วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555


กรณีที่ไม่จำเป็นต้องนำพยานหลักฐานมาพสูจน์






ตาม ป.วิ.พ มาตรา 84(1)(2)(3)


การวินิจฉัยปญหาข้อเท็จจริงัในคดีใดจะต้องกระทำโดยอาศัยพยานหลักฐานในสำนวนคดีนั้น เว้นแต่
          (1)ข้อเท็จจริงซึ่งรู้กันอยู่ทั่วไป
          (๒ ) ข้อเท็จจริงซึ่งไม่อาจโต้แย้งได้ หรือ
          (3)  ข้อเท็จจริงที่คู่ความรับหรือถือว่ารับกันแล้วในศาล

ข้อเท็จจริงซึ่งรู้กันอยู่ทัวไป (ป.วิ.พ. มาตรา 84(1)
ความหมายของข้อเท็จจริงซึงรู้กันอยู่ทัวไปไม่มีเขียนไว้ในกฎหมายแต่มีความเห็นในทางวิชาการสรุปตรงกันได้ว่า คือ ข้อเท็จจริงทีมีลักษณะ่ ดังต่อไปนี้
          1. ข้อเท็จจริงทีคนในสังคมทัวไปรู้กันอย่างถูกต้อง
          2. ข้อเท็จจริงทีแม้ว่าคนทัวไปไม่รู้แต่สามารถตรวจสอบข้อมูลต่างๆ แล้วจะได้ข้อมูลทีถูกต้อง
เช่น- การคำนวณวันเวลาทางปฏิทิน หรือ - วันเวลาทางจันทรคติ หรือ - การคำนวณตามมาตราส่วนวัดในระบบต่างๆ



            ข้อสังเกตุ
            ศาลไทยตีความหมายของข้อเท็จจริงซึ่งรู้กันอยู่ทั่วไปในลักษณะจำกัด ดังตัวอย่างฎีกาที่จะศึกษาต่อไปนี้ ซึ่งมีผลทำให้ คู่ความไม่แน่ใจข้อเท็จจริงใดที่ศาลจะถือว่าเป็นข้อเท็จจริงซึ่งรู้กันอยู่ทั่วไป 


􀂾 คู่ความจึงต้องนำสืบพยานหลักฐานไว้ก่อนเป็นการกันเหนียว
            ก. ตัวอย่างข้อเท็จจริงซึ่งรู้กันอยู่ทั่วไปศาลเป็นผู้รู้และเข้าใจภาษาไทยดีอยู่แล้ว คู่ความไม่มีหน้าที่นำสืบอธิบายความหมายหรือแปลความหมายของภาษาไทย
แต่มีข้อยกเว้นอยู่ในกรณีที่เป็นภาษาท้องถิ่นหรือภาษาตลาดที่เข้าใจความหมายกันเฉพาะกลุ่ม เฉพาะพวก

           (2) เหตุการณ์ทางภูมิศาสตร์ หรือ วิทยาศาสตร์ซึ่งทราบกันทั่วไป
           (3) เหตุการณ์บ้านเมืองเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ในบ้านเมืองและสังคมซึงรู้กันอยู่่ทัวไป เช่น

ระบอบการปกครองประเทศ ฎ.3230/2532 ข้อเท็จจริงทีว่า่ วันใดเป็นวันหยุดราชการหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงซึงรู้กันอยู่ทัวไป่่ และศาลรู้ได้เองโดยคู่ความไม่ต้องนำสืบ (ฎ.8874/2543 วินิจฉัยทำนองเดียวกัน)
(หมายเหตุ คณะรัฐมนตรีเป็นผู้กำหนดวันหยุดราชการของไทย) แต่ศาลไม่ยอมรับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานะของบุคคล   (ดู ฎีกาในตัวอย่างข้อ ข.)


           (4) จารีตประเพณีท้องถิ่นหมายถึง จารีตประเพณีทีปฏิบัติในท้องถิ่นนั้นๆ่่ จนเป็นทีรู้กันอยู่ทัวไปเช่น เมือพูดถึงขลุ่ย ย่อมหมายถึงเครืองดนตรี่พื้นบ้านชนิดหนึง หรือลิเก หมายถึง การแสดงละเล่น เป็นต้น เช่น วัน เดือน ปี ข้างขึ้น ข้างแรม ฤดูกาล ถนนหนทาง สถานทีตั้งทางภูมิศาสตร์ของทีสำคัญๆ


ฎ.755/2491 ตามปกติดวงจันทร์จะเริมขึ้นจากพิภพ่ในวันเวลาใด เป็นหน้าทีของศาลจะต้องรู้เพราะเป็นสิงที่่่เป็นไปตามวิสัยธรรมของโลกทีรู้กันอยู่ทัวไป


ฎ.6918/2540 วินิจฉัยทำนองเดียวกัน


ฎ.436/2509 เรือยนต์หางยาวของกลางคดีนี้เป็นเรือที่รู้จักกันอยู่ทั่วไปว่าเป็นเรือเล็กๆ ไม่ใหญ่โตชนิดหนึงใช้วิง่่รับส่งในแม่นํ้าลำคลอง โดยข้อเท็จจริงไม่มีทางจะฟังว่าเป็นเรือมีระวางบรรทุกเกิน 250 ตันได้เลย ฉะนั้น แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องว่า มีระวางบรรทุกเท่าใด ศาลย่อมรับฟังข้อเท็จจริงได้ว่าเรือยนต์หางยาวพร้อมด้วยเครืองของกลาง่คดีนี้ มีระวางบรรทุกไม่เกิน 250 ตัน


            ป.วิ.พ. มาตรา 84(1) นำไปใช้ในคดีอาญาด้วย  (โดย ป.วิ.อ. มาตรา 15)

ฎ.4636/2543 การกระทำผิดใดจะเป็นภัยร้ายแรงต่อสังคมส่วนรวมหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงทีรู้กัน ่
อยู่ทั่วไปโดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84(1) ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 และสภาพความผิดดังกล่าวศาลอาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยประกอบการพิจารณาลงโทษจำเลยได

            ข. ตัวอย่างที่ไม่ใช่ข้อเท็จจริงซึ่งรู้กันอยู่ทั่วไป ฎ.254/2488 สถานีรถไฟจะมีทีใดบ้างและจะจอดหรือไม่ ศาลรับรู้เองไม่ได้(2) ระเบียบ ประกาศ คำสังของทางราชการ่􀀲 ไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ศาลรู้เอง
บทบัญญัติว่าด้วยข้อเท็จจริงซึงรู้กันอยู่ทัวไปนี้่่ ศาลฎีกาวางหลักในลักษณะทีจำกัดมาโดยเฉพาะกรณีที่มีประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งของทางราชการ ซึ่งแม้จะออกโดยผลของกฎหมายและได้มีการประกาศในราชกิจจาฯ แล้วก็ตาม ศาลฎีกาถือว่าประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งนั้นไม่ใช่ข้อกฎหมายและศาลก็ไม่ยอมรับว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวที่ได้ประกาศในราชกิจจาฯ แล้วเป็นข้อเท็จจริงอันรู้แก่บุคคลทั่วไป
แต่ถ้ามีฐานะเป็นกฎหมาย เช่น􀀾พระราชกฤษฎีกา 􀀾กฎกระทรวง หรือ􀀾กฎหมายขององค์กรส่วนท้องถิ่น
เช่น เทศบัญญัติศาลต้องรู้เอง เพราะเป็นข้อกฎหมาย เช่น


ฎ.1434/2545 โจทก์เป็นนิติบุคคล ตาม พ.ร.บ. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ในเอกสารตามทีกฎหมายบังคับให้ปิด่ ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร และเป็นสิงทีศาลรู้เองโจทก์ไม่ต้องนำสืบ


ฎ.214/2498 ตามความใน พ.ร.บ.จัดวางระเบียบราชการกรมตำรวจในกระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2491 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้กำหนด ตั้งหน่วยงานและเขตอำนาจการรับผิดชอบหรือเขตพื้นทีปกครองของหน่วยราชการโดยประกาศ่ในราชกิจจาฯ ข้อกำหนดหรือข้อบังคับนั้นๆ เป็นข้อเท็จจริงไม่ใช่ข้อกฎหมาย


ฎ.295/2516 กฎมหาเถรสมาคม ออกตามความ พ.ร.บ. คณะสงฆ์ ไม่ใช่ข้อกฎหมายแต่เป็นข้อเท็จจริงทีคู่ความจะต้องนำสืบ


ฎ.1072/2518 การจ่ายเงินบำเหน็จตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด ตาม พ.ร.บ.การประมง โจทก์จะต้องนำสืบระเบียบดังกล่าว


ฎ.650/2532 ประกาศกระทรวงการคลังเรืองอัตราดอกเบี้ยทีสถาบันการเงินคิดได้่่ ไม่ใช่ ข้อกฎหมายแต่เป็นข้อเท็จจริงทีต้องนำสืบ (ฎ.567/2536 และ ฎ 7302/2538 วินิจฉัยทำนองเดียวกัน)


ฎ.2043/2540 ประกาศของกระทรวงการคลังเรื่องอัตราดอกเบี้ยสูงสุดเป็นข้อเท็จจริง ทีโจทก์จะต้องนำสืบ การทีโจทก์ไม่ระบุอ้างประกาศดังกล่าวในบัญชี่ระบุพยานจึงเป็นการไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคแรก
แต่ ฎ.4072/2545 จำเลยยอมรับข้อเท็จจริงว่า โจทก์เป็นสถาบันการเงิน ดังนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจเงินทุน ฯ ข้อกฎหมายดังกล่าวศาลรู้ได้เองโดยโจทก์ไม่ต้องสืบพยานประกอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84
ข้อสังเกตนักกฎหมายส่วนใหญ่ยังเห็นว่า ฎ.4072/2545 ไม่ได้กลับหลักเดิม เพราะข้อเท็จจริงตาม ฎ.4072/2545 น่าจะเป็นเรื่องที่คู่ความอีกฝ่าย ได้ยอมรับการมีอยู่ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับดังกล่าวแล้ว ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการมีอยู่ของประกาศจึงยุติ


            (3) ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานะของบุคคล
สถานะการดำรงตำแหนงของบุคคล่ เช่น
- การเป็นรัฐมนตรี หรือ
- การเป็นเจ้าพนักงานในตำแหนงตางๆ่่แม้ว่าจะประกาศในราชกิจจาิ่นุเบกษา
แต่ก็ไม่่ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงซึ่งรู้กันอยู่ทั่วไป



ฎ.917/2498 ข้อเท็จจรงที่วาใครดำรงตำแหนงิ่่อธบดีกรมอัยการในขณะเกิดเหตุิิ ไมใชข้อเท็จจริงซึ่่งรู้กันอยู่ทั่วไป


ฎ.4822/2533 จำเลยทั้งสองได้ปฏิเสธไว้โดยชัดแจ้งในคำให้การแล้วว่า ว.ไม่ใช่อธิบดีโจทก์ในขณะ่ิ่ฟ้องคดี และไม่ใช่ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ิ่ ข้อเท็จจริงดังกลาวจึงเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องนำสืบ ไม่ใช่ข้อเท็จจริง ที่รู้กันอยู่โดยทั่วไป


ฎ.2548/2534 ข้อเท็จจริงที่ว่าิ่ อ. ยังคงดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ขณะที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์ิกล่าวอ้างและไม่ใช่ข้อเท็จจริงซึ่งรู้กันอยูทั่วไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84(1) เมื่อโจทก์ไม่นำสืบ โจทก์จึงไมมีอำนาจฟ้อง


ฎ.3597/2541 คำสั่งกรมตำรวจเรืองมอบอำนาจให้่หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการอื่นๆ่ ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมตำรวจ ไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ศาลรู้เองได ้
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84 เมือโจทก์มิได้นำสืบว่าตำแหน่งรองผู้บังคับการหัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดเป็นตำแหน่งเดียวกันกับตำแหน่งหัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดตามคำสังของกรมตำรวจ จึงฟังไม่ได้ว่าพันตำรวจเอก ว. ดำรงตำแหน่งหัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดหรือตำแหน่งเทียบเท่าตามคำสัง โจทก์จึงไม่อาจอ้างคำสังมาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ได้่



           18.2 ข้อเท็จจริงซึ่งไม่อาจโต้แย้งได้ (ป.วิ.พ. มาตรา 84(2) ข้อเท็จจริงซึ่งไมอาจโต้แย้งได้นั้น ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติิ คู่ความจะนำสืบโต้แย้งเป็นอย่างอื่นไมได้่่่
                 18.2.1 มีบทสันนิษฐานข้อเท็จจริงนั้นเด็ดขาด ข้อเท็จจริงซึ่งไม่อาจโต้แย้งได้เมื่อมีกฎหมายบัญญัติิสันนิษฐานข้อเท็จจริงใดไว้เป็นเด็ดขาดแล้ว คู่ความรวมถึงศาลด้วยก็ไม่่อาจโต้แย้งเป็นอยางอื่นได้่ จำจะต้องถือข้อเท็จจริงยุติตามที่กฎหมายสันนิษฐานไว้เป็นการเด็ดขาดนั้นคู่ความจะนำพยานมาสืบให้ผิดเพี้ยนไปจากที่ิ่กฎหมายสันนิษฐานเด็ดขาดไว้ไม่ได้  ศาลจะวินิจฉัยเป็นอยางอื่นก็ไมได้  ศาลต้องไม่ให้สืบพยานหลักฐาน ถ้าสืบกันมาก็ต้องห้ามไมให้ใช้พยานหลักฐานนั้น ต้องวินิจฉัยไปตามที่กฎหมายบัญญัตไว้เป็นเด็ดขาด ตัวอย่างเช่น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 4 วรรคสอง
                “การกระทำความผิดในเรือไทยหรืออากาศยานไทย ไม่ว่าจะ อยู่ ณ ที่ใด ใหถื้อว่ากระทำความผิดในราชอาณาจักร” หรือ 

                 มาตรา 60  “ผู้ใดเจตนาที่จะกระทำต่อบุคคลหนึ่ง แต่ผลของการกระทำเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่งโดยพลาดไป ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำโดยเจตนาแก่บุคคลซึ่งได้รับผลร้ายจากการกระทำนั้น”
(และดู พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 15,16 ซึ่งมีบทสันนิษฐานเด็ดขาดเรื่องการมีไว้ครอบครองซึ่งยาเสพติดเพื่อจำหน่าย)

ป.พ.พ. มาตรา 1546 “ เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้สมรสกับชายให้ถือวา่เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น"
          18.2.2 การห้ามสืบพยานหลักฐานเนื่องจากมีกฎหมายปิดปากบางทฤษฎีถือว่าข้อเท็จจริงซึ่งไม่อาจโต้แย้งได้เป็นคนละเรื่องกับการห้ามสืบพยานหลักฐานเนื่องจากมีกฎหมายปิดปากทฤษฎีดังกล่าวถือว่า่่“กรณีที่คู่ความหมดสิทธที่จะนำเสนอพยานหลักฐานน่าจะไมใช่เป็นเรื่องของการหมดสิทธนำ่่ิิ่สืบพยานหลักฐาน แต่น่าจะถือว่าเป็นกรณีที่คดีไม่มี่่่่ประเด็นที่คู่ความจะต้องนำสืบอันเป็นเรื่องของการกำหนดประเด็นหน้าที่นำสืบและภาระการพสูจน์มากกว่านอกจากนั้นยังไปเกี่ยวกับผลของคำพิพากษาว่าิ่ผูกพันคู่ความและบุคคลภายนอกเพียงใด? หรือกรณีที่ได้มีคำพิพากษาในคดีก่อนแล้ว ข้อเท็จจริงดังกล่าวซึ่งศาลพิจารณายุติแล้วจะมีผลเพียงใด? และรวมถึงกรณีที่ผลของคำพิพากษาในศาลหนึ่งจะผูกพันให้ศาลอื่นต้องถือตามเพียงใด?เช่น คำพิพากษาในคดีอาญาจะผลผูกพันในคดีิแพ่งเพียงใด เป็นต้น กรณีที่กฎหมายปิดปากจึงเป็นเรื่องที่มิให้คู่ความยกขึ้นเป็นประเด็นโต้เถียงขึ้นมาอีก ส่วนใหญ่แล้วจะศึกษากันโดยละเอียดในกฎหมายวิธีิ่พิจารณาความมากกว่าในกฎหมายลักษณะพยานส่วนอีกทฤษฎีหนึ่ง ถือว่า่กฎหมายปิดปากเป็นสวนหนึ่งของ “ข้อเท็จจริงซึ่งไมอาจโต้แย้งได้”
ตัวอย่างกฎหมายปิดปาก“คดีใดที่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้ว ห้ามมิให้คู่ความรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เว้นแต่…”


         (1) กรณีฟ้องซํ้าในคดีแพ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
         (2) ผลของคำพิพากษาในคดีแพ่งผูกพันบุคคลภายนอก ปกติแล้วคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีแพ่งไม่มีิิ่่ผลผูกพันบุคคลภายนอก แตบางกรณีอาจมีข้อยกเว้น่ เช่น
         - คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิแห่งทรัพย์สินใดๆ
         - คำพิพากษาเกี่ยวกับฐานะหรือความสามารถของบุคคล หรือ (ป.วิ.พ. มาตรา 145)

        (3) คำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง หรือฟ้องซํ้าในคดีอาญา (ป.วิ.อ.มาตรา 39(4)
มาตรา 39(4)“สิทธินำคดีอาญามาฟ้องยอมระงับเมื่อคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง”
        (4) ข้อเท็จจริงคดีอาญาผูกพันคดีแพงิ่ ป.วิ.อ.มาตรา มาตรา 46“ในการพจารณาคดีิสวนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำ่ิ่พิพากษาคดีส่วนอาญาิ่”


ฎ.2853/2550 การทีจำเลยที่่ 1 ยอมให้พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับและชำระค่าปรับแล้ว มีผลเพียงทำให้คดีอาญาดังกล่าวเลิกกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 37 เท่านั้น การเปรียบเทียบปรับของพนักงานสอบสวนดังกล่าวไม่ใช่คำพิพากษาคดีส่วนอาญา กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 46 ที่คดีในส่วนแพ่งจะต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค่ 8 ถือเอาข้อเท็จจริงในคดีอาญาที่จำเลยที่ 1 ยอมรับต่อพนักงานสอบสวนว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์โดยประมาทมาชี้ขาดตัดสินนี้เป็นการไม่ชอบ
ข้อสังเกตกรณีที่กฎหมายปิดปากทั้ง 4 เรื่องดังกลาวมีการศึกษาโดยละเอียดตามหลักสูตรกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และกฎหมายวิธีพิจารณาิิความอาญาแล้ว จึงไม่ขออธิบายซํ้าอีก

บทกฎหมายลายลักษณ์อักษร

บทกฎหมายลายลักษณ์อักษร
             
                     เป็นบทกฎหมายที่บัญญัติขึ้นโดยรัฐสภา และบทกฎหมายลายลักษณ์อักษรมีฐานะเป็นบ่อเกิดกฎหมายลำดับรองทั้งนี้ด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์ในปัจจุบันเนื่องจากการขยายตัวของสังคมที่มีความซับซ้อนมากขึ้นนับตั้งแต่ประเทศอังกฤษได้เริ่มเข้าสู่ระบบประชาธิปไตยโดยกำเนินแนวทางรัฐสวัสดิการ และนำประเทศเข้าสูระบบประชาคมเศรษฐกิจยุโรป บทกฎหมายลายลักษณ์อักษรจึงได้ทวีความสำคัญและเริ่มมีการยอมรับว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายเป็นบ่อเกิดของกฎหมายเทียบเท่าหลักกฎหมายในคำพิพากษามากขึ้นทุกที โดยรัฐสภาได้มีบทบาทในการตรากฎหมายลายลักษณ์อักษรมาใช้มากยิ่งขึ้น ซึ่งศาลคอมมอนลอว์ต้องยอมรับบังคับใช้กฎหมายลายลักษณ์อักษรนั้น โดยถือว่าบทกฎหมายลายลักษณ์อักษรเป็นข้อยกเว้นของหลักคอมมอนลอว์และหากว่าบทกฎหมายลายลักษณ์อักษรนั้นขัดแย้งกับแนวคำพิพากษาเช่นนี้ถือว่าแนวคำพิพากษานั้นถูกยกเลิกไป การใช้บทกฎหมายลายลักษณ์อักษรนี้ในกรณีบทกฎหมายนั้นชัดเจนผู้พิพากษาจะปรับใช้กฎหมายตามตัวอักษรแต่ถ้าเป็นที่สงสัยศาลจะตีความให้มีความหมายอย่างแคบเพื่อที่จะไม่ให้บทกฎหมายลายลักษณ์อักษรนั้นเข้าตัดทอนของเขตของหลักคอมมอนลอว์ ทั้งนี้เพื่อจะรักศาไว้ซึ่งอำนาจศาลให้มาที่สุด อย่างไรก็ตามในทัศนของผู้พิพากษาคอมมอนลอว์มักถือว่าบทกฎหมายลายลักษณ์อักษรมีฐานะต่ำกว่าหลักกฎหมายจากคำพิพากษาและจะไม่ยอมรับเข้าสู้ระบบกฎหมายอย่างจริงจังจนกว่าจะมีรำพิพากษาของศาลใดศาลหนึ่งในบทกฎหมายลายลักษณ์อักษรนั้นไปใช้บังคับเสียก่อน และเมื่อเกิดข้อพิพากษาทำนองเดียวกัน ศาลที่พิจารณาคดีมักจะนิยมอ้างคำพิพากษามากกว่าอ้างกฎหมาย




เขียนโดย Ferrari ที่ 21:49 

หลักกฎหมายจากคำพิพากษา

หลักกฎหมายจากคำพิพากษา

               บ่อเกิดของกฎหมายท่ำคัญที่สุดในระบบคอมมอนลอว์ คือ หลักกฎหมายจากคำพิพากษาของศาล โดยสืบทอดมาจากระบบศาลหลวงที่ถือว่าเหตุผลได้รับการพิเคราะห์ข้อเท็จจริงเป็นกฎหมายที่ดีที่สุดสำหรับตัดสินข้อพิพาท เพราะเหตุผล (Reason) มีค่าเป็นกฎหมายอยู่แล้ว ศาลเป็นเพียงผู้ค้นพบและประกาศใช้ และการที่ศาลระบบคอมมอนลอว์ยอมผูกพันตามแนวคำพิพากษาเป็นบรรทัดฐานก็เป็นไปตามหลักที่ว่า ข้อเท็จจริงอย่างเดียวกัน ย่อมต้องได้รับการปฏิบัติเช่นเดียวกัน แต่การที่ศาลระบบคอมมอนลอว์จะยอมผูกพันยืดถือตามแนวคำพิพากษาเดิม(The Doctrine precedent)นั้นย่อมขึ้นอยู่กับเงื่อนไข 2 ประการ คือ
              (1) ส่วนที่เป็นเหตุผลที่จำเป็นในการวินิจฉัยคดีนั้น (The ratio decidendi)
              (2)คำพิพากษาน้นต้องเป็นคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา (House of Lords)
ดังนี้จะเห็นได้ว่าการพัฒนาหลักกฎหมายต่างๆ ในระบบคอมมอนลอว์นั้นจะถูกรุงแต่งโดยศาลหรือผู้พิพากษา ทำให้กฎหมายมีรายละเอียดมากในทางฎิบัติและผูกติดอยู่กับกฎหมายวิธีพิจารณาความ จนกระทั้งนักกฎหมายมีรายละเอียดมากในทางปฎิบัติและผูกติดอยู่กับกฎหมายวิธีพิจารณาความ จนกระทั้งนักกฎหมายไม่เห็นประโยชน์ของการศึกษาเชิงทฤษฎี บทบาทของมหาวิทยาลัยกฎหมายและนักวิชาการอยู่ในวงแคบ ทำให้การพัฒนากฎหมายอยู่ในมือของนักปฎิบัติ คือ ศาลและเนติบัณฑิต ซึ่งรับการศึกษาจากโรงเรียนกฎหมาย ระบบกฎหมายคาอมมอนลอว์จึงได้รับการพัฒนาแบบเป็นไปเองภายใต้หลัก “เหตุผลในคำพิพากษา(The ratio decidendi)” เป็นผลให้โครงสร้างของกฎหมายขาดลักษณะที่เป็นระเบียบสอดคล้องกันไม่เป็นตรรกและเข้าใจยากว่าในระบบกฎหมายซีวิลลอว์ ซึ่งได้รับการพัฒนาจากนักวิชาการทางนิติศาสตร์และมีลักษณะเป็นระบบมากกว่า ผู้พิพากษาหรือศาลในระบบคอมมอนลอว์นี้มีบทบาทสำคัญมากจนกระทั่งเราเรียกระบบกฎหมายนี้ว่า ระบบกฎหมายที่ศาลกำหนดขึ้น (Judge made law) และอาจกล่าวได้ว่าคำพิพากษาของศาลคอมมอนลอว์นั้น นอกจากจะมีบทบาทในการปรับปรุงใช้กฎหมายแก่ข้อเท็จจริงแล้วยังมีบทบาทในการวางนิติวิธีทางกฎหมายด้วย ดังนั้นจะเห็นได้ว่าอำนาจของศาลในระบบคอมมอนลอว์มีมากกว่าในระบบซีวิลลอว์มาก หลักเกณฑ์ที่ศาลตั้งขึ้นจากการพิจรณาข้อเท็จจริงโดยคำพิพากษานี้จะต้องได้รับการถือตาม (Precedent) เพื่อให้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์มีหลักประกันความแน่นอนและไม่ตกอยู่ภายใต้อำเภอใจของผู้พิพากษา อย่างไรก็ตามการถือตามแนวคำพิพากษานี้มีปัญหาว่านานไปแนวคำพิพากษานั้นอาจจะไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง ดังนั้นจึงมีข้อยกเว้นการใช้หลัก (Precedent) นี้ในกรณีที่ข้อพิพากษาต่างกัน เรียกว่า “หลักพิเคราะห์แยกแยะความแตกต่าง”(The Technique of Distinctions) คือว่าถ้าข้อเท็จจริงในคดีเหมือนกันทุกประการก็ต้องถือตามแนวบรรทัดฐานเดิม(Precedent) แต่ถ้าวิเคราะห์ออกมาแล้วปรากฏว่าข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นต่างกัน ศาลก็ไม่ต้องถือตามแนวบรรทัดฐาน และหากหลักที่ศาลวางไว้มิได้เป็นข้อวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีโดยตรงแต่เป็นเพียงข้อสังเกตหรือข้ออ้างที่กล่าวไว้ (Obiter dictum) โดยศาลมิได้มุ่งให้มีผลผูกพันในอนาคต ข้อสังเกตเช่นนั้นก็ไม่มีอำนาจบังคับให้ถือตาม ด้วยหลักพิเคราะห์แยกแยะความแตกต่าง นี้ทำให้ศาลอังกฤษสามารถพัฒนาระบบกฎหมายที่ยึดหยุ่นและสามารถแก้ไขปัญหาใหม่ ๆที่เกิดขึ้นได้ โดยไม่ต้องกลับหลักกฎหมายที่มีมาแต่เดิม
แต่อย่างไรก็ตามแม้ว่าศาลจะต้องเจริญรอยตามรำพิพากษาก่อนๆ ซึ่งเป็นแบบอย่าง (Precedent) ก็ตาม แต่หากว่าในกรณีที่คดีก่อนศาลได้ตัดสินไม่ถูกต้องศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา (House of Lords) ในคดีปัจจุบันอาจพิพากษาว่าคดีก่อนได้พิพากษาผิดพลาดไปและพิพากษากลับหลักเกณฑ์ที่คำพิพากษาในคดีก่อนได้กำหนดไว้ก็ได้ กรณีเช่นนี้ถือเป็นการสร้างแบบอย่าง (Precedent) ขึ้นมาใหม่ ทั้งนี้เพื่อความยึดหยุ่นและเหมาะสมกับสถานการณ์ใหม่ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป

วิชาว่าความ นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

เปรียบเทียบนิติวิธีในระบบซีวิลลอว์และระบบคอมมอนลอว์ 


 
              จากการศึกษานิติวิธีในระบบซีวิลลอว์และระบบคอมมอนลอว์ดังกล่าวแล้วจะเห็นได้ว่านิติวิธีในระบบกฎหมายทั้งสองนั้นมีความเหมือนหรือแตกต่างกันดังต่อไปนี้
              2.4.1. บ่อเกิดของกฎหมายหรือที่มาของกฎหมายในระบบซีวิลลอว์และระบบคอมมอนลอว์ตั้งเดิมนั้นเหมือนกันกล่าวคือมีที่มาจากจารีตประเพณีเพียงแต่ทั้งสองระบบนั้นมีพัฒนาการทางกฎหมายที่แตกต่างกันเท่านั้นเหมือนกันกล่าวคือมีที่มาจากจารีตประเพณีเพียงแต่ทั้งสองระบบนั้นมีพัฒนาการทางกฎหมายที่แตกต่างกันเท่านั้น
              2.4.2. โดยที่กฎหมายในระบบซีวิลลอว์และระบบคมอมอนลอว์มีพัฒนาการทางกฎหมายที่แตกต่างกันจึงทำให้กฎหมายทั้งสองระบบนี้ให้ความสำคัญต่อบ่อเกิดของกฎหมายแตกต่างกันดังต่อไปนี้
1) ในระบบซีวิลลอว์นั้นจะให้ความสำคัญต่อบ่อเกิดของกฎหมายเป็นลำดับดังต่อไปนี้ (1) หลักกฎหมายจากคำพิพากษา (2) บทกฎหมายลายลักษณ์อักษร (3) จารีตประเพณี (4) ข้อคิดข้อเขียนของนักนิติศาสตร์ (5) เหตุผลและความยุติธรรม
              2.4.3. ด้วยสาเหตุที่ระบบซีวิลลอว์และระบบคอมมอนลอว์ให้ความสำคัญต่อบ่อเกิดของกฎหมายแตกต่างกันไปด้วยดังต่อไปนี้
              1)วิธีศึกษาค้นคว้ากฎหมายของทั้งสองระบบมีความแตกต่างกัน กล่าวคือ
(1) ในระบบกฎหมายซีวิลลอว์ การศึกษาจะเน้นให้ความสำคัญที่ “ตัวบท”ของประมวลกฎหมาย และให้ความสำคัญแก่คำอธิบายทางทฤษฎี (Doctrine) กฎหมายต่าง ๆ ที่นักกฎหมายได้กำหนดขึ้น การสอนกฎหมายจึงเน้นหนักไปในทางสอนให้เข้าใจความหมายในตัวบทและหลักทฤษฎีกฎหมายต่าง ๆ การสอนเช่นนี้เท่ากับชี้ให้เห็นว่าศาลหรือผู้ใช้กฎหมายอื่นหากจะค้นคว้าคำอธิบายตัวบทนั้น ๆ ต่อไปแล้วจึงค่อยไปดูคำพิพากษาที่เป็นตัวอย่างในการปรับใช้กฎหมายเป็นอันดับต่อไป
(2) ส่วนนะบบกฎหมายคอมมอนลอว์ การศึกษาจะเน้นให้เห็นว่าความสำคัญอั้นดับแรกอยู่ที่คำพิพากษาที่ศาลได้พิพากษาไปแล้วเป็นลำดับมาและแสดงให้เห็นบทบาทของพระมหากษัตริย์ในการพัฒนากฎหมายและทำให้กฎหมายมีข้อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การที่ฝ่ายนิติบัญญัติออกกฎหมายลายลักษณ์อักษรมานั้นถือว่าเป็นการออกกฎหมายพิเศษ ซึ่งเป็นกฎมายที่มายกเว้นหลักคอมมอนลอว์ที่ถือเป็นกฎหมายทั่วไป การค้นคว้าก็จะเริ่มจากคำพิพากษาเป็นอันดับแรก เว้นแต่งเองที่ต้องการค้นคว้าได้มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรบัญญัติไว้ แม้กระนั้นก็ตามหากมีคำพิพากษาที่ได้ใช้บทกฎหมายลายลักษณ์อักษรนั้นแล้วศาลหรือผู้ใช้กฎหมายอื่นก็จะดูคำพิพากษาเป็นหลักมากกว่าที่จะไปดูบทกฎหมายลายลักษณ์อักษร
             2) วิธีการใช้และวิธีการแก้ไขปัญหาต่างๆ ทางกฎหมายของนักกฎหมาย ตลอดจนวิธีพิพากษาอรรถคดีของศาลทั้งสองระบบมีแนวความคิดแตกต่างกัน กล่าวคือ
(1) ศาลในระบบซีวิลลอว์ เมื่อศาลพิจารณาจนได้ข้อเท็จจริงแล้วศาลก็จะนำตัวบทกฎหมายมาปรับใช้กับข้อเท็จจริงในคดี โดยการใช้กฎหมายหรือการตีความกฎหมาย ในกรณีไม่มีบทกฎหมายมาปรับใช้ได้โดยตรงศาลอาจจะมาพิจารณาว่าจารีตประเพณีที่จะนำมาปรับใช้ได้หรือไม่ หากไม่มีศาลก็จะมาพิจารณาว่ามีหลักกฎหมายทั่วไป (ถือว่าเป็นการอุดช่องว่างแห่งกฎหมายในระบบซีวิลลอว์ หรือข้อคิดข้อเขียนของนักตินิศาสตร์เขียนไว้พอที่จะนำมาปรับใช้ได้หรือไม่เป็นอันดับสุดท้าย แต่อย่างไรก็ตามนิติวิธีในทางกฎหมายแพ่งและในทางกฎหมายอาญาต้องพิจารณาแยกต่างหากจากกัน กล่าวคือ
ในทางกฎหมายแพ่งหรือกรอบทางแพ่งหากนิติวิธีมีกำหนดไว้ ก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่บัญญัติไว้นั้น เช่น ประมวลกฎหมายแล่งออสเตรีย มาตรา 7 บัญญัติว่า “ในกรณีที่ไม่มีกฎหมายใดๆ จะปรับใช้แก่กรณีได้นั้น ให้ศาลใช้ปกติประเพณีหรือหลักกฎหมายธรรมชาติ มาปรับใช้” ในทางกฎหมายอาญา หรือกรอบในทางอาญาระบบซีวิลลอว์ต้องยึดถือหลัก “nullum crimen nulla poena sine lege” เป็นหลักสำคัญ กล่าวคือ ศาลต้องใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายเท่านั้นมาตัดสินพิพากษาคดีเพื่อลงโทษหรือเพิ่มโทษ ศาลจะนำสิ่งที่ไม่ใช่บทบัญญัติแหงกฎหมายมาตัดสินพิพากษาคดีเพื่อลงโทษหรือเพิ่มโทษไม่ได้ แต่อาจจะใช้ในทางอื่นที่เป็นคุณได้ เช่น อาจใช้จารีตประเพณี หรือหลักกฎหมายทั่วไปในทางที่เป็นคุณ เป็นต้น
(2) ส่วนในระบบคอมมอนลอว์ เมื่อศาลพิจารณาจนได้ข้อเท็จจริงแล้ว ผู้พิพากษาก็จะไปค้นคว้าคำพิพากษาที่เคยพิพากษามาแล้วสำหรับข้อเท็จจริงอย่างเดียวกันแล้วนำมาใช้เทียบเคืองพิพากษาต่อไป และหากไม่เคยมีคำพิพากษาตัดสินคดีไว้ ศาลก็จะมาพิจารณาที่บทกฎหมายลายลักษณ์อักษรศาลก็จะมาพิจารณาว่ามีจารีตประเพณีที่จะปรับใช้กับข้อเท็จจริงนั้นได้หรือไม่ หากไม่มีจีตประเพณีที่จะนำมาปรับใช้ ศาลก็จะมาพิจารณาว่ามีข้อคิดข้อเขียนของนักนิติศาสตร์มาปรับใช้ได้หรือไม่ หากไม่มี สุดท้ายศาลอาจค้นหาหลักเกณฑ์หรือสร้างหลักเกณฑ์จากข้อเท็จจริงในคดีนั้นขึ้นใหม่แล้วพิพากษาไปตามเหตุผลที่ได้จากข้อเท็จจริงในคดีนั้น (ถือว่าเป็นการอุดช่องว่างแห่งกฎหมายในระบบคอมมอนลอว์) และโดยเหตุที่ศาลในระบบคอมมอนลอว์สามารถสร้างหลักเกณฑ์หรือวางหลักเกณฑ์ขากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นใหม่ได้ นิติวิธีในทางกฎหมายแพ่ง และในทางกฎหมายอาญา จึงไม่มีความแตกต่างกันเลย เว้นแต่ในทางกฎหมายแพ่ง หรือกฎหมายอาญาที่มีบทกฎหมายลายลัษณ์อักษรกำหนดนิติวิธีไว้โดยชัดเจนเท่านั้น
ในทางกฎหมายแพ่ง หรือกรอบในทางแพ่งศาลสามารถสร้างหลักเกณฑ์ขึ้นใหม่ได้ เช่นในคดี Wilinson v Downton (1879) 2 Q.B.57 ส่นในทางกฎหมายอาญา หรือกรอบในทางอาญา นั้นโดยที่ความรับผิดทางอาญาในประเทศอังกฤษสามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะคือ ก. ความผิดตามกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร (Common law offence) ข. ความผิดตามกฎหมายลักษณ์อักษร (Statutory law offence) ซึ่งความรับผิดทั้งประเภทนี้มีนิติวิธีที่แตกต่างกัน กล่าวคือ
ก. ความผิดตามกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร (Common law offence) ความผิดประเภทนี้เกิดจากการที่ศาลคอมมอนลอว์กำหนดความความผิดทางอาญาฐานใหม่ขึ้นมาโดยวิธีการวางหลักเกณฑ์หรือวางหลักกฎหมายใหม่ๆ ขึ้นมาโดยวิธีการวางหลักเกณฑ์หรือวางหลักกฎหมายใหม่ ๆ ขึ้น โดยศาลถือหลักว่าการกระทำใดที่เป็นฝ่าฝืนและเป็นปฏิปักษ์ต่อศีลธรรมอันดีของประชาชนการกระทำนั้นย่อมอยู่ในข่ายที่จะเป็นความผิดอาญาได้ทั้งสิ้น การวางหลักเกณฑ์หรือวางหลักกฎหมายใหม่ ๆ ขึ้นในคำพิพากษานี้ต่อมากลายเป็นหลักกฎหมายตามคำพิพากษาที่เป็นบรรทัดฐาน (Precedent) ส่วนการกำหนดระวางโทษก็เป็นอำนาจในการใช้ดุลพินิจของศาลในการกำหนดระวางโทษสำหรับความผิดอาญาฐานใหม่ที่ศาลได้กำหนดขึ้นนั้น สาเหตุที่ศาลคอมมอนลอว์สามารถกำหนดความผิดอาญาฐานใหม่ขึ้มาได้และสามารถกำหนดระวางโทษสำหรับความปิดอาญาฐานใหม่ได้นั้นเป็นเพราะในระบบคอมมอนลอว์มิได้ยึดถือหลัก “nullum crimen nulla poena sine lege” เหมือนอย่างระบบซีวิลลอว์ และถือเป็นการอุดช่องว่างแห่งกฎหมายในระบบคอมมอนลอว์ซึ่งถือเป็นนิติวิธีที่สำคัญมากในระบบคอมมอนลอว์เลยทีเดียว ตัวอย่างเช่น ในคดีอาญา Rex v. Manlay (1930) หรือในคดี Shaw v.D.P.P (1962) ซึ่งเป็นการที่ศาลกำหนดความผิดอาญาฐานใหม่ขึ้นมาโดยวิธีการวางหลักเกณฑ์หรือหลักกฎหมายใหม่ ๆ ในคำพิพากษา เป็นต้น
ข.ความผิดตามกฎหมายลายลักษณ์อักษร (Statutory law offence) ความผิดประเภทนี้เป็นความผิดที่เกิดจากฝ่ายนิติบัญญัติตรากฎหมายลายลักษณ์อักษรขึ้นมาความผิดประเภทนี้เป็นความผิดเพราะกฎหมายห้าม (Mala Prohibita) ศาลจึงต้องใช้หลักเกณฑ์การวินิจฉัยความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติไว้อย่างเคร่งครัด ศาลไม่สามารถวางหลักเกณฑ์หรือวางหลักเกณฑ์หรือวางหลักกฎหมายใหม่ๆ ขึ้นมาในคำพิพากษาได้ เช่น ความผิดเกี่ยวกับภาษี ความผิดเดี่ยวกับการพนัน ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา ความผิดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
2.4.4 ความชัดเจนของกฎหมายในระบบกฎหมายทั้งสองมีความแตกต่างกัน กล่าวคือ
1) โดยที่นิติวิธีในระบบซีวิลลอว์ถือว่าบทบัญญัติไว้ในรูปประมวลกฎหมายอย่างชัดเจนไม่ว่าในทางกฎหมายแพ่งหรือกฎหมายอาญา และโดยเฉพาะในทางกฎหมายอาญาในระบบซีวิลลอว์ยึดถือหลัก “nullum crimen nulla poena sine lege” ซึ่งแปลได้ว่า “ไม่มีความผิด ไม่มีโทษโดยไม่มีกฏหมาย” ซึ่งส่งผลให้ในทางกฎหมายอาญานั้นจะต้องมีการบัญญัติไว้โดยชัดเจนว่าการกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดเป็นความผิดและจะต้องรับโทษและจะต้องรับโทษ และด้วยความชัดเจนของกฎหมายในระบบซีวิลลอว์จึงทำให้ปะชาชนสามารถทราบได้ว่าการกระทำอย่างใดเป็นความผิดและจะต้องรับโทษหรือมีกฎหมายห้ามอะไรไว้บ้าง
2) ส่วนในระบบคอมมอนลอว์โดยที่นิติวิธีในระบบนี้ถือว่าคำพิพากษาของศาลเป็นกฎหมายและเป็นบ่อเกิดอันดับแรกของกฎหมาย และโดยเหตุที่ศาลในระบบคอมมอนลอว์ สามารถสร้างหลักเกณฑ์ขากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นใหม่ได้ ดังนี้ในทางกฎหมายแพ่งหรือในทางกฎหมายอาญาศาลสามารถสร้างหรือวางหลักเกณฑ์ใหม่ได้เหมอ แต่ในทางกฎหมายอาญาความผิดตามกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร (Common law offence) โดยที่ความผิดประเภทนี้เป็นการที่ศาลคอมมอนลอว์สามารถกำหนดความผิดอาญาฐานใหม่ขึ้นมาได้โดยเกิดจากการที่ศาลคอมมอนลอว์วางหลักเกณฑ์ขึ้นมาจนกลายเป็นหลักกฎหมายตามคำพิพากษาที่เป็นบรรทัดฐาน (Precedent) ดังนี้ในความผิดอาญาประเภทนี้ศาลจึงสามารถกำหนดความผิดอาญาฐานใหม่ๆ ขึ้นมาได้เสมเมื่อเห็นว่าการกระทำที่เกิขึ้นนั้นเป็นการฝ่าฝืนและเป็นปฎิปักษ์ต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน ดังนี้จะเห็นได้ว่าความผิดตามกฎหมายที่ไม่เป็ฯลายลักษณ์อักษณระบบคอมมอนลอว์นี้ขาดความชัดเจนประชาชนไม่สามารถทราบได้ว่าการกระทำใดของตนเป็นความผิดและจะต้องรับโทษเมื่อใด หรือมีกฎหมายห้ามอะไรไว้บ้าง ส่วนความผิดตามกฎหมายลายลักษณ์อักษร( Statutory law offence) ความผิดประเภทนี้เป็นความผิดที่เกิดจากฝ่ายนิติบัญญัติตรากฎหมายลายลักษณ์อักษรขึ้นมาความผิดประเภทนี้จึงเป็นความผิดที่ความชัดเจนประชาชนสามารถทราบได้ว่าการกระทำใดของตนเป็นความผิดและจะต้องับโทษเมื่อใด หรือมีกฎหมายห้ามอะไรบ้างเหมือนอย่างในระบบซีวิลลอว์
2.4.5 ผู้ที่กำหนดนโยบายทางกฎหมายในระบบซีวิลลอว์คือ รัฐสภา เพราะรัฐสภามีหน้าที่ในการออกกฎหมายศาลมีหน้าที่ในการปรับใช้กฎหมายเท่านั้น ส่วนในระบบคอมมอนลอว์ ศาลมิได้กำหนดนโยบายทางกฎหมาย แต่ศาลสามารถปรับใช้กฎหมายได้ทันที ดังนั้นศาลจึงมีบทบาทสำคัญในการวางหลักนิติวีด้วยนั้นเอง อย่างไรก็ตามในระบบคอมมอนลอว์มัจจุบันรัฐสภามีบทบาทอย่างสูงในการกำหนดนโยบายกฎหมายและออกกฎหมายเช่นนั้น
ดังนี้ในปัจจุบันแนวความคิดของระบบกฎหมายซีวิลลอว์ และระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ แทบจะไม่มีความแตกต่างกันเท่าใดนัก กล่าวคือในระบบกฎหมายซีวิลลอว์ก็ไม่สามารถที่จะปฏิเสธได้ว่า นับวันตัวอย่างคำพิพากษามีบทบาทมากขึ้น ในฐานะของตัวอย่างการปรับใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมาย แม้จะมีข้อความที่กำหนดไว้อย่างชัดเจนในกฎหมายลายลักษณ์อัษรแล้วก็ตาม ในบางกรณีก็ต้องอธิบายด้วยตัวอย่างคำพิพากษาที่มีการแก้ปัญหาแล้วเช่นกัน ส่วนในระบบคอมมอนลอว์เองนับวันบทกฎหมายลายลักษณ์อักษรยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น มีการยอมรับมากขึ้นพอ ๆ กับการยอมรับหลัก ศาลเป็นผู้สร้างกฎหมาย (Tudge made law) ซึ่งอยู่กับสถานการณ์เปลี่ยนแปลงทางสังคม ที่มอบหมายห้ารัฐสภามามีบทบาทหน้าที่ในการบัญญัติกฎหมายลายลักษณ์อักษร นับตั้งแต่รัฐเข้าสู่ระบบประชาธิปไตย ดำเนินแนวทางรัฐสวัสดิการ และนำประเทศเข้าสู่ระบบประชาคมมาเศรษฐกิจยุโรป แต่การที่ระบบคอมมอนลอว์มีความจำเป็นต้องนำบทกฎหมายลายลักษณ์อักษรมาใช้นั้นก็มิได้ลดบทบาทของศาลในประเทศอังกฤษที่มีมาแต่เดิมเท่าใดนัก เพราะศาลมักจะตีความให้บทกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่รัฐสภาบัญญัติขึ้นนั้นให้มีความหมายอย่างแคบ เพื่อที่จะไม่ให้บทกฎหมายลายลักษณ์อักษรนั้นเข้ามาตัดทอนของเขตของหลักคอมมอนลอว์ ทั้งนี้เพื่อรักษาไว้ซึ่งอำนาจศาลให้มากที่สุด


ประวัติความเป็นมาของระบบคอมมอนลอร์


           ระบบคอมมอนลอร์เป็นระบบกฎหมายที่พัฒนาขึ้นในประเทศอังกฤษตั้งแต่อดีตกาล ซึ่งในสมัยนั้นการใช้กฎหมายในประเทศอังกฤษได้รับอิทธิพลจากกฎหมายโรมันเพียงเล็กน้อย โดยกฎหมายที่ใช้บังคับก็คือ กฎหมายจารีตประเพณีของท้องถิ่นต่าง ๆ ของกลุ่มชนเป็นจำนวนมากที่มีภูมิลิเนาอยู่เขตพื้นที่ประเทศอังกฤษกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปและมีจารีตประเพณี กฎเกณฑ์กำหนดวิถีชีวิตของสมาชิกในกลุ่มของตน ทำให้จารีตประเพณีมีลักษณะที่หลากหลายและขาดเอกภาพ จนกระทั่งมีการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทราชย์ภายใต้การปกครองของ “กษัตริย์” ที่มีอำนาจสูงสุดเด็ดขาด มีการจัดระบบการปกครองเสียใหม่ ในรูปการครองที่ดิน อันเป็นการเสริมให้พระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจเหนือศักดินาอื่นๆ เเละได้ตั้งตัวแทนของกษัตริย์ในลักษณะของศาลที่เดินทางไปตัดสินคดีในท้องถิ่นต่าง ๆ เรียกว่า “ศาลหลวง” ( Royal Corut ) วิธีการพิจารณาวินิจฉัยของศาลหลวงนั้นมี 2 วิธีคือ
         1) เป็นการนำเอาจารีตประเพณีของท้องถิ่นมาปรับใช้กับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นดังนี้เมื่อมีคำตัดสินจากศาลหลวงดังกล่าวท้องถิ่นนั้น ๆ ต้องยอมรับและปฏิบัติตาม สำหรับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างท้องถิ่นและมีปัญหาว่าจะใช้จารีตประเพณีของท้องถิ่นใดตัดสิน ได้รับการคลี่คลายโดยระบบศาลหลวงเป็นผู้ตัดสินคดีข้อพิพาทนั้น ๆ เช่นกัน
        2) ในกรณีที่ไม่มีจารีตประเพณีของท้องถิ่นศาลหลวงจำต้องสร้างหลักกฎหมายขึ้นมาใหม่โดยเป็นการใช้เหตุผลไปพิเคราะห์ข้อเท็จจริงที่เกิดเป็นข้อพิพาทแล้วศาลหลวงวางหลักเกณฑ์ในการตัดสินชี้ขาดจากการพิจารณาเหตุผลที่แฝงอยู่ในความสัมพันธ์ทางข้องเท็จจริงนั้นหลักเกณฑ์เช่นนี้เป็นหลักเกณฑ์ที่ต่างจากการใช้กฎหมายท้องถิ่นแบบเดิมมิใช่เป็นกฎหมายจารีตประเพณีแต่เป็นการวินิจฉัยคดีตามหลักกฎหมายทั่วไปนั้นเอง
ต่อมาเมื่อระยะเวลานานขึ้นจึงได้พัฒนาเป็นระบบเดียวกันภายใต้กฎเกณฑ์ที่ศาลหลวงเป็นผู้กำหนดโดยมิได้แบ่งแยกเช่นเดิมอีกต่อไป ซึ่งการพัฒนาเป็นระบบเดียวกันภายใต้กฎเกณฑ์ที่ศาลหลวงเป็นผู้กำหนดโดยมิได้แบ่งแยกเช่นเดิมอีกต่อไป ซึ่งการจัดระบบจารีตประเพณีเป็นหนึ่งเดียวนี้จึงทำให้เป็นระบบส่วนกลาง หรือระบบคอมมอนลอว์ (Common Law) โดยที่หลักคอมมอนลอว์นั้นถือว่าเป็นหลักกฎหมายที่ศาลสร้างขึ้นมาจากจารีตประเพณีหรือจากหลักเหตุผลที่ได้จากการพิจารณาข้อเท็จจริงในข้อพิพาท ไม่ใช่เป็นการตัดสินตามอำเภอใจดังนี้ทำให้มีการยึดหลักเกณฑ์ในคำพิพากษาที่มีมาก่อนมาใช้ในการตัดสินที่มีข้อเท็จจริงเกิดขึ้นแบบเดียวกันในภายหลังตามหลักการที่กล่าวว่าข้อเท็จจริงอย่างเดียวกันต้องได้รับการปฏิบัติเหมือนกัน และพัฒนาต่อมาจนเกิดเป็นทฤษฎีการตัดสินโดยยึดหลักกฎหมายตามคำพิพากษา (The doctrine of precedent) ในราวปลายศตวรรษที่ 18และต่อมาเมื่อระบบคอมมอนลอว์ได้พัฒนาถึงขีดสุดในช่วงศตวรรษที่ 15 จนไม่สามารถพัฒนาต่อไปได้ ไม่ว่าจะด้วยการมีกระบวนพิจารณาที่เคร่งครัดจำกัดมากเกินไปและต้องผูกพันอยู่กับคำพิพากษาบรรทัดฐานของศาลคอมมอนลอว์ กฎหมายคอมมอนลอว์ของศาลหลวงเริ่มไม่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม จนไม่สามารถตอบสนองกับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสังคม หรือแนวคิดของผู้พิพากษาที่เป็นอนุรักษ์นิยมจนมากเกินไปทำให้มีผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากศาลคอมมอนลอว์ ต้องหันไปพึ่งพิงและร้องของความเป็นธรรมจาก Load Chancellor ราชเลขานุการของพระมหากษัตริย์เพื่อเยียวยาความเดือดร้อนดังกล่าว Load Chancellor มีสำนักงานตั้งอยู่ที่ Court of Chancery ได้เยียวยาความเดือดร้อนแก่ผู้ร้องทุกข์ โดยยึดหลักความเป็นธรรมในแต่ละกรณี (The Equity of the case) กล่าวคือ วินิจฉัยคดีโดยยึดหลักประโยชน์สุขและความยุติธรรมในสังคมเป็นใหญ่ มิได้ยึดถือตามหลักกฎหมายตามแนว คำพิพากษาแบบศาลคอมมอนลอว์ จนพัฒนาเป็นหลักเอคคิวตี้ขึ้นในที่สุด หลักเอคคิวตี้นี้จึงเป็นกฎหมายของประเทศอังกฤษอีกหลักหนึ่งที่เกิดขึ้นเพื่ออำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน ควบคู่ไปกับระบบคอมมอนลอว์ ในกรณีระบบคอมมอนลอว์มิได้ให้ความเป็นธรรมให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ครั้นถึงศตวรรษที่ 18 เมื่อชนชั้นอังกฤษเติบใหญ่ขึ้นจนเข้ายึดกุมรัฐสภาได้ และมีอำนาจมากขึ้นเรื่อยๆ ก็ได้มีการออกกฎหมายมาแก้ไขหลักฎหมายคอมมอนลอว์ที่ไม่สอดคล้องกับการขยายของทุนนิยมในสมัยนั้น ในช่วงแรกศาลคอมมอนลอว์ปฏิเสธที่จะใช้กฎหมายลายลักษณ์อักษรที่สภาบัติญัติขึ้น เพราะผู้พิพากษามีความเชื่อว่า คอมมอนลอว์เป็นระบบเหตุผลที่ได้รับการปรุงแต่งโดยนักปราชญ์มานานจนเป็นระบบที่สมบูรณ์แล้ว แต่นานเข้าความต้องการของมหาชนได้บีบบังคับให้ศาลต้องยอมรับกฎหมายลายลักษณ์อักษร กระนั้นศาลก็ยังคงอิดเอื้อนและพยายามที่จะสงวนสิทธิที่จะไม่ใช้กฎหมายของรัฐสภา เมื่อกฎหมายขัดต่อเหตุผลหรือความรู้สึกของมหาชน โดยศาลอ้างเสรีภาพที่จะไม่ใช้กฎหมายนั้นบังคับ ในที่สุดรัฐสภาอังกฤษจึงได้บังคับให้ศาลนำกฎหมายที่รัฐสภาออกไปใช้บังคับ โดยศาลไม่มีดุลยพินิจงดใช้กฎหมาย ผลจากกฎหมายนี้ทำให้ศาลคอมมอนลอว์เลี่ยงไปสร้างหลักการตีความกฎหมายลายลักษณ์อักษร โดยให้กฎหมายลายลักษณ์อักษรมีผลน้อยที่สุด โดยถือว่าบทกฎหมายลายลักษณ์อักษรเป็นข้อยกเว้นของหลักคอมมอนลอว์ จึงพยายามตีกฎหมายให้แคบและเคร่งครัดเข้าไว้ยึดตัวอักษรเป็นหลักโดยไม่คำนึงถึงเจตนารมณ์ของกฎหมาย คือหลักตีความตามตัวอักษร (Literal Rule) ทำให้กฏหมายลายลักษณ์อักษรกินความไม่กว้าง เมื่อกฎหมายกินความแคบศาลก็มีโอกาสนำหลักคอมมอนลอว์อันเป็นหลักทั่วไปมาใช้บังคับแก่กรณีนั้น
การวิวัฒนาการของฝ่ายนิติบัญญัติที่ดำเนินควบคู่ไปกับการขยายอิทธิพลของรัฐประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม และแนวความคิดของ Jeremy Bentham ทำให้เกิดการปฏิรูปกฎหมายวิธีพิจารณาความในตอนกลางศตวรรษที่ 19 เป็นการทำลายเครื่องรั้งพัฒนาการของกฎหมายอังกฤษครั้งสำคัญ จากนั้นมานักกฎหมายและศาลอังกฤษจึงค่อยๆ หันมายอมรับกฎหมายสารบัญญัติมากขึ้น และเป็นผลให้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ได้รับการจัดระบบให้ดีขึ้นมีการปรับปรุงองค์กรตุลาการ โดยผลของ Judicature Acts 1873-1875 ศาลอังกฤษทั้งหมดสามารถใช้กฎหมาย Equity ควบคู่ไปกับหลักคอมมอนลอว์ได้ แต่กฎหมายอังกฤษก็ยังคงรักษาแบบฉบับเดิมไว้ โดยถือว่าคำพิพากษาของศาลเป็นบ่อเกิดของกฎหมายซึ่งต่างจากระบบชีวิลลิว์ในประเทศภาคพื้นยุโรปในนัยนี้ รัฐสภาอังกฤษมีฐานะเพียงเป็นผู้แสดงแนวทางกฎหมายที่วิวัฒนาการขึ้นใหม่เท่านั้น แทนที่จะเป็นผู้บัญญัติกฎหมายโดยตรง และหลังจากการปฏิรูปกฎหมายครั้งใหญ่ในศตวรรษที่ 19 ระบบกฎหมายเจริญและซับซ้อนขึ้นจนยากที่จะมีผู้อธิบายระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ได้หมดเหมือนสมัยของท่าน Glanvill,Bracton,Coke หรือ Blackstone ความรู้ทางกฎหมายอังกฤษจะต้องศึกษาค้นคว้าเอาจากรายงานคำพิพากษาของศาล ซึ่งได้เริ่มจัดทำขึ้นในปี1865 และจากรำราชุดใหญ่เรียกว่า Laws of England โดยมี Loard Halsbury แม่งาน ซึ่งเสนอภาพกว้างๆ ของกฎหมายอังกฤษอย่างเป็นระบบ







เขียนโดย Ferrari ที่ 21:35 
ป้ายกำกับ: ระบบคอมมอนลอร์

กฎหมายแพ่งในชีวิตประจำวัน



 กฎหมายแพ่งในชีวิตประจำวัน

                วิชากฏหมายสำหรับนักพัฒนาเป็นวิชาบังคับที่นักศึกษาสาขาพัฒนาสังคมต้องเรียน วิชานี้ถึงฉันจะเรียนไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ก็เถอะ แต่ทุกครั้งที่เข้าเรียนก็สนุกสนาน อาจารย์เป็นกันเองมาก แล้วเนื้อหาที่เรียนก็มีประโยชน์และใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน ก็เลยอยากให้เพื่อนๆที่อ่านได้เกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับกฎหมายไปใช้ในชีวิตประจำวัน ที่ยกมาก็เป็นกฎหมายแพ่งในชีวิตประจำวัน  ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นที่เราจะต้องรู้ไว้ในฐานะที่เป็นคนอยู่ใต้กฎหมายเพื่อที่จะได้ไม่ต้องทำผิดกฎหมาย และไม่ให้ใครมาเอาเปรียบเราได้ มีทั้งการทำสัญญากู้ยืม การทำสัญญาซื้อขาย การหมั้น การสมรส การรับบุตรบุญธรรม และกฏหมายมรดก


1. กฎหมายแพ่ง
 เป็นกฎหมายเอกชนว่าด้วยเรื่องสิทธิ หน้าที่ และความสัมพันธ์ ระหว่างเอกชนต่อเอกชน ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย กฎหมายแพ่งของไทยบัญญัติในรูปของประมวลกฎหมายรวมกับกฎหมายพาณิชย์  รวมเรียกว่า กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีสาระพอสังเขป ได้ดังนี้
   1.1 บุคคล หมายถึง สิ่งซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย มี 2 ประเภท คือ บุคคลธรรมดา และนิติบุคคล
                1.1.1 บุคคลธรรมดา หมายถึง มนุษย์ซึ่งมีสภาพบุคคล และสิ้นสภาพบุคคลโดยการตายตามธรรมชาติ หรือตายโดยการสาบสูญ (กรณีปกติ 5 ปี และกรณีไม่ปกติ 2 ปี คือ อยู่ในระหว่างการรบสงคราม ประสบภัยในการเดินทาง เหตุอันตรายต่อชีวิต)
                1.1.2 นิติบุคคล หมายถึง สิ่งที่กฎหมายรับรองให้เป็นสภาพบุคคลสมมุติ ให้มีสิทธิหน้าที่เหมือนบุคคลธรรมดา แบ่งเป็น 2 ประเภท  คือ
                ก) นิติบุคคลตามประมวลกกหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แก่
     1) กระทรวง ทบวง กรม
                     2) วัดวาอาราม ที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสงฆ์
                     3) ห้างหุ้นส่วนที่ได้จดทะเบียนแล้ว
                     4) บริษัทจำกัด
                     5) มูลนิธิ สมาคม
                ข) นิติบุคคลตามกฎหมายอื่น ได้แก่ นิติบุคคลที่มีกฎหมายพิเศษรับรองสถานะ เช่น พรรคการเมือง รัฐวิสาหกิจ สหกรณ์


1.2 ทรัพย์ กฎหมายได้แยกลักษณะของทรัพย์สินออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ
                1.2.1 สังหาริมทรัพย์ ได้แก่
                ก) ทรัพย์ทั้งหลายอันอาจเคลื่อนที่ได้ จากที่แห่งหนึ่งไปแห่งอื่น ไม่ว่าเคลื่อนด้วยแรงเดินแห่งตัวทรัพย์นั้นเอง หรือ ด้วยกำลังภายนอก เช่น
                1) เคลื่อนที่ด้วยแรงของทรัพย์นั้นเอง เช่น หมู ช้าง วัว ควาย ฯลฯ
                2) เคลื่อนด้วยกำลังภายนอก เช่น รถยนต์ คอมพิวเตอร์ โต๊ะ เก้าอี้ ฯลฯ
                ข) กำลังแรงแห่งธรรมชาติอันอาจถือเอาได้ เช่น ก๊าซ  กระแสไฟฟ้า
                ค) สิทธิทั้งหลายอันเกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์นั้นด้วย เช่น ลิขสิทธิ์ สิทธิจำนำ สิทธิจำนอง สิทธิเครื่องหมายการค้า ฯลฯ
                1.2.2 อสังหาริมทรัพย์ ได้แก่
                1) ที่ดิน
                2) ทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินนั้น เช่น ตึก โรงเรือน บ้าน ไม้ยืนต้นต่างๆ ฯลฯ
                3) ทรัพย์อันประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน เช่น หิน กรวด ทราย
                4) สิทธิทั้งหลายอันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เช่น สิทธิครอบครอง สิทธิจำนอง กรรมสิทธิ์ในที่ดิน
1.3 นิติกรรม หมายถึง การกระทำใดๆ ที่ชอบด้วยกฎหมายและใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ ระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ
                การแสดงเจตนาของนิติกรรมอาจจะแสดงด้วยวาจา ลายลักษณ์อักษร หรือการนิ่งก็ได้
                นิติกรรมแม้จะทำด้วยใจสมัคร ก็มีข้อบกพร่อง ถ้ากฎหมายเข้าไปควบคุมและไม่อนุญาตให้ทำ โดยมี 2 ลักษณะ
1.     โมฆะกรรม หมายถึง การกระทำใดๆ ลงไป โดยเสียเปล่า ไม่มีผลผูกพันธ์ใดๆ  ได้แก่
1.1  นิติกรรมที่ต้องห้ามโดยกฎหมายชัดแจ้ง เช่น ทำสัญญาจ้างให้กระทำผิดกฎหมาย จ้างฆ่าคน
1.2   นิติกรรมเป็นการพ้นวิสัย เช่น ทำสัญญาซื้อขายดวงอาทิตย์
1.3  นิติกรรมที่เป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
1.4  นิติกรรมผิดแบบ เช่น การทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่  การเช่าซื้อต้องทำหนังสือ หากไม่ปฏิบัติก็ตกเป็นโมฆะ
2.     โมฆียกรรม หมายถึง นิติกรรมที่มีผลต่อคู่กรณี แต่ไม่สมบูรณ์โดยกฎหมาย เนื่องจากความสามารถของผู้กระทำนิติกรรม เช่น ผู้เยาว์ ผู้เสมือนไร้ความสามารถ ผู้ไร้ความสามารถ เป็นต้น หากมีการให้การรับรอง นิติกรรมนั้นก็สมบูรณ์ หรือ บอกล้างได้ภายใน 10 ปี ก็จะตกเป็นโมฆะกรรม
1.4  สัญญา เป็นนิติกรรมชนิดหนึ่ง สัญญาที่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องมีคู่สัญญาถูกต้องตามสาระสำคัญ และมีวัตถุประสงค์ไม่ต้องห้ามตามกำหมาย หรือขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญาที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ได้แก่
            1.4.1 สัญญากู้ยืมเงิน
                                การกู้ยืมเงินเกินกว่า 2,000 บาท ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อผู้ยืม จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้
                1.4.2 สัญญาซื้อขาย
                                สัญญาซื้อขาย คือสัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่า ผู้ซื้อ โดยผู้ซื้อตกลงจะชำระราคาทรัพย์สินให้แก่ผู้ขาย  หากพูดถึงการซื้อขาย ก็จะต้องกล่าวถึง สัญญาจะซื้อจะขาย ซึ่งส่วนให้จะทำสัญญากันก่อน ก่อนซื้อขายส่งมอบทรัพย์สินกันจริง หลักเกณฑ์พิจารณาได้ดังนี้
                                สัญญาจะขายหรือจะซื้อ หรือคำมั่นในการซื้อขาย ทรัพย์สินประเภท อสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือ อย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ หรือได้วางเงินมัดจำไว้ หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว จะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้  และกฎหมายยังบังคับถึง สัญญาซื้อขาย สังหาริมทรัพย์ ที่มีราคาตั้งแต่ 20,000 บาทขึ้นไปด้วย ที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
                                สัญญาซื้อขาย อสังหาริมทรัพย์  ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ (พนักงานที่ดิน) หากไม่ทำถือว่าเป็นโมฆะ
                1.4.3 สัญญาขายฝาก
                                สัญญาขายฝาก หมายถึง สัญญาซื้อขายที่ผู้ขาย มีสิทธิไถ่ถอนได้ทรัพย์คืนตามเวลาที่กำหนด หากไม่ไถ่ถอนภายในกำหนด กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น ก็จะตกไปยังผู้ซื้อนับตั้งแต่เวลาที่ทำสัญญากัน
                1.4.4 สัญญาเช่าซื้อ
                                สัญญาเช่าซื้อ หมายถึง สัญญาที่เจ้าของทรัพย์ เอาทรัพย์ออกให้เช่า และให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้น หรือให้ทรัพย์สินนั้นแก่ผู้เช่า โดยมีเงื่อนไข ว่าต้องชำระเงินครบตามคราวที่กำหนด และที่สำคัญ สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือ มิฉะนั้นถือเป็นโมฆะ
                        เจ้าของทรัพย์บอกเลิกสัญญาได้ ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่า 2 งวดติดต่อกัน หรือผู้เช่าซื้อผิดสัญญาในข้อที่เป็นสาระสำคัญ โดยผู้ให้เช่าซื้อได้เงินค่าเช่าที่ชำระไปแล้วทั้งหมดและเรียกทรัพย์คืนได้
                1.4.5 สัญญาจำนอง
                        สัญญาจำนอง หมายถึง สัญญาที่ผู้จำนองเอาทรัพย์สิน ประเภท อสังหาริมทรัพย์ เรือ แพ หรือ เครื่องจักร ไปจดทะเบียนจำนองเป็นประกันการชำระหนี้
                        ลักษณะสำคัญของสัญญาจำนอง
                                1. ผู้จำนองต้องเป็นเจ้าของทรัพย์ที่จำนอง
                                2. ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่
3. ผู้จำนองจะนำทรัพย์สินที่ติดจำนองไปจำนองแก่ผู้อื่นอีกในระหว่างที่สัญญาจำนองอันแรกยังมีอายุอยู่ก็ได้


                1.4.6  สัญญาจำนำ
                                สัญญาจำนำ หมายถึง สัญญาที่ผู้จำนำ ส่งมอบทรัพย์สินประเภท สังหาริมทรัพย์ แก่ผู้รับจำนำและตกลงว่าจะมาไถ่ถอนตามวันและเวลาที่กำหนด หากไม่มาไถ่ถอน ผู้รับจำนำมีสิทธิในทรัพย์สินนั้น
                1.4.7  สัญญาค้ำประกัน
                                สัญญาค้ำประกัน หมายถึง การที่ผู้ค้ำประกันทำสัญญากับเจ้าหนี้ว่า เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้แล้ว ตนจะชำระหนี้แทน สัญญาค้ำประกัน ต้องทำเป็นหนังสือ จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้
1.5 ครอบครัว


                1.5.1 การหมั้น หมายถึง การที่ฝ่ายชาย ตกลงกับฝ่ายหญิง ว่าจะสมรสกับหญิงนั้น โดยมีของหมั้นเป็นประกัน สาระสำคัญของการหมั้น
                                1. การหมั้นนั้นจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ ผู้เยาว์จะทำการหมั้นต้องได้รับความยินยอมจากบิดา มารดาหรือผู้ปกครอง
                                2. ถ้าหมั้นแล้วสมรส ของหมั้นจะกลายเป็นสินส่วนตัวของฝ่ายหญิง
                                3. ถ้าหมั้นแล้วไม่สมรส
                                                3.1 เนื่องจากความผิดของฝ่ายชาย ฝ่ายหญิงยึดของหมั้นได้
3.2 เนื่องจากความผิดของฝ่ายหญิง หญิงต้องคืนของหมั้นให้ฝ่ายชาย ชายเรียกสินสอดคืนได้
3.3 ฝ่ายที่เสียหายเรียกค่าทดแทนได้
3.4 จะฟ้องให้ศาลบังคับให้มีการสมรสไม่ได้
                1.5.2 การสมรส
                                1. การสมรสจะกระทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงอายุ 17 ปีบริบูรณ์ หากอายุต่ำกว่านี้ต้องให้ศาลอนุญาต                
                                2. การสมรส จะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อ จดทะเบียนต่อหน้านายทะเบียน
                ผู้ที่กฎหมายห้ามสมรส
1.      ชายหรือหญิงที่วิกลจริต หรือศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
2.      ชายหญิงที่เป็นญาติสืบสายโลหิตเดียวกัน เช่น พ่อแม่ – ลูก  หรือ พี่ – น้อง ที่มีพ่อแม่ร่วมกัน
3.      ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรม
4.      ชายหรือหญิงที่มีคู่สมรสอยู่แล้ว
หญิงที่เคยสมรสแล้ว เมื่อการสมรสสิ้นสุดลงไม่ว่า เพราะสามีตาย หรือหย่า จะสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อ
1.     การสมรสได้สิ้นสุดลงไปอย่างน้อย 310 วัน
2.     สมรสกับคู่สมรสเดิม
3.     คลอดบุตรในระหว่างนั้น
4.     มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ตั้งครรภ์
5.     ศาลสั่งให้สมรสได้
การสิ้นสุดของการสมรส
1.     ตาย ไม่ว่าจะตายโดยธรรมชาติ หรือสาบสูญ
2.     การหย่า
2.1  การหย่าโดยความยินยอมกันทั้งสองฝ่าย ต้องทำเป็นหนังสือ โดยมีพยานอย่างน้อย 2 คน หรือ จดทะเบียนหย่า
2.2  การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
-         เพราะมีอีกฝ่ายหนึ่งมีความผิด เช่น สามีอุปการะยกย่องหญิงอื่นฉันท์ภรรยา ภรรยามีชู้ สามีหรือภรรยาไม่อุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่ง หรือ ประพฤติชั่ว
-         เพราะการสาบสูญ หรือ ความเจ็บป่วย เช่น ร่วมประเวณีกันไม่ได้
1.5.3 การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
                1. บุคคลผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และต้องอายุมากกว่าบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี  หากผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมยังเป็นผู้เยาว์ ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดา หรือ ผู้แทน โดยชอบธรรม และคู่สมรส ด้วย (ยกเว้นคู่สมรสวิกลจริตหรือสาบสูญเกินกว่า 1 ปี )
                2. การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ ถ้าจดทะเบียนตามกฎหมาย บุตรบุญธรรมจะมีฐานะเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกำหมายทุกประการ ขณะเดียวกันก็ไม่เสียสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่ให้กำเนิด กฎหมายถือว่า บิดา-มารดาโดยกำเนิด หมดอำนาจปกครองนับตั้งแต่วันที่เด็กเป็นบุตรบุญธรรมของผู้อื่น
                3. การเลิกรับบุตรบุญธรรม จะเลิกได้เมื่อทั้งคู่ยินยอมซึ่งกันและกัน หากบุตรบุญธรรมอายุต่ำกว่า 15 ปี จะฟ้องเลิกรับบุตรบุญธรรมไม่ได้ เว้นแต่ผู้มีสิทธิให้ความยินยอมในการรับบุตรบุญธรรมยินยอม
                4. เมื่อเลิกรับบุตรบุญธรรม บุตรบุญธรรมกลับคืนสู่ฐานะในครอบครัวเดิม
1.5.4 มรดก
                1. มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาททันทีที่เจ้าของมรดกตายหรือสาบสูญ
                2. ทายาท
                                2.1 ทายาทโดยธรรม ได้แก่ คู่สมรส และญาติสนิท สิทธิการรับมรดกจะแบ่งให้ลดลงตามความห่างของญาติ ถ้าเจ้าของมรดก มีบิดามารดา คู่สมรสและบุตรทุกคน จะได้คนละเท่ากันคนละส่วน
                                2.2 ทายาทโดยพินัยกรรม
ในกรณีเจ้าของมรดก มีคู่สมรสต้องแบ่งทรัพย์สินแก่อีกฝ่ายหนึ่งก่อน ส่วนที่เหลือจึงเป็นมรดกตกทอดต่อไป
                                2.3 ผู้ที่จะทำพินัยกรรมได้ต้องมีอายุ 1 5ปีขึ้นไป และต้องไม่เป็นบุคคลไร้ความสามารถ
                                2.4 การเสียมรดก
                                      2.4.1 ทายาทโดยชอบธรรมยักย้ายถ่ายเท ปิดบังทรัพย์มรดก โดยทุจริต
                                      2.4.2 ทายาทตามพินัยกรรม หลอกลวงหรือข่มขู่ให้เจ้ามรดกทำพินัยกรรมขึ้น

วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555

สำนักกฏหมายธรรมชาติและบ้านเมือง


            SCHOOL OF NATURAL LAW สำนัก  หมายความถึง ที่รวมของคนที่มีแนวความคิดอย่างเดียวกัน สำนักกฎหมายธรรมชาตินี้เป็นสำนักกฎหมายที่มีความคิดมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่ สมัยกรีก สำนักนี้มีแนวคิดเกี่ยวกับกฎหมายว่า กฎหมายเป็นสิ่งที่มีอยู่เองตามธรรมชาติเหมือนปรากฏการณ์อื่นๆ ของโลก นักปรัชญาบางท่านกล่าว่าเป็นกฎเกณฑ์ที่เกิดขึ้นโดยพระเจ้า มนุษย์มิได้เป็นผู้สร้างขึ้น แต่นักปรัชญาบางท่านกล่าวว่ากฎหมายเกิดจากความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของมนุษย์ เป็นเรื่องของเหตุของผล มิใช่เรื่องของเจตจำนงของผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะ มนุษย์สามารถใช้สติปัญญาและเหตุผลของตนค้นหาหลักเกณฑ์ความถูกผิดตามธรรมชาติ ได้ เป็นหลักเกณฑ์ที่ดี ใช้ได้ไม่จำกัดกาลเวลา และถ้ามนุษย์สร้างกฎเกณฑ์ขึ้นมา กฎเกณฑ์นั้นเป็นเพียงภาพสะท้อนจากกฎธรรมชาติ


              ฉะนั้น กฎเกณฑ์ของมนุษย์จะต้องไม่ขัดหรือแย้งกับกฎธรรมชาติ ในสำนักนี้มีนักปรัชญาที่สำคัญๆ หลายคน ซึ่งนักศึกษาควรจะทำความรู้จักไว้เช่น PLATO นักปรัชญากรีก มีความเห็นว่ากฎหมายที่มนุษย์ร่างขึ้นใช้บังคับกับคนทั่วไปจึงทำให้มีลักษณะ แข็งกระด้าง ไม่สามารถสร้างความยุติธรรมให้แก่บุคคลทุกคนในแต่ละกรณี เพราะบุคลิกภาพ และปัจจัยของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน ฉะนั้น กฎหมายธรรมชาติจึงเป็นสิ่งที่ถูกต้องและเป็นธรรม เพราะเกิดจากการใช้สติปัญญาและเหตุผลของผู้ปกครองสังคม ARISTOTLE นักปรัชญากรีกเช่นกัน ได้อธิบายถึงกฎหมายธรรมชาติว่า สิทธิธรรมชาตินั้นมีอยู่จริง เป็นสิ่งที่มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง แต่กฎหมายที่มนุษย์คิดขึ้นเป็นกฎหมายที่เกิดขึ้นจากความจำเป็นบางประการใน การอยู่ร่วมกัน และใช้ได้สำหรับคนในกลุ่มนั้นเท่านั้น CICERO นักปรัชญาอังกฤษ ได้เขียนเรื่องกฎหมายธรรมชาติไว้ในหนังสือชื่อว่า “LAWS” โดยเขียนไว้ว่า กฎหมายที่แท้จริง คือเหตุผลที่ถูกต้องสอดคล้องเป็นธรรมชาติ ไม่เกิดจากอารมณ์ หรือจากเจตนาของบุคคลหนึ่งบุคคลใด โดยเฉพาะมีความสม่ำเสมอเป็นนิจนิรันดร์ ไม่เปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา สถานที่และตัวบุคคล ก่อให้เกิดหน้าที่ที่จะต้องทำโดยคำสั่ง เป็นหน้าที่อันศักดิ์สิทธิ ที่จะต้องไม่บัญญัติกฎหมายให้ขัดแย้งกับ 


              กฎหมายธรรมชาติ ST.THOMAS AQUINAS นักปรัชญาชาวอิตาลี ได้รับอิทธิพลของนักปรัชญาสมัยกรีกโดยเฉพาะจาก ARISTOTLE และในขณะเดียวกันก็เห็นด้วยกับความเห็นของ CICERO มีความเห็นว่าสังคมคือหน่วยต่างๆ ที่มารวมกันภายใต้กฎเกณฑ์ความยุติธรรมและเพื่อประโยชน์ร่วมกัน เพราะฉะนั้น อำนาจจึงเกิดจากธรรมชาติ ซึ่งมีพระเจ้าเป็นที่มาและแสดงออกโดยประชาชนที่รวมกัน แต่จะให้ใครเป็นผู้ใช้ก็แล้วแต่ระบบของสังคมนั้นๆ เช่น กษัตริย์หรือขุนนาง แต่จะใช้อย่างไร ผู้ใช้ต้องมีศีลธรรม AQUINAS ได้แบ่งกฎหมายออกเป็น 4 ประเภท โดยกล่าวว่ากฎหมายที่มนุษย์สร้างขึ้นเป็นกฎหมายที่อยู่ในคั่นต่ำสุด ถ้าขัดหรือแย้งกฎหมายธรรมชาติแล้วย่อมไม่มีสภาพบังคับ ROUSSEAU นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในความคิดที่ว่า พระเจ้าเป็นผู้บัญญัติกฎหมาย โดยได้กล่าวไว้ว่า มนุษย์นั้นถือกำเนิดโดยเสรี จนได้มีการสนับสนุนคำพูดของ ROUSSEAU ในปี ค. ศ. 1789 โดยประเทศฝรั่งเศสได้มีคำประกาศสิทธิมนุษย์ชนว่า ถ้ามนุษย์ ไม่มีสิทธิเสรีภาพแล้วก็ไม่มีความเป็นมนุษย์อีกต่อไป


สำนักกฎหมายบ้านเมืองคืออะไร ?
       สำนักกฎหมายบ้านเมือง (สำนักปฏิฐานนิยมทางกฎหมายLegal Positivism)
สำนักกฎหมายบ้านเมืองนั้น เป็นแนวความคิดปฏิเสธ กฎหมายที่สูงกว่า (Higher Law) หรือกฎหมายธรรมชาติ (Natural Law) สิ่งที่ยอมรับเป็นกฎหมายที่แท้จริงคือกฎหมายบ้านเมืองหรือกฎหมายที่ใช้ บังคับอยู่เท่านั้น


          กฎหมายบ้านเมือง เป็นกฎหมายที่ตั้งอยู่ได้โดยไม่ต้องอาศัยกฎหมายที่สูงกว่าเนื่องจากถือว่า รัฐาธิปัตย์มีอำนาจสูงสุดที่จะออกกฎหมายใดก็ได้ โดยมิอาจโต้แย้งถึงความถูก ความผิด ความดี ความชั่ว   ยุติธรรม อยุติธรรม เพราะถือว่าสิ่งเหล่านี้เกิดจากกฎหมายที่รัฐาธิปัตย์มีอำนาจที่จะบัญญัติ ขึ้น สาระสำคัญของความคิดนักคิดในแนวนี้ได้แก่


         1. ทฤษฎี “อำนาจอธิปไตย” ของ Jean Bodin (ฌอง โบแดง)
 ให้ความหมายของอำนาจอธิปไตยว่าเป็นอำนาจเด็ดขาดและถาวร เป็นอำนาจสูงสุดที่มิอยู่ภายใต้บังคับของกฎเกณฑ์ใดๆแสดงออกโดยการออกกฎหมาย และยกเลิกกฎหมายเพื่อพิสูจน์ว่าเป็นรัฐที่แท้จริง จากคำสอนของโบแดง ทำให้เกิดความคิดที่ถือว่า “กฎหมายเป็นสิ่งที่มนุษย์บัญญัติขึ้น” ซึ่งพัฒนาไปสู่ความคิดสำนัก กฎหมายบ้านเมือง
         
         2. ทฤษฎี “สัญญาสวามิภักดิ์” ของThomas Hobbes (โทมัส ฮอบส์)
 เชื่อในอำนาจรัฐาธิปัตย์อย่างสมบูรณ์แบบ โดยเชื่อว่ามนุษย์ชั่วร้าย ขัดแย้งกันตลอด จึงเข้าทำสัญญาประชาคมยกเลิกอำนาจให้รัฐาธิปัตย์เพื่อคุ้มครองรักษาให้แต่ละ คนมีชีวิตรอด ซึ่งการมอบอำนาจให้รัฐาธิปัตย์นั้นเป็นการมอบอำนาจแบบสวามิภักดิ์  คือให้อำนาจเด็ดขาดให้ปกครองดูแล ลงโทษ ยอมให้ออกกฎหมายได้ ซึ่งกฎหมายคือคำสั่งของรัฐาธิปัตย์นั่นเองเครื่องมือรักษาความสงบของรัฐ าธิปัตย์ คือ กฎหมายบ้านเมืองซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ทั้งโดยตรงและโดยปริยายที่รัฐสั่งการและ กำหนดไว้ว่าเป็นสิ่งถูก-ผิด บังคับแก่ประชาชน เมื่อรัฐเป็น ผู้กำหนดความถูก-ผิด ยุติธรรม-อยุติธรรม จึงไม่อาจมีกฎหมายใดที่อยุติธรรมได้ เพราะเมื่อประชาชนเข้าทำสัญญาตกอยู่ใต้อำนาจรัฐแล้วเท่ากับว่าประชาชนเป็น ผู้บัญญัติกฎหมายและย่อมไม่มีใครที่จะออกกฎหมายมาข่มเหงตัวเอง กฎหมายทั้งหลายจึงเป็นธรรมและประชาชนต้องยอมรับโดยดุษฎี


         3. ทฤษฎี “กฎหมาย คือ คำสั่งของรัฐาธิปัตย์” ของ John Austin (จอห์น ออสติน)
กฎหมาย คือ คำสั่งของรัฐาธิปัตย์ กฎหมายที่แท้จริงสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
            1. กฎหมายที่พระผู้เป็นเจ้ากำหนดขึ้นใช้บังคับกับมนุษย์
            2.กฎหมายที่มนุษย์กำหนดขึ้นเพื่อใช้บังคับมนุษย์ด้วยกัน


แนวคิดความยุติธรรมของสำนักกฎหมายบ้านเมือง
       - ความยุติธรรม คือการรักษาไว้ซึ่งคำสั่งที่เป็นกฎหมายใช้อย่างมีมโนธรรม
       -หลักความยุติธรรมสูงสุดก็คือหลักความยุติธรรมตามกฎหมาย
       -ความยุติธรรมเป็นคุณธรรมในจิตใจมนุษย์ เป็นความรู้สึกของแต่ละบุคคล


        ดังนั้นความยุติธรรมของแต่ละคนจึงแตกต่างกัน ความยุติธรรมจึงเป็นเรื่องของความยุติธรรมตามกฎหมายเท่านั้น ความยุติธรรมภายใต้กฎหมาย มองความยุติธรรมทำนองเดียวกับปรัชญาเคารพกฎหมายอย่างเชื่อมั่น ถือว่าเป็นความยุติธรรมตามกฎหมาย ความยุติธรรมตามกฎหมายผูกพันความเชื่อทางศาสนา พระเจ้าของชาวยิวถือว่ากฎหมาย และความยุติธรรมเป็นสิ่งเดียวกันมีกำเนิดจากพระเจ้า พระเจ้าเป็นผู้พิพากษา, ผู้บัญญัติกฎหมาย จึงให้ความสำคัญต่อกฎหมาย และความยุติธรรมอย่างเสมอภาคกัน ความยุติธรรมกับกฎหมายคือการใช้กฎหมายหรือการตีความกฎหมายโดยปราศจากความ ลำเอียงเป็นความยุติธรรมในการใช้กฎหมายในรูปธรรม


สำนักกฎหมายบ้านเมือง
        1.กฎหมายทันสมัยกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
        2.ยอมรับการนำกฎหมายของประเทศอื่นมาใช้ในประเทศตน
        3.เน้นนิติบัญญัติ
        4.ไม่เน้นความยุติธรรมตามธรรมชาติแต่เน้นความยุติธรรมในตัวบทกฎหมายเท่านั้น


          ความเหมือนและความแตกต่าง 
          สำนักกฎหมายบ้านเมืองกับสำนักประวัติศาสตร์ คือ สำนักกฎหมายบ้านเมืองและสำนักประวัติศาสตร์กฎหมายมีความเชื่อเหมือนกันว่า สังคมคือสิ่งที่ให้กำเนิดกฎหมายมิใช่พระเจ้า หรือกฎเกณฑ์ธรรมชาติข้อแตกต่าง




          ข้อสรุป
          แนวคิดของสำนักกฎหมายบ้านเมืองมีความคิดว่ากฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในบ้าน เมืองซึ่งบัญญัติโดยรัฐเป็นกฎหมายที่แท้จริงมีความสมบูรณ์ในตัวเองไม่มี กฎหมายอื่นที่เหนือกว่า การแก้ไขข้อพิพาททั้งปวงให้คิดจากกฎหมายบ้านเมืองที่ใช้บังคับกันอยู่โดยไม่ ต้องพึ่งพาหลักการอื่นใดที่สูงกว่า
 








ที่มา  http://www.lawsiam.com/?name=blog&file=readblog&id=128

คุณธรรม-จริยธรรมในวิชาชีพกฎหมาย

คุณธรรม - จริยธรรมในวิชาชีพกฎหมาย

ฯพณฯ สันติ ทักราล (องคมนตรี)



           เมื่อกล่าวถึงหัวข้อดังกล่าว ท่านผู้ฟังอาจจะมีความรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก แต่เมื่อทราบถึงรายละเอียดในความหมาย กฎเกณฑ์และวิธีการในเรื่องนี้แล้ว จะเห็นว่าเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่ายมาก ข้อสำคัญอยู่ที่ว่าเมื่อเข้าใจแล้วจะปฏิบัติหรือไม่ เท่านั้น ก่อนที่จะอธิบายและบรรยายต่อไป ขอให้ทำความเข้าใจความหมายของถ้อยคำของหัวข้อดังกล่าว ตามพจนานุกรมเสียก่อนว่าแต่ละคำมีความหมายอย่างไร และเมื่อรวมถ้อยคำแล้วมีความหมายอย่างไร


ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายหรือนิยามไว้ว่า

“ คุณ ” หมายความว่า ความดีที่มีประจำอยู่

“ ธรรม ” หมายความว่า คุณความดี ความถูกต้อง

“ คุณธรรม ” หมายความว่า สภาพคุณงามความดี

“ จริยะ ” หมายความว่า ความประพฤติ กริยาที่ควรประพฤติ

“ ธรรมจริยา ” หมายความว่า การประพฤติเป็นธรรม การประพฤติถูกธรรม

“ จริยธรรมา ” หมายความว่า ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ

“ จริยธรรมในวิชาชีพกฎหมาย ” หมายความว่า ข้อที่ผู้ประกอบอาชีพในทางกฎหมายความประพฤติและปฏิบัติ

           ในเรื่องนี้ ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี ซึ่งในวงการกฎหมายยอมรับและนับถือกันว่า ท่านเป็นผู้รอบรู้และเป็นแบบอย่างในเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมในทางกฎหมาย ได้ให้ความหมายในเรื่องจริยธรรมของนักกฎหมายไว้ว่า “ จริยธรรมของนักกฎหมายเป็นหลักเกณฑ์ที่ว่าด้วยเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ใน วิชาชีพของนักกฎหมายที่ดีประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่ง คือ การดำรงตนในสังคมอย่างนักกฎหมายที่ดี ”

           ผู้ประกอบวิชาชีพในทางกฎหมายนั้นมีอยู่หลายวิชาชีพ เช่น ผู้พิพากษา อัยการ ทนายความ พนักงานสอบสวน ฯลฯ บางวิชาชีพเป็นวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับความยุติธรรมหรือความเป็นธรรมโดยตรง บางวิชาชีพเป็นเพียงส่วนประกอบไม่ได้เกี่ยวข้องกับความเป็นธรรมหรือความ ยุติธรรมโดยตรง

          สำหรับวิชาชีพในทางกฎหมาย มีพระราชบัญญัติทนายความ พ . ศ . 2528 มาตรา 51 บัญญัติไว้ว่า “ ทนายความต้องประพฤติตนตามข้อบังคับว่าด้วยมารยาททนายความตามที่สภาทนายความ ได้ตราเป็นข้อบังคับ


          ทนายความผู้ได้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับดังกล่าวข้างต้น ให้ถือว่าทนายความผู้นั้นประพฤติผิดมารยาททนายความ

          มาตรา 52 บัญญัติไว้ว่า “ โทษผิดมารยาททนายความ ” มี 3 สถาน คือ

         (1) ภาคทัณฑ์ หรือ

         (2) ห้ามทำการเป็นทนายความมีกำหนดไม่เกินสามปี หรือ

         (3) ลบชื่อออกจากทะเบียนทนายความ

           สำหรับพนักงานสอบสวนนั้น เป็นหน่วยงานวิชาชีพทางกฎหมายในทางอาญาที่สำคัญที่สุดหน่วยงานหนึ่ง เพราะเป็นหน่วยงานเบื้องต้นที่มีหน้าที่รวบรวมพยานหลักฐานในทางอาญา ที่จะพิสูจน์ว่า ผู้ถูกกล่าวหามีความผิด หรือ เป็นผู้บริสุทธิ์ หากรวบรวมและตรวจสอบพยานหลักฐานไว้ดี ก็จะเกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้เสียหาย พนักงานสอบสวนจึงต้องมีความเป็นธรรมและจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพของตน แต่ในการปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวนไม่ได้บัญญัติหรือกำหนด เรื่องมารยาท หรือ คุณธรรม จริยธรรมไว้โดยตรง หรือ เป็นลายลักษณ์อักษร คงมีแต่กำหนดเรื่องวินัย การรักษาวินัย และการลงโทษไว้ในกฎหมายเกี่ยวกับข้าราชการพลเรือนโดยทั่วไป
           ส่วนพนักงานอัยการ ซึ่งมีหน้าที่กลั่นกรองพยานหลักฐานที่พนักงานสอบสวนรวบรวมมา ก่อนที่จะมีคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องผู้ถูกกล่าวหา ในคดีอาญา ก็เป็นหน่วยงานสำคัญที่จะให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ต้องหา หรือผู้เสียหาย ก่อนคดีมาสู่ศาล แต่ก็ไม่ได้บัญญัติ หรือ กำหนดเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมได้ จึงต้องนำเรื่องวินัย การรักษาวินัยและการลงโทษตามกฎหมายเกี่ยวกับข้าราชการพลเรือนมาใช้ เช่นเดียวกัน
          สำหรับข้าราชการตุลาการหรือผู้พิพากษานั้น ได้กำหนดจริยธรรมของข้าราชการตุลาการไว้โดยเฉพาะเรียกว่า ปะมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการ โดยกำหนดเป็นข้อควรปฏิบัติและ ข้อควรละเว้น รวมทั้งหมด 44 ข้อด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นจริยธรรมในวิชาชีพกฎหมายวิชาชีพใดก็ตาม ย่อมจะหลีกเลี่ยงหรือไม่กล่าวถึงความยุติธรรมไม่ได้ กล่าวคือ จริยธรรมของวิชาชีพกฎหมาย ทุกวิชาชีพจะต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความยุติธรรม จึงมีปัญหาที่ตามมาว่า “ ความยุติธรรม ” มีความหมายว่าอย่างไร
         “ ความยุติธรรม ” เป็นคำที่ให้คำนิยามได้ยากที่สุดคำหนึ่งในทุก ๆ ภาษา ตามพจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถานให้คำนิยามคำว่า “ ยุติธรรม ” ว่าคือ ความเที่ยงธรรม ความชอบธรรม ความชอบด้วยเหตุผล และ

           คำว่า “ เที่ยงธรรม ” มีความหมายว่า “ ตั้งตรงด้วยความเป็นธรรม ”โดยที่ความยุติธรรมเป็นหัวใจของวิชาชีพกฎหมายทุกวิชาชีพ โดยไม่อาจแยกออกจากกันได้ จึงมีผู้ให้คำนิยามไว้มากมาย แต่ขอกล่าวถึง คำนิยามและความเห็นเฉพาะของผู้ที่มีชื่อเสียงทางกฎหมายบางท่าน ดังนี้
           พระราชปรารภของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ปรากฏในหิรัญบัตรซึ่งได้พบจากการรื้อถอนอาคารศาลแพ่งหลังเดิม ได้จารึกเกี่ยวกับความยุติธรรมไว้ว่า “ การยุติธรรมอันเดียวเป็นการสำคัญที่ยิ่งใหญ่ เป็นหลัก หรือเป็นประธานการชำระตัดสินความทุกโรงศาล เป็นเครื่องประกอบรักษาให้ความยุติธรรมเป็นไป ถ้าจัดได้ดีขึ้นเพียงใด ประโยชน์ความสุขของราษฎรก็จะเจริญยิ่งขึ้นเท่านั้น ”
            ลอร์ด เดนิ่ง อดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ของอังกฤษ ให้คำนิยามว่า “ ความยุติธรรม ได้แก่เรื่องที่บุคคลในสังคมซึ่งเป็นบุคคลที่มีเหตุผล และมีความรู้สึกผิดชอบเชื่อมั่นว่าเป็นเรื่องที่ชอบธรรม ” (Justice is what right - minded members of community - those who have the right spirit within them - believe to be fair)
            จอห์น โรลส์ ศาสตราจารย์อเมริกันในวิชาปรัชญา ให้คำนิยามคำว่า “ ความยุติธรรม ” ไว้ในทำนองเดียวกัน โดยมองอีกแง่หนึ่งว่า “ ความยุติธรรมได้แก่เรื่องที่บุคคลที่มีเหตุผลถือว่าเป็นเรื่องที่ชอบธรรม ถ้าหากบุคคลเหล่านั้นต้องวินิจฉัยในเรื่องนั้น ทั้งนี้โดยที่ตนไม่มีทางจะล่วงรู้เลยว่า ตนเองจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นอย่างไรบ้าง ” (Justice…is…what rational people would regard as fair if they had to decide that question with no knowledge whatever of what their own position would be)

             พระราชดำรัสและพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้พระราชทานแก่นักกฎหมายในโอกาสต่าง ๆ ในเรื่องความยุติธรรม มีดังนี้
           “ กฎหมายมิใช่ตัวความยุติธรรม หากเป็นเพียงบทบัญญัติหรือปัจจัยที่ตราไว้เพื่อรักษาความยุติธรรม ผู้ใดก็ตาม แม้ไม่รู้กฎหมาย แต่ถ้าประพฤติปฏิบัติด้วยความสุจริตแล้วควรจะได้รับความคุ้มครองจากกฎหมาย เต็มที่ ตรงกันข้าม คนที่รู้กฎหมายแต่ใช้กฎหมายไปในทางทุจริต ควรต้องถือว่าทุจริต และกฎหมายไม่ควรคุ้มครองจนเกินเลยไป เพราะฉะนั้นไม่สมควรจะถือว่าการรักษาความยุติธรรมในแผ่นดินมีวงกว้างอยู่ เพียงแต่ขอบเขตของกฎหมาย จำเป็นต้องขยายออกไปให้ถึง ศีลธรรมจรรยา ตลอดจนเหตุและผลความเป็นจริงด้วย ”

( พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานประกาศนียบัตร แก่ผู้สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของ
สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ณ อาคารใหม่สวนอัมพร วันจันทร์ 29 ตุลาคม 2522)

             จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนี้ ทำให้เห็นได้ว่า “ ความยุติธรรม ” เป็นหัวใจและรากฐานของ คุณธรรม และ จริยธรรม ในวิชาชีพกฎหมาย จึงมีปัญหาต้องพิจารณาต่อไปว่า เราจะก่อให้เกิดความยุติธรรม และจะรักษาความยุติธรรมไว้ได้อย่างไร

              ความยุติธรรมในวิชาชีพกฎหมายจะเกิดขึ้นได้โดยอาศัยหลักสองประการ กล่าวคือ
             ประการแรก จะต้องฝึกฝนตนเองให้เป็นคนที่รอบรู้กฎหมาย กล่าวคือ จะต้องรู้กฎหมายโดยละเอียดถี่ถ้วนทั้งในกฎหมายสารบัญญัติ และ วิธีสบัญญัติ หากรู้กฎหมายไม่ดี นอกจากจะไม่สามารถให้ความยุติธรรมแล้ว อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่คู่ความหรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้ นอกจากจะต้องรู้กฎหมายเป็นอย่างดีแล้ว ยังต้องมีความรอบรู้ในวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายเป็นอย่างดี รวมตลอดทั้งจะต้องมีความรอบรู้ในเหตุการณ์ต่าง ๆ ของบ้านเมือง

             ในเรื่องนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร แก่ผู้สำเร็จการศึกษาของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ณ ศาลาดุสิตาลัย วันที่ 6 พฤศจิกายน 2518 มีความว่า

           “ เมื่อกฎหมายของเราดีอยู่แล้ว จุดใหญ่ที่สำคัญที่สุดในการธำรงรักษาความยุติธรรมในบ้านเมือง จึงได้แก่การสร้างนักฎหมายที่ดีที่จะสามารถวิเคราะห์และใช้กฎหมายได้ตรงจุด ประสงค์ ข้าพเจ้าจึงปรารถนาอย่างยิ่งที่จะให้ทุกคนสร้างตนให้เป็นนักกฎหมายที่ดีที่ แท้ โดยฝึกตนให้มีความกล้าในอาชีพของนักกฎหมาย คือกล้าที่จะปฏิบัติการไปตามความถูกต้องเที่ยงตรงทั้งตามกฎหมายและศีลธรรม ไม่ปล่อยให้ภยาคติ คือ ความเอียงเอนไปด้วยความหวาดกลัวในอิทธิพลต่าง ๆ เข้าครอบงำสำหรับเป็นกำลังส่งให้ทำงานได้ด้วยความองอาจ มั่นใจ และมุมานะ อีกประการหนึ่งต้องฝึกให้มีความเคารพเชื่อมั่นในสัจธรรมคือความถูกต้องตาม คลองธรรม ตามความเป็นจริงอย่าง มั่นคง ไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม ไม่เห็นสิ่งอื่นใดว่ายิ่งไปกว่าความจริง สำหรับป้องกันมิให้ความ อยุติธรรม และความทุจริตเกิดขึ้น ”

             นักกฎหมายต้องรู้ว่ากฎหมายต่าง ๆ ที่ผู้ร่างกฎหมายและผู้มีหน้าที่ออกฎหมายบัญญัติมานั้น แม้ในขณะร่างกฎหมายผู้ร่างและผู้บัญญัติกฎหมายจะคิดและเข้าใจว่ากฎหมายที่ ออกมาครอบคลุมปัญหาในขณะร่างหรือปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตไดัอย่างดีและ เป็นธรรมแล้ แต่เมื่อนำกฎหมายดังกล่าวไปใช้และปฏิบัติ ความจริงอาจไม่เป็นที่คาดหวังไว้ รวมทั้งปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในภายหลังมีข้อเท็จจริงและมูลเหตุของปัญหาแตกต่างออกไปตามสมัย และความเจริญก้าวหน้าของสังคม ดังนั้น เราผู้ใช้กฎหมายจึงต้องคำนึงว่ากฎหมายที่มีอยู่นั้นเป็นเพียงหลักกว้าง ๆ เท่านั้น และเป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องใช้กฎหมายให้เกิดความเป็นธรรม ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เป็นเรื่องยากสำหรับผู้ที่มีความตั้งใจจะนำไปใช้ให้เกิดความเป็น ธรรม ในเรื่องนี้พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้พระราชทานแก่นัก กฎหมายในโอกาสต่าง ๆ มีใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า

           “ กฎหมายเป็นเพียงเครื่องมือในการรักษาความยุติธรรม จึงไม่ควรจะมีความสำคัญยิ่งไปกว่าความยุติธรรม หากควรจะต้องถือว่าความยุติธรรมมาก่อนกฎหมายและอยู่เหนือกฎหมาย การพิจารณาคดีใด ๆ โดยคำนึงถึงแต่ความผิดความถูกตามกฎหมายแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้นดูเป็นการ ไม่เพียงพอ ต้องคำนึงถึงความยุติธรรมซึ่งเป็นจุดประสงค์ของกฎหมายด้วยเสมอ ”

             พระราชดำรัสดังกล่าวตรงกับรากฐานของความเป็นธรรมที่ว่า ผู้ใช้กฎหมายจะต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมก่อนกฎหมาย โดยเหตุนี้กฎหมายจึงเป็นเพียงแต่เครื่องมือหรืออุปกรณ์อย่างหนึ่งที่ผุ้ร่าง กฎหมายบัญญัติไว้ เพื่อนำไปสู่ความเป็นธรรม โดยผู้ร่างกฎหมายเชื่อว่าถ้าเราทำตามกฎเกณฑ์ของกฎหมายแล้ว นั้นคือความเป็นธรรม หรือจะนำไปสู่ความเป็นธรรมได้ แต่ในทางปฏิบัติหาเป็นเช่นนั้นเสมอไปไม่ เพราะบางครั้งเมื่อนำไปใช้อาจพบปัญหาใหม่เกิดขึ้นที่ผู้ร่างกฎหมายไม่เคยคาด คิดมาก่อน รวมทั้งบางครั้งการแปลใช้กฎหมายตรง ๆ อาจไม่เป็นธรรมหรือขัดกับความเป็นธรรมได้ ฉะนั้น ในการพิจารณาปัญหาทางกฎหมายต่าง ๆ จะต้องหาความเป็นธรรมในเรื่องนั้นให้ได้เสียก่อน เมื่อได้ความเป็นธรรมแล้ว จึงผันหรือปรับความเป็นธรรมนั้นให้เข้ากับกฎหมาย จึงจะถือได้ว่าปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดังกล่าว และเป็นนักกฎหมายที่ดีและมีอุดมการณ์

ตัวอย่าง นายแดงทำสัญญากู้ยืมเงินนายดำ 200,000 บาท ตกลงจะชำระเงินกู้คืนภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันที่กู้ยืม โดยนายแดงได้จำนำรถยนต์ของนายแดงมอบให้นายดำยึดถือไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้ ยืม ต่อมาประมาณหนึ่งเดือน นายแดงมาหานายดำบอกว่ามีเพื่อนมาจากเชียงใหม่และมีความประสงค์จะซื้อที่ดิน ของนายแดงที่จังหวัดจันทบุรี หากเพื่อนตกลงซื้อที่ดิน นายแดงได้เงินมานะจะนำมาชำระหนี้เงินกู้ยืมคืนให้นายดำ แต่นายแดงไม่มีรถยนต์จะพาเพื่อนไปดูที่ดิน นายแดงจึงขอยืมรถยนต์คันที่นายแดงจำนำนายดำไว้เพื่อพาเพื่อนไปดูที่ดินสักด 2 วัน เมื่อพาเพื่อนไปดูที่ดินแล้วจะนำรถยนต์มาคืนให้ นายดำเห็นใจจึงตกลงให้นายแดงยืมรถยนต์ไป เมื่อนายแดงนำรถยนต์พาเพื่อนไปดูที่ดินแล้ว นายแดงไม่ยอมนำรถยนต์มาคืนให้นายดำจนกระทั่งครบกำหนด 3 เดือน นายแดงไม่ยอมชำระหนี้เงินกู้และไม่ยอมนำรถยนต์ไปคืนนายดำ มีปัญหาต้องวินิจฉัยว่านายดำจะบังคับจำนำโดยไปยึดรถยนต์ของนายแดง คันดังกล่าวมาขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้เงินกู้ได้หรือไม่

ในเรื่องนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 769 (2) บัญญัติไว้ว่า “ เมื่อผู้รับจำนำยอมให้ทรัพย์จำนำกลับคืนไปสู่ครอบครองของผู้จำนำ การจำนำย่อมระงับ ” ถ้าเราดูตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว หลายท่านเห็นว่า เมื่อนายดำผู้รับจำนำมอบรถยนต์ให้นายแดงผู้จำนำไป ถือได้ว่านายดำยอมให้ทรัพย์จำนำกลับคืนไปสู่การครอบครองของผู้จำนำแล้ว การจำนำย่อมระงับ นายดำจะบังคับจำนำโดยยึดรถยนต์มาขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้เงินกู้ไม่ได้ นายดำคงมีสิทธิไปฟ้องเรียกเงินกู้จากนายแดงตามสัญญากู้ยืมเงินเป็นหนี้ ธรรมดา

อย่างนี้ขอถามว่า ยุติธรรมหรือเป็นธรรมหรือไม่ เชื่อว่าแม้คนที่มีความเห็นดังกล่าวข้างต้นก็ต้องบอกว่าไม่เป็นธรรม ฉะนั้น เราต้องหาความเป็นธรรมก่อน เมื่อได้ความเป็นธรรมแล้วจึงไปหาทางปรับให้เข้ากับกฎหมายดังกล่าว บทบัญญัติดังกล่าวมาใช้ถ้อยคำว่า “ เมื่อผู้รับจำนำยอมให้ทรัพย์จำนำกลับคืนไป ” คำว่า “ ยอมให้คืน ” มีความหมายว่าเป็นการให้คืนในลักษณะสละสิทธิ์ คือให้ไปเลย แต่กรณีตามปัญหาเป็นเพียงการให้ยืมไปใช้ชั่วคราวไม่ใช่ให้คืน การจำนำจึงไม่ระงับ นายดำจึงชอบที่จะบังคับจำนำโดยยึดรถยนต์คันดังกล่าว ขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้เงินกู้ได้ นี้เป็นตัวอย่างของหลักที่ว่า ความเป็นธรรมต้องมาก่อนแล้วปรับความเป็นธรรมให้เข้ากฎหมาย

ในส่วนนี้มีพระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานประกาศนียบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากสำนักอบรมศึกษากฎหมาย แห่งเนติบัณฑิตยสภา เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2516 ว่า

“ กฎหมายทั้งหมดซึ่งประกาศใช้บังคับแก่ประชาชนนั้น แม้จะมีบทบัญญัติอันเที่ยงธรรมและครอบคลุมไปถึงประชาชนทั่วประเทศอยู่ในตัว โดยหลักการแล้วก็ตาม แต่คดีความที่เกิดขึ้นนั้นก็ยังผิดแผกแปลกกันไปได้มาก ตามเหตุแวดล้อม สภาพการณ์ และพื้นฐานทางเศรษฐกิจ สังคมของแต่ละท้องถิ่น การใช้กฎหมายบังคับคดีต่าง ๆ จำเป็นต้องใช้วิจารณญาณอันถูกต้องของนักกฎหมายควบคู่ไปด้วยทุกกรณีจึงจะ สามารถรักษาความยุติธรรมได้ มิให้สั่นคลอนและขาดตกบกพร่องได้ นักกฎหมายทุกคนจะต้องตั้งใจใช้กฎหมายเพื่อผดุงความเป็นธรรม ความผาสุกสงบ และความมั่นคงของมหาชนและประเทศชาติ ทั้งต้องเพ่งถึงการใช้วิจารณญาณอันถูกถ้วนให้มากที่สุด ควบคู่กับการใช้กฎหมายเสมอตลอดไป มิฉะนั้นอาจไม่บรรลุผลตามที่ทุกคนมุ่งหวัง ”

            ประการที่สอง เราจะต้องมีคุณธรรมและ จริยธรรม กล่าวคือ เมื่อเรารู้กฎหมายและเข้าใจวิธีการใช้กฎหมายที่ดีดังกล่าวแล้ว แต่ในการประกอบวิชาชีพหรือปฏิบัติหน้าที่ของเรา หากเราไม่มี คุณธรรมหรือจริยธรรมแล้ว ก็อาจทำให้เรานำกฎหมายไปใช้ในทางที่ผิด อันจะทำให้เกิดความเสียหายและก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่คู่ความหรือผู้ เกี่ยวข้องได้ ฉะนั้น นอกจากจะต้องรู้กฎหมายและวิธีการใช้อย่างดีแล้ว ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายยังจะต้องประกอบวิชาชีพของตนในกรอบ คุณธรรมและจริยธรรมของวิชาชีพของตนที่ดีด้วย

สำหรับคุณธรรมจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายนั้น แม้จะได้กำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดอีกประการหนึ่งที่ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายขาดไม่ได้ คือ ความซื่อสัตย์สุจริต หากผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายคนใดขาดความซื่อสัตย์สุจริตแล้ว ก็ไม่อาจให้ความเป็นธรรม หรือ ความยุติธรรมแก่คู่ความประชาชน หรือผู้เกี่ยวข้องได้

“ ความซื่อสัตย์สุจริต ” คืออะไร มีความหมายอย่างไร ตามพจนานุกรมคำว่า “ ซื่อสัตย์สุจริต ” คือ “ ความประพฤติตรงไปตรงมาด้วยความจริงใจ ไม่คดโกงไม่หลอกลวง และที่สำคัญ คือ ความประพฤติด้วยความตั้งใจดี

             ความซื่อสัตย์สุจริตจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ถ้าดูตามคำวิเคราะห์ศัพท์ในพจนานุกรม ความซื่อสัตย์สุจริตจะเกิดขึ้นได้โดย ผู้ปฏิบัติจะต้องมีสัจจะทั้งกาย วาจา ใจ ยึดมั่นทำแต่สิ่งที่ชอบ ไม่ประสงค์ในสิ่งที่ไม่ถึงได้อันจะนำไปสู่ความทุจริต ในการกระทำทุกอย่าง ปากพูดอะไรก็ทำอย่างนั้น คือ ปากกับใจต้องตรงกัน ที่กล่าวมานี้เป็นความหมายของความซื่อสัตย์สุจริตในความหมายทั่วไป แต่ในกรณีของผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายนั้น คำว่า “ ซื่อสัตย์สุจริต ” มีความหมายลึกซึ้งกว่านี้มากและจะแตกต่างจากวิชาชีพอื่น เช่น เจ้าพนักงานเขตหรืออำเภอให้บริการที่ดีแก่ประชาชนที่ไปติดต่อขอเปลี่ยนชื่อ นามสกุล หรือในกรณี ผู้ป่วยไปหาแพทย์ แพทย์และพยาบาลให้การดูแลอย่างดี ให้ความสะดวกรวดเร็วในการรักษา ผู้บริการในทั้งสองกรณีพอใจกับบริการที่ได้รับจึงนำของกำลังหรือของขวัญไป ให้เจ้าพนักงานอำเภอ แพทย์ หรือพยาบาลที่ให้บริการ อย่างนี้วิชาชีพอื่นถือว่าไม่เป็นไร รับไว้ได้ไม่ขัดต่อความซื่อสัตย์สุจริต เพราะเป็นเรื่องที่ไม่มีคู่กรณี มีเฉพาะผู้ให้บริการและ ผู้รับบริการ แต่ในวิชาชีพกฎหมายนั้นแม้เราจะชี้ขาดหรือตัดสินไปด้วยความยุติธรรมไม่ได้ เข้าข้างใคร ผู้ชนะหรือผู้ที่ได้รับความเป็นธรรม นำของกำนัล ของขวัญ หรือเงินทองมาให้เมื่อคดีเสร็จแล้วก็ตาม ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายที่เป็นผู้ดำเนินการ หรือเป็นผู้ชี้ขาด รับไว้ไม่ได้ หากรับไว้ถือว่าไม่ซื่อสัตย์สุจริต และขัดต่อประมวลจริยธรรมนักกฎหมาย เพราะในเรื่องคดีความนั้นเป็นเรื่องที่มี คู่กรณี เมื่อฝ่ายที่ชนะเอามาให้ ฝ่ายแพ้ย่อมจะเข้าใจว่าสาเหตุที่อีกฝ่ายหนึ่งชนะเพราะเอาของขวัญ ของกำนัล หรือเงินทองมาให้ รวมทั้งหากรับไว้จะเป็นหนทางหรือบ่อเกิดของการเพาะนิสัยให้อยากได้ทรัพย์สิน ของคนอื่นอันจะนำไปสู่ความไม่ซื่อสัตย์สุจริตต่อไป

ในเรื่องนี้มีพระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานประกาศนียบัตร แก่ผู้สอบไล่ได้ ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2520 ว่า

          “ กฎหมายทั้งปวงจะธำรงความยุติธรรมและถูกต้อง เที่ยงตรง หรือจะธำรงความศักดิ์สิทธิ์และประสิทธิภาพเต็มเปี่ยมอยู่ได้หรือไม่เพียงไร นั้น ขึ้นอยู่กับการใช้ คือถ้าใช้ให้ถูกวัตถุประสงค์หรือเจตนารมณ์ของกฎหมายนั้น ๆ จริงแล้ว ก็จะทรงความศักดิ์สิทธิ์และประสิทธิภาพอันสมบูรณ์ไว้ได้ แต่ถ้าหากนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ โดยการพลิกแพลงบิดพลิ้วให้ผันผวนไปด้วยความหลงผิด ด้วยอคติ หรือด้วยเจตนาอันไม่สุจริตต่าง ๆ กฎหมายก็เสื่อมความศักดิ์สิทธิ์และประสิทธิภาพลงทันที และกลับกลายเป็นพิษเป็นภัยแก่ประชาชนอย่างใหญ่หลวง ผู้ที่ต้องการจะใช้กฎหมายสร้างสรรค์ความผาสุขสงบและความเป็นปึกแผ่นก้าวหน้า ของประชาชนและบ้านเมืองจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรักษาวัตถุประสงค์อันแท้ จริงของกฎหมายแต่ละฉบับไว้ให้แน่วแน่เสมอไป อย่างไม่มีข้อแม้ประการใด ๆ พร้อมทั้งต้องรักษาอุดมคติ จรรยา ความสุจริต และมโนธรรมของนักกฎหมายไว้โดยรอบคอบ เคร่งครัดเสมอด้วยรักษาชีวิตของตนเอง กฎหมายไทยจึงจะทรงคุณค่าอันสมบูรณ์ บริบูรณ์ ”

ปัญหาที่ต้องพิจารณาต่อไปมีว่า เราจะรักษาความซื่อสัตย์สุจริตไว้ได้อย่างไร ในเรื่องนี้มีเรื่องที่เราจะต้องระมัดระวังและปฏิบัติดังต่อไปนี้

1. หลีกเลี่ยงการเป็นหนี้บุญคุณของผู้อื่น อาชีพ ทางกฎหมายไม่เหมือนอาชีพดีความที่เราต้องพิจารณาและให้ความเป็นธรรมกับคน อื่นนั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องที่จะให้โดยฝ่าฝืนความเป็นธรรมได้ และไม่ใช่เป็นเรื่องที่จะซื้อหรือขายกันได้ เช่น เราปวดฟันไปหาทันตแพทย์ซึ่งเป็นเพื่อนหรือคนรู้จักกัน เมื่อทันตแพทย์ทำฟันหรือรักษาฟันให้เราเสร็จแล้ว เขาไม่คิดค่ารักษาและค่าทำฟันจากเรา สิ่งที่ทันตแพทย์ผู้นั้นขาดไปคือจำนวนเงินก้อนหนึ่งที่เขาควรได้ แต่ไม่กระทบกระเทือนต่อความเป็นธรรมหรือกระทบกระเทือนผู้อื่น แต่ถ้าต่อมาเรามาเป็นผู้พิจารณาคดี หรือพิจารณาเรื่องซึ่งพิพาทกันระหว่างนายแดงและนายดำ ซึ่งตามข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายนายแดงควรเป็นฝ่ายชนะ แต่ทันตแพทย์คนดังกล่าวมาหาเราและขอให้เราพิพากษาให้นายดำเป็นฝ่ายชนะคดี โดยอ้างว่านายดำเป็นญาติหรือเป็นเพื่อนของเขา ดังนี้จะทำให้เราลำบากใจ เพราะในการพิจารณาหรือชี้ขาดคดี หรือข้อพิพาท ถ้าให้ตามขอก็จะเสียความเป็นธรรม หากไม่ให้ก็ไม่สบายใจเพราะเป็นหนี้บุญคุณเขา ที่กล่าวมานี้เป็นแต่เพียงตัวอย่างเล็ก ๆ เรื่องหนึ่งเท่านั้น แต่ในทางปฏิบัติที่ผ่านมาบางครั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ไปขอความช่วยเหลือและขอบริการจากบุคคลอื่นโดยมีมูลค่าคิดเป็นเงินมากมาย ซึ่งก่อให้เกิดบุญคุณ เมื่อเวลาเขาขอคดีก็มักจะให้เขา ซึ่งทำให้เสียความเป็นธรรม ทำให้ถูก วิพากวิจารณ์ และทำให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ต้องเสียชื่อเสียงไปมากมายแล้ว เพราะฉะนั้นสิ่งที่สำคัญสิ่งหนึ่งที่จะทำให้เรารักษาความซื่อสัตย์สุจริตไว้ ได้ก็คือ หลีกเลี่ยงการเป็นหนี้บุญคุณผู้อื่น รวมทั้งผู้ใหญ่และผู้บังคับบัญชาในวงการที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพทางกฎหมาย ต้องตระหนักและให้ความสำคัญในข้อนี้ให้มาก โดยอย่าประพฤติหรือปฏิบัติตนในทางที่จะทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาจะต้องไปก่อ หนี้บุญคุณกับผู้อื่น

2. ด้านความเป็นอยู่ ผู้ประกอบวิชาชีพ กฎหมายจะต้องฝึกฝนและปรับตัวเองในด้านความเป็นอยู่ ให้อยู่ภายในวงเงินงบประมาณของค่าตอบแทนที่ได้รับจากรัฐ ซึ่งได้แก่เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง หรือเงินค่าจ้างตอบแทนตามที่ตกลงไว้ โดยเฉพาะในปัจจุบัน หากเรารู้จักใช้จ่ายให้เป็น วางแผนงบประมาณของตนให้อยู่ในกรอบของค่าตอบแทนที่ได้รับ เราสามารถอยู่ได้อย่างสบาย ๆ ขอให้จำไว้ว่า แม้เราเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่หรือเป็นทนายความที่มีชื่อเสียงมากไปรับ ประทานข้าวแกงด้วยเงินของตัวเอง ย่อมมีเกียรติและเป็นที่เคารพไว้วางใจจากประชาชน คู่ความ และผู้เกี่ยวข้อง ตรงกันข้ามหากไปรับประทานอาหารที่ภัตตาคารด้วยเงินทองของผู้อื่นที่เรียกกัน ว่าเจ้าหรือมีสปอนเซอร์ กลับจะไม่มีเกียรติและเป็นที่แคลงใจ รวมทั้งอาจขาดความไว้วางใจจากประชาชน ขอให้จำไว้ว่าข้ออ้างของข้าราชการต่าง ๆ ที่มักจะอ้างว่าจำเป็นต้องไปรับเงินนอกระบบเพราะเงินเดือนและค่าตอบแทนที่ ได้รับจากรัฐไม่พอกินพอใช้นั้น เป็นข้ออ้างที่ไร้สาระของคนเห็นแก่ตัวไม่มีความอาย เพราะเขาเหล่านั้นล้วนเป็นคนใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เล่นการพนัน เที่ยวเตร่เกินตัว หรือเป็นคนมีความโลภ และหากใครก็ตามยกเหตุผลดังกล่าวขึ้นมาเป็นข้ออ้างในการรับเงินทองนอกระบบ แล้ว ก็ไม่มีทางที่จะไปหาความยุติธรรมจากคนเหล่านั้นได้ เพราะเขาไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเหลือที่จะให้ความยุติธรรมได้

3. ความตั้งใจดี ความ ตั้งใจดี นี้ เป็นรากฐานและจุดเริ่มต้นของผู้มีวิชาชีพในทางกฎหมาย ที่จะรักษาคุณธรรมและจริยธรรมในวิชาชีพกฎหมายไว้ได้ ความตั้งใจดีนี้นอกจากจะทำให้ผู้ปฏิบัติรักษาคุณธรรมและจริยธรรมในวิชาชีพ กฎหมายไว้ได้แล้ว ยังมีส่วนช่วยส่งเสริมและผลักดันให้ผู้ปฏิบัติไปสู่ความสำเร็จและเจริญ รุ่งเรืองในวิชาชีพกฎหมายของตนเองได้ดีตามสมควร

ความประพฤติที่มีความตั้งใจดีนี้ เป็นส่วนหนึ่งของคำนิยามความซื่อสัตย์สุจริตดังได้กล่าวมาข้างต้น “ ความตั้งใจดี ” คืออะไร หากจะเขียนตอบหรืออธิบายออกมาเป็นคำพูด อาจทำให้เข้าใจยาก แต่ถ้ายกเป็นตัวอย่างจากเรื่องที่เกิดขึ้นจริงจะทำให้เราเข้าใจได้ง่าย

พวกท่านทั้งหลายที่มานั่งอยู่ในวันนี้ ก่อนสอบวิชาต่าง ๆ ที่สอบได้มา ผมเชื่อว่าหลายท่านอาจไปกราบไหว้บนบานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนนับถือ เพื่อขอให้สอบได้ เชื่อว่าหลายท่านอาจได้กราบไหว้บนบานกต่อกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระบิดาแห่งกฎหมาย บางท่านอาจไปกราบไหว้บนบานต่อเจ้าพ่อ เจ้าแม่ที่ตนเคารพนับถือ บางท่านอาจบนว่าถ้าสอบได้จะนำ ดอกไม้ หัวหมู เป็ด ไก่ อาหารคาวหวานต่าง ๆ ไปถวายเมื่อสอบได้แล้วก็ไปแก้บนตามที่ตนได้บนไว้ ขอถามท่านที่เคยบนดังกล่าวมาว่า เมื่อท่านสอบได้แล้ว ท่านนำสิ่งต่าง ๆ ตามที่ได้บนไว้โดยเฉพาะ ที่เป็นอาหารไปถวายโดยนำไปวางไว้นั้น สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ท่านนับถือและไปบนไว้นั้น ต้องการสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวจากท่านหรือไม่ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์รับประทานอาหารที่ท่านไปกราบได้หรือไม่ คำตอบคือไม่ เพราะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ดังกล่าวท่านเป็นเทพ หากท่านต้องการสิ่งของดังกล่าวท่านสามารถหาเองได้ ถ้าเช่นนั้นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต้องการอะไร หากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ดังกล่าวสามารถพูดกับเราได้ เมื่อเวลาเราไปขอพรจากท่านเอให้สอบได้ ท่านจะกล่าวกับเราว่าอย่างไร ท่านจะกล่าวว่า ขอให้ตั้งใจดูหนังสือและเมื่อสอบได้แล้วขอให้เป็นคนดี นำวิชาความรู้ไปใช้ในทางที่ถูก ให้ความเป็นธรรมกับประชาชนและขอให้เป็นคนที่มีความซื่อสัตย์สุจริต นี่คือสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ต้องการจากเรา แล้วทำไมเราถึงไม่ไปบนในสิ่งที่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ต้องการจากเรา แต่กลับไปบนว่าจะให้วัตถุต่าง ๆ กับท่านเป็นการตอบแทนในลักษณะเหมือนเป็นการแลกเปลี่ยนซึ่งท่านไม่ต้องการ นี่แหละคือ “ ความตั้งใจดี ” ความตั้งใจดีนอกจากจะทำให้ท่านมีสมองปลอดโปร่ง จิตใจแจ่มใส ทำให้ท่านสอบได้แล้ว หากเรายึดมั่นในเรื่องความตั้งใจดีและปฏิบัติตามโดยเคร่งครัดแล้ว จะทำให้ท่านมีความสุข มีความสบายใจ สามารถพิจารณาและวินิจฉัยเรื่องราวต่าง ๆ ไปได้ด้วยความถูกต้อง ทั้งยังเป็นสิ่งที่ส่งเสริมในเรื่องหน้าที่การงานของท่าน และปกป้องท่านในบางครั้งที่พลาดพลั้ง จึงกล่าวได้ว่า “ ความตั้งใจดี ” เป็นรากฐานที่จะทำให้ท่านรักษาความซื่อสัตย์สุจริตไว้ได้

ท้ายที่สุดนี้ ขอให้ท่านทั้งหลายที่มารับการอบรมในวันนี้ ประสบความสำเร็จในชีวิตของ การเป็นนักกฎหมาย สามารถนำความรู้และความดีของตนไปอำนวยความเป็นธรรมให้แก่ประชาชน คู่ความ และผู้เกี่ยวข้องต่อไป




ที่มา http://www.thailandroad.com/chaninat/virtue.htm