นคว้าคำอธิบายตัวบทนั้น ๆ ต่อไปแล้วจึงค่อยไปดูคำพิพากษาที่เป็นตัวอย่างในการปรับใช้กฎหมายเป็นอันดับต่อไป
(2) ส่วนนะบบกฎหมายคอมมอนลอว์ การศึกษาจะเน้นให้เห็นว่าความสำคัญอั้นดับแรกอยู่ที่คำพิพากษาที่ศาลได้พิพากษาไปแล้วเป็นลำดับมาและแสดงให้เห็นบทบาทของพระมหากษัตริย์ในการพัฒนากฎหมายและทำให้กฎหมายมีข้อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การที่ฝ่ายนิติบัญญัติออกกฎหมายลายลักษณ์อักษรมานั้นถือว่าเป็นการออกกฎหมายพิเศษ ซึ่งเป็นกฎมายที่มายกเว้นหลักคอมมอนลอว์ที่ถือเป็นกฎหมายทั่วไป การค้นคว้าก็จะเริ่มจากคำพิพากษาเป็นอันดับแรก เว้นแต่งเองที่ต้องการค้นคว้าได้มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรบัญญัติไว้ แม้กระนั้นก็ตามหากมีคำพิพากษาที่ได้ใช้บทกฎหมายลายลักษณ์อักษรนั้นแล้วศาลหรือผู้ใช้กฎหมายอื่นก็จะดูคำพิพากษาเป็นหลักมากกว่าที่จะไปดูบทกฎหมายลายลักษณ์อักษร
             2) วิธีการใช้และวิธีการแก้ไขปัญหาต่างๆ ทางกฎหมายของนักกฎหมาย ตลอดจนวิธีพิพากษาอรรถคดีของศาลทั้งสองระบบมีแนวความคิดแตกต่างกัน กล่าวคือ
(1) ศาลในระบบซีวิลลอว์ เมื่อศาลพิจารณาจนได้ข้อเท็จจริงแล้วศาลก็จะนำตัวบทกฎหมายมาปรับใช้กับข้อเท็จจริงในคดี โดยการใช้กฎหมายหรือการตีความกฎหมาย ในกรณีไม่มีบทกฎหมายมาปรับใช้ได้โดยตรงศาลอาจจะมาพิจารณาว่าจารีตประเพณีที่จะนำมาปรับใช้ได้หรือไม่ หากไม่มีศาลก็จะมาพิจารณาว่ามีหลักกฎหมายทั่วไป (ถือว่าเป็นการอุดช่องว่างแห่งกฎหมายในระบบซีวิลลอว์ หรือข้อคิดข้อเขียนของนักตินิศาสตร์เขียนไว้พอที่จะนำมาปรับใช้ได้หรือไม่เป็นอันดับสุดท้าย แต่อย่างไรก็ตามนิติวิธีในทางกฎหมายแพ่งและในทางกฎหมายอาญาต้องพิจารณาแยกต่างหากจากกัน กล่าวคือ
ในทางกฎหมายแพ่งหรือกรอบทางแพ่งหากนิติวิธีมีกำหนดไว้ ก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่บัญญัติไว้นั้น เช่น ประมวลกฎหมายแล่งออสเตรีย มาตรา 7 บัญญัติว่า “ในกรณีที่ไม่มีกฎหมายใดๆ จะปรับใช้แก่กรณีได้นั้น ให้ศาลใช้ปกติประเพณีหรือหลักกฎหมายธรรมชาติ มาปรับใช้” ในทางกฎหมายอาญา หรือกรอบในทางอาญาระบบซีวิลลอว์ต้องยึดถือหลัก “nullum crimen nulla poena sine lege” เป็นหลักสำคัญ กล่าวคือ ศาลต้องใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายเท่านั้นมาตัดสินพิพากษาคดีเพื่อลงโทษหรือเพิ่มโทษ ศาลจะนำสิ่งที่ไม่ใช่บทบัญญัติแหงกฎหมายมาตัดสินพิพากษาคดีเพื่อลงโทษหรือเพิ่มโทษไม่ได้ แต่อาจจะใช้ในทางอื่นที่เป็นคุณได้ เช่น อาจใช้จารีตประเพณี หรือหลักกฎหมายทั่วไปในทางที่เป็นคุณ เป็นต้น
(2) ส่วนในระบบคอมมอนลอว์ เมื่อศาลพิจารณาจนได้ข้อเท็จจริงแล้ว ผู้พิพากษาก็จะไปค้นคว้าคำพิพากษาที่เคยพิพากษามาแล้วสำหรับข้อเท็จจริงอย่างเดียวกันแล้วนำมาใช้เทียบเคืองพิพากษาต่อไป และหากไม่เคยมีคำพิพากษาตัดสินคดีไว้ ศาลก็จะมาพิจารณาที่บทกฎหมายลายลักษณ์อักษรศาลก็จะมาพิจารณาว่ามีจารีตประเพณีที่จะปรับใช้กับข้อเท็จจริงนั้นได้หรือไม่ หากไม่มีจีตประเพณีที่จะนำมาปรับใช้ ศาลก็จะมาพิจารณาว่ามีข้อคิดข้อเขียนของนักนิติศาสตร์มาปรับใช้ได้หรือไม่ หากไม่มี สุดท้ายศาลอาจค้นหาหลักเกณฑ์หรือสร้างหลักเกณฑ์จากข้อเท็จจริงในคดีนั้นขึ้นใหม่แล้วพิพากษาไปตามเหตุผลที่ได้จากข้อเท็จจริงในคดีนั้น (ถือว่าเป็นการอุดช่องว่างแห่งกฎหมายในระบบคอมมอนลอว์) และโดยเหตุที่ศาลในระบบคอมมอนลอว์สามารถสร้างหลักเกณฑ์หรือวางหลักเกณฑ์ขากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นใหม่ได้ นิติวิธีในทางกฎหมายแพ่ง และในทางกฎหมายอาญา จึงไม่มีความแตกต่างกันเลย เว้นแต่ในทางกฎหมายแพ่ง หรือกฎหมายอาญาที่มีบทกฎหมายลายลัษณ์อักษรกำหนดนิติวิธีไว้โดยชัดเจนเท่านั้น
ในทางกฎหมายแพ่ง หรือกรอบในทางแพ่งศาลสามารถสร้างหลักเกณฑ์ขึ้นใหม่ได้ เช่นในคดี Wilinson v Downton (1879) 2 Q.B.57 ส่นในทางกฎหมายอาญา หรือกรอบในทางอาญา นั้นโดยที่ความรับผิดทางอาญาในประเทศอังกฤษสามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะคือ ก. ความผิดตามกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร (Common law offence) ข. ความผิดตามกฎหมายลักษณ์อักษร (Statutory law offence) ซึ่งความรับผิดทั้งประเภทนี้มีนิติวิธีที่แตกต่างกัน กล่าวคือ
ก. ความผิดตามกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร (Common law offence) ความผิดประเภทนี้เกิดจากการที่ศาลคอมมอนลอว์กำหนดความความผิดทางอาญาฐานใหม่ขึ้นมาโดยวิธีการวางหลักเกณฑ์หรือวางหลักกฎหมายใหม่ๆ ขึ้นมาโดยวิธีการวางหลักเกณฑ์หรือวางหลักกฎหมายใหม่ ๆ ขึ้น โดยศาลถือหลักว่าการกระทำใดที่เป็นฝ่าฝืนและเป็นปฏิปักษ์ต่อศีลธรรมอันดีของประชาชนการกระทำนั้นย่อมอยู่ในข่ายที่จะเป็นความผิดอาญาได้ทั้งสิ้น การวางหลักเกณฑ์หรือวางหลักกฎหมายใหม่ ๆ ขึ้นในคำพิพากษานี้ต่อมากลายเป็นหลักกฎหมายตามคำพิพากษาที่เป็นบรรทัดฐาน (Precedent) ส่วนการกำหนดระวางโทษก็เป็นอำนาจในการใช้ดุลพินิจของศาลในการกำหนดระวางโทษสำหรับความผิดอาญาฐานใหม่ที่ศาลได้กำหนดขึ้นนั้น สาเหตุที่ศาลคอมมอนลอว์สามารถกำหนดความผิดอาญาฐานใหม่ขึ้มาได้และสามารถกำหนดระวางโทษสำหรับความปิดอาญาฐานใหม่ได้นั้นเป็นเพราะในระบบคอมมอนลอว์มิได้ยึดถือหลัก “nullum crimen nulla poena sine lege” เหมือนอย่างระบบซีวิลลอว์ และถือเป็นการอุดช่องว่างแห่งกฎหมายในระบบคอมมอนลอว์ซึ่งถือเป็นนิติวิธีที่สำคัญมากในระบบคอมมอนลอว์เลยทีเดียว ตัวอย่างเช่น ในคดีอาญา Rex v. Manlay (1930) หรือในคดี Shaw v.D.P.P (1962) ซึ่งเป็นการที่ศาลกำหนดความผิดอาญาฐานใหม่ขึ้นมาโดยวิธีการวางหลักเกณฑ์หรือหลักกฎหมายใหม่ ๆ ในคำพิพากษา เป็นต้น
ข.ความผิดตามกฎหมายลายลักษณ์อักษร (Statutory law offence) ความผิดประเภทนี้เป็นความผิดที่เกิดจากฝ่ายนิติบัญญัติตรากฎหมายลายลักษณ์อักษรขึ้นมาความผิดประเภทนี้เป็นความผิดเพราะกฎหมายห้าม (Mala Prohibita) ศาลจึงต้องใช้หลักเกณฑ์การวินิจฉัยความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติไว้อย่างเคร่งครัด ศาลไม่สามารถวางหลักเกณฑ์หรือวางหลักเกณฑ์หรือวางหลักกฎหมายใหม่ๆ ขึ้นมาในคำพิพากษาได้ เช่น ความผิดเกี่ยวกับภาษี ความผิดเดี่ยวกับการพนัน ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา ความผิดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
2.4.4 ความชัดเจนของกฎหมายในระบบกฎหมายทั้งสองมีความแตกต่างกัน กล่าวคือ
1) โดยที่นิติวิธีในระบบซีวิลลอว์ถือว่าบทบัญญัติไว้ในรูปประมวลกฎหมายอย่างชัดเจนไม่ว่าในทางกฎหมายแพ่งหรือกฎหมายอาญา และโดยเฉพาะในทางกฎหมายอาญาในระบบซีวิลลอว์ยึดถือหลัก “nullum crimen nulla poena sine lege” ซึ่งแปลได้ว่า “ไม่มีความผิด ไม่มีโทษโดยไม่มีกฏหมาย” ซึ่งส่งผลให้ในทางกฎหมายอาญานั้นจะต้องมีการบัญญัติไว้โดยชัดเจนว่าการกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดเป็นความผิดและจะต้องรับโทษและจะต้องรับโทษ และด้วยความชัดเจนของกฎหมายในระบบซีวิลลอว์จึงทำให้ปะชาชนสามารถทราบได้ว่าการกระทำอย่างใดเป็นความผิดและจะต้องรับโทษหรือมีกฎหมายห้ามอะไรไว้บ้าง
2) ส่วนในระบบคอมมอนลอว์โดยที่นิติวิธีในระบบนี้ถือว่าคำพิพากษาของศาลเป็นกฎหมายและเป็นบ่อเกิดอันดับแรกของกฎหมาย และโดยเหตุที่ศาลในระบบคอมมอนลอว์ สามารถสร้างหลักเกณฑ์ขากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นใหม่ได้ ดังนี้ในทางกฎหมายแพ่งหรือในทางกฎหมายอาญาศาลสามารถสร้างหรือวางหลักเกณฑ์ใหม่ได้เหมอ แต่ในทางกฎหมายอาญาความผิดตามกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร (Common law offence) โดยที่ความผิดประเภทนี้เป็นการที่ศาลคอมมอนลอว์สามารถกำหนดความผิดอาญาฐานใหม่ขึ้นมาได้โดยเกิดจากการที่ศาลคอมมอนลอว์วางหลักเกณฑ์ขึ้นมาจนกลายเป็นหลักกฎหมายตามคำพิพากษาที่เป็นบรรทัดฐาน (Precedent) ดังนี้ในความผิดอาญาประเภทนี้ศาลจึงสามารถกำหนดความผิดอาญาฐานใหม่ๆ ขึ้นมาได้เสมเมื่อเห็นว่าการกระทำที่เกิขึ้นนั้นเป็นการฝ่าฝืนและเป็นปฎิปักษ์ต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน ดังนี้จะเห็นได้ว่าความผิดตามกฎหมายที่ไม่เป็ฯลายลักษณ์อักษณระบบคอมมอนลอว์นี้ขาดความชัดเจนประชาชนไม่สามารถทราบได้ว่าการกระทำใดของตนเป็นความผิดและจะต้องรับโทษเมื่อใด หรือมีกฎหมายห้ามอะไรไว้บ้าง ส่วนความผิดตามกฎหมายลายลักษณ์อักษร( Statutory law offence) ความผิดประเภทนี้เป็นความผิดที่เกิดจากฝ่ายนิติบัญญัติตรากฎหมายลายลักษณ์อักษรขึ้นมาความผิดประเภทนี้จึงเป็นความผิดที่ความชัดเจนประชาชนสามารถทราบได้ว่าการกระทำใดของตนเป็นความผิดและจะต้องับโทษเมื่อใด หรือมีกฎหมายห้ามอะไรบ้างเหมือนอย่างในระบบซีวิลลอว์
2.4.5 ผู้ที่กำหนดนโยบายทางกฎหมายในระบบซีวิลลอว์คือ รัฐสภา เพราะรัฐสภามีหน้าที่ในการออกกฎหมายศาลมีหน้าที่ในการปรับใช้กฎหมายเท่านั้น ส่วนในระบบคอมมอนลอว์ ศาลมิได้กำหนดนโยบายทางกฎหมาย แต่ศาลสามารถปรับใช้กฎหมายได้ทันที ดังนั้นศาลจึงมีบทบาทสำคัญในการวางหลักนิติวีด้วยนั้นเอง อย่างไรก็ตามในระบบคอมมอนลอว์มัจจุบันรัฐสภามีบทบาทอย่างสูงในการกำหนดนโยบายกฎหมายและออกกฎหมายเช่นนั้น
ดังนี้ในปัจจุบันแนวความคิดของระบบกฎหมายซีวิลลอว์ และระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ แทบจะไม่มีความแตกต่างกันเท่าใดนัก กล่าวคือในระบบกฎหมายซีวิลลอว์ก็ไม่สามารถที่จะปฏิเสธได้ว่า นับวันตัวอย่างคำพิพากษามีบทบาทมากขึ้น ในฐานะของตัวอย่างการปรับใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมาย แม้จะมีข้อความที่กำหนดไว้อย่างชัดเจนในกฎหมายลายลักษณ์อัษรแล้วก็ตาม ในบางกรณีก็ต้องอธิบายด้วยตัวอย่างคำพิพากษาที่มีการแก้ปัญหาแล้วเช่นกัน ส่วนในระบบคอมมอนลอว์เองนับวันบทกฎหมายลายลักษณ์อักษรยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น มีการยอมรับมากขึ้นพอ ๆ กับการยอมรับหลัก ศาลเป็นผู้สร้างกฎหมาย (Tudge made law) ซึ่งอยู่กับสถานการณ์เปลี่ยนแปลงทางสังคม ที่มอบหมายห้ารัฐสภามามีบทบาทหน้าที่ในการบัญญัติกฎหมายลายลักษณ์อักษร นับตั้งแต่รัฐเข้าสู่ระบบประชาธิปไตย ดำเนินแนวทางรัฐสวัสดิการ และนำประเทศเข้าสู่ระบบประชาคมมาเศรษฐกิจยุโรป แต่การที่ระบบคอมมอนลอว์มีความจำเป็นต้องนำบทกฎหมายลายลักษณ์อักษรมาใช้นั้นก็มิได้ลดบทบาทของศาลในประเทศอังกฤษที่มีมาแต่เดิมเท่าใดนัก เพราะศาลมักจะตีความให้บทกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่รัฐสภาบัญญัติขึ้นนั้นให้มีความหมายอย่างแคบ เพื่อที่จะไม่ให้บทกฎหมายลายลักษณ์อักษรนั้นเข้ามาตัดทอนของเขตของหลักคอมมอนลอว์ ทั้งนี้เพื่อรักษาไว้ซึ่งอำนาจศาลให้มากที่สุด

1 ความคิดเห็น: