วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555

สำนักกฏหมายธรรมชาติและบ้านเมือง


            SCHOOL OF NATURAL LAW สำนัก  หมายความถึง ที่รวมของคนที่มีแนวความคิดอย่างเดียวกัน สำนักกฎหมายธรรมชาตินี้เป็นสำนักกฎหมายที่มีความคิดมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่ สมัยกรีก สำนักนี้มีแนวคิดเกี่ยวกับกฎหมายว่า กฎหมายเป็นสิ่งที่มีอยู่เองตามธรรมชาติเหมือนปรากฏการณ์อื่นๆ ของโลก นักปรัชญาบางท่านกล่าว่าเป็นกฎเกณฑ์ที่เกิดขึ้นโดยพระเจ้า มนุษย์มิได้เป็นผู้สร้างขึ้น แต่นักปรัชญาบางท่านกล่าวว่ากฎหมายเกิดจากความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของมนุษย์ เป็นเรื่องของเหตุของผล มิใช่เรื่องของเจตจำนงของผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะ มนุษย์สามารถใช้สติปัญญาและเหตุผลของตนค้นหาหลักเกณฑ์ความถูกผิดตามธรรมชาติ ได้ เป็นหลักเกณฑ์ที่ดี ใช้ได้ไม่จำกัดกาลเวลา และถ้ามนุษย์สร้างกฎเกณฑ์ขึ้นมา กฎเกณฑ์นั้นเป็นเพียงภาพสะท้อนจากกฎธรรมชาติ


              ฉะนั้น กฎเกณฑ์ของมนุษย์จะต้องไม่ขัดหรือแย้งกับกฎธรรมชาติ ในสำนักนี้มีนักปรัชญาที่สำคัญๆ หลายคน ซึ่งนักศึกษาควรจะทำความรู้จักไว้เช่น PLATO นักปรัชญากรีก มีความเห็นว่ากฎหมายที่มนุษย์ร่างขึ้นใช้บังคับกับคนทั่วไปจึงทำให้มีลักษณะ แข็งกระด้าง ไม่สามารถสร้างความยุติธรรมให้แก่บุคคลทุกคนในแต่ละกรณี เพราะบุคลิกภาพ และปัจจัยของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน ฉะนั้น กฎหมายธรรมชาติจึงเป็นสิ่งที่ถูกต้องและเป็นธรรม เพราะเกิดจากการใช้สติปัญญาและเหตุผลของผู้ปกครองสังคม ARISTOTLE นักปรัชญากรีกเช่นกัน ได้อธิบายถึงกฎหมายธรรมชาติว่า สิทธิธรรมชาตินั้นมีอยู่จริง เป็นสิ่งที่มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง แต่กฎหมายที่มนุษย์คิดขึ้นเป็นกฎหมายที่เกิดขึ้นจากความจำเป็นบางประการใน การอยู่ร่วมกัน และใช้ได้สำหรับคนในกลุ่มนั้นเท่านั้น CICERO นักปรัชญาอังกฤษ ได้เขียนเรื่องกฎหมายธรรมชาติไว้ในหนังสือชื่อว่า “LAWS” โดยเขียนไว้ว่า กฎหมายที่แท้จริง คือเหตุผลที่ถูกต้องสอดคล้องเป็นธรรมชาติ ไม่เกิดจากอารมณ์ หรือจากเจตนาของบุคคลหนึ่งบุคคลใด โดยเฉพาะมีความสม่ำเสมอเป็นนิจนิรันดร์ ไม่เปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา สถานที่และตัวบุคคล ก่อให้เกิดหน้าที่ที่จะต้องทำโดยคำสั่ง เป็นหน้าที่อันศักดิ์สิทธิ ที่จะต้องไม่บัญญัติกฎหมายให้ขัดแย้งกับ 


              กฎหมายธรรมชาติ ST.THOMAS AQUINAS นักปรัชญาชาวอิตาลี ได้รับอิทธิพลของนักปรัชญาสมัยกรีกโดยเฉพาะจาก ARISTOTLE และในขณะเดียวกันก็เห็นด้วยกับความเห็นของ CICERO มีความเห็นว่าสังคมคือหน่วยต่างๆ ที่มารวมกันภายใต้กฎเกณฑ์ความยุติธรรมและเพื่อประโยชน์ร่วมกัน เพราะฉะนั้น อำนาจจึงเกิดจากธรรมชาติ ซึ่งมีพระเจ้าเป็นที่มาและแสดงออกโดยประชาชนที่รวมกัน แต่จะให้ใครเป็นผู้ใช้ก็แล้วแต่ระบบของสังคมนั้นๆ เช่น กษัตริย์หรือขุนนาง แต่จะใช้อย่างไร ผู้ใช้ต้องมีศีลธรรม AQUINAS ได้แบ่งกฎหมายออกเป็น 4 ประเภท โดยกล่าวว่ากฎหมายที่มนุษย์สร้างขึ้นเป็นกฎหมายที่อยู่ในคั่นต่ำสุด ถ้าขัดหรือแย้งกฎหมายธรรมชาติแล้วย่อมไม่มีสภาพบังคับ ROUSSEAU นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในความคิดที่ว่า พระเจ้าเป็นผู้บัญญัติกฎหมาย โดยได้กล่าวไว้ว่า มนุษย์นั้นถือกำเนิดโดยเสรี จนได้มีการสนับสนุนคำพูดของ ROUSSEAU ในปี ค. ศ. 1789 โดยประเทศฝรั่งเศสได้มีคำประกาศสิทธิมนุษย์ชนว่า ถ้ามนุษย์ ไม่มีสิทธิเสรีภาพแล้วก็ไม่มีความเป็นมนุษย์อีกต่อไป


สำนักกฎหมายบ้านเมืองคืออะไร ?
       สำนักกฎหมายบ้านเมือง (สำนักปฏิฐานนิยมทางกฎหมายLegal Positivism)
สำนักกฎหมายบ้านเมืองนั้น เป็นแนวความคิดปฏิเสธ กฎหมายที่สูงกว่า (Higher Law) หรือกฎหมายธรรมชาติ (Natural Law) สิ่งที่ยอมรับเป็นกฎหมายที่แท้จริงคือกฎหมายบ้านเมืองหรือกฎหมายที่ใช้ บังคับอยู่เท่านั้น


          กฎหมายบ้านเมือง เป็นกฎหมายที่ตั้งอยู่ได้โดยไม่ต้องอาศัยกฎหมายที่สูงกว่าเนื่องจากถือว่า รัฐาธิปัตย์มีอำนาจสูงสุดที่จะออกกฎหมายใดก็ได้ โดยมิอาจโต้แย้งถึงความถูก ความผิด ความดี ความชั่ว   ยุติธรรม อยุติธรรม เพราะถือว่าสิ่งเหล่านี้เกิดจากกฎหมายที่รัฐาธิปัตย์มีอำนาจที่จะบัญญัติ ขึ้น สาระสำคัญของความคิดนักคิดในแนวนี้ได้แก่


         1. ทฤษฎี “อำนาจอธิปไตย” ของ Jean Bodin (ฌอง โบแดง)
 ให้ความหมายของอำนาจอธิปไตยว่าเป็นอำนาจเด็ดขาดและถาวร เป็นอำนาจสูงสุดที่มิอยู่ภายใต้บังคับของกฎเกณฑ์ใดๆแสดงออกโดยการออกกฎหมาย และยกเลิกกฎหมายเพื่อพิสูจน์ว่าเป็นรัฐที่แท้จริง จากคำสอนของโบแดง ทำให้เกิดความคิดที่ถือว่า “กฎหมายเป็นสิ่งที่มนุษย์บัญญัติขึ้น” ซึ่งพัฒนาไปสู่ความคิดสำนัก กฎหมายบ้านเมือง
         
         2. ทฤษฎี “สัญญาสวามิภักดิ์” ของThomas Hobbes (โทมัส ฮอบส์)
 เชื่อในอำนาจรัฐาธิปัตย์อย่างสมบูรณ์แบบ โดยเชื่อว่ามนุษย์ชั่วร้าย ขัดแย้งกันตลอด จึงเข้าทำสัญญาประชาคมยกเลิกอำนาจให้รัฐาธิปัตย์เพื่อคุ้มครองรักษาให้แต่ละ คนมีชีวิตรอด ซึ่งการมอบอำนาจให้รัฐาธิปัตย์นั้นเป็นการมอบอำนาจแบบสวามิภักดิ์  คือให้อำนาจเด็ดขาดให้ปกครองดูแล ลงโทษ ยอมให้ออกกฎหมายได้ ซึ่งกฎหมายคือคำสั่งของรัฐาธิปัตย์นั่นเองเครื่องมือรักษาความสงบของรัฐ าธิปัตย์ คือ กฎหมายบ้านเมืองซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ทั้งโดยตรงและโดยปริยายที่รัฐสั่งการและ กำหนดไว้ว่าเป็นสิ่งถูก-ผิด บังคับแก่ประชาชน เมื่อรัฐเป็น ผู้กำหนดความถูก-ผิด ยุติธรรม-อยุติธรรม จึงไม่อาจมีกฎหมายใดที่อยุติธรรมได้ เพราะเมื่อประชาชนเข้าทำสัญญาตกอยู่ใต้อำนาจรัฐแล้วเท่ากับว่าประชาชนเป็น ผู้บัญญัติกฎหมายและย่อมไม่มีใครที่จะออกกฎหมายมาข่มเหงตัวเอง กฎหมายทั้งหลายจึงเป็นธรรมและประชาชนต้องยอมรับโดยดุษฎี


         3. ทฤษฎี “กฎหมาย คือ คำสั่งของรัฐาธิปัตย์” ของ John Austin (จอห์น ออสติน)
กฎหมาย คือ คำสั่งของรัฐาธิปัตย์ กฎหมายที่แท้จริงสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
            1. กฎหมายที่พระผู้เป็นเจ้ากำหนดขึ้นใช้บังคับกับมนุษย์
            2.กฎหมายที่มนุษย์กำหนดขึ้นเพื่อใช้บังคับมนุษย์ด้วยกัน


แนวคิดความยุติธรรมของสำนักกฎหมายบ้านเมือง
       - ความยุติธรรม คือการรักษาไว้ซึ่งคำสั่งที่เป็นกฎหมายใช้อย่างมีมโนธรรม
       -หลักความยุติธรรมสูงสุดก็คือหลักความยุติธรรมตามกฎหมาย
       -ความยุติธรรมเป็นคุณธรรมในจิตใจมนุษย์ เป็นความรู้สึกของแต่ละบุคคล


        ดังนั้นความยุติธรรมของแต่ละคนจึงแตกต่างกัน ความยุติธรรมจึงเป็นเรื่องของความยุติธรรมตามกฎหมายเท่านั้น ความยุติธรรมภายใต้กฎหมาย มองความยุติธรรมทำนองเดียวกับปรัชญาเคารพกฎหมายอย่างเชื่อมั่น ถือว่าเป็นความยุติธรรมตามกฎหมาย ความยุติธรรมตามกฎหมายผูกพันความเชื่อทางศาสนา พระเจ้าของชาวยิวถือว่ากฎหมาย และความยุติธรรมเป็นสิ่งเดียวกันมีกำเนิดจากพระเจ้า พระเจ้าเป็นผู้พิพากษา, ผู้บัญญัติกฎหมาย จึงให้ความสำคัญต่อกฎหมาย และความยุติธรรมอย่างเสมอภาคกัน ความยุติธรรมกับกฎหมายคือการใช้กฎหมายหรือการตีความกฎหมายโดยปราศจากความ ลำเอียงเป็นความยุติธรรมในการใช้กฎหมายในรูปธรรม


สำนักกฎหมายบ้านเมือง
        1.กฎหมายทันสมัยกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
        2.ยอมรับการนำกฎหมายของประเทศอื่นมาใช้ในประเทศตน
        3.เน้นนิติบัญญัติ
        4.ไม่เน้นความยุติธรรมตามธรรมชาติแต่เน้นความยุติธรรมในตัวบทกฎหมายเท่านั้น


          ความเหมือนและความแตกต่าง 
          สำนักกฎหมายบ้านเมืองกับสำนักประวัติศาสตร์ คือ สำนักกฎหมายบ้านเมืองและสำนักประวัติศาสตร์กฎหมายมีความเชื่อเหมือนกันว่า สังคมคือสิ่งที่ให้กำเนิดกฎหมายมิใช่พระเจ้า หรือกฎเกณฑ์ธรรมชาติข้อแตกต่าง




          ข้อสรุป
          แนวคิดของสำนักกฎหมายบ้านเมืองมีความคิดว่ากฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในบ้าน เมืองซึ่งบัญญัติโดยรัฐเป็นกฎหมายที่แท้จริงมีความสมบูรณ์ในตัวเองไม่มี กฎหมายอื่นที่เหนือกว่า การแก้ไขข้อพิพาททั้งปวงให้คิดจากกฎหมายบ้านเมืองที่ใช้บังคับกันอยู่โดยไม่ ต้องพึ่งพาหลักการอื่นใดที่สูงกว่า
 








ที่มา  http://www.lawsiam.com/?name=blog&file=readblog&id=128

1 ความคิดเห็น: